ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง
โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน
ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก
ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้
ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน
อาจารย์น้อย ดร.สุขมิตร กอมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครูในโครงการครูกล้าสอนรุ่นที่ 1 ได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้จากหลักสูตรในโครงการครูกล้าสอนและกระบวนการลดความขัดแย้งมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กรและสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงได้นำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน
ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง
ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป
แนะนำโครงการครูกล้าสอน
บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน” ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เวชศาสตร์ฉุกเฉินกับผู้ป่วยระยะท้าย: การตัดสินใจของแพทย์ท่ามกลางวิกฤตเวลาและความคาดหวัง
“ห้องฉุกเฉิน” สถานที่แห่งความเป็นและความตาย ญาติๆ มักพาผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเข้ามาพบแพทย์ที่นี่ แท้จริงแล้วสถานที่แห่งนี้มีแต่ความวุ่นวาย และเร่งรีบทุกเสี้ยวนาทีคือความเป็นและความตายของคนไข้ แพทย์ต้องตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยด้วยความยุติธรรม และเท่าเทียมกัน ไม่สามารถดูแลใครได้พิเศษกว่าใคร ทุกชีวิตสำคัญ การยื้อชีวิตของคนไข้ในภาวะเช่นนี้ แม้อยู่ก็อาจจะทุกข์ทรมานด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แล้ว “ความสุขสุดท้ายของคนไข้คืออะไร” คือการได้กลับบ้าน ใช่หรือไม่ เราควรมีการสื่อสารในเรื่องนี้กันหรือไม่ ว่าชีวิตสุดท้ายเราอย่างอยู่ที่จุดไหน
Dostadning กระบวนการทิ้งสัมภาระและจัดบ้านให้เรียบร้อยก่อนความตายมาถึงตามแบบฉบับชาวสวีดิช
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีดิช ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning(2018) เพื่อตอบคำถามดังกล่าวสำหรับคนที่รู้ตัวว่ากำลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และทำให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่
พีระพัฒน์ เหรียญประยูร - การจัดกระเป๋าเดินทางครั้งสุดท้าย ที่ลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้
คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ
นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ - กระบวนการตายตามธรรมชาตินั้นสั้นและเจ็บปวดน้อยกว่า
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
ก่อการครู PLC ก่อการครู ร.ร.ชุมชนบ้านผานกเค้า
กระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิต หรือ PLC เป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเด็กให้มีความสุขในการเรียนที่มากขึ้น แล้วสุดท้ายก็จะส่งผลมาที่ครูผู้สอนให้มีความสุขด้วยเช่นกัน โรงเรียนชุมชนบ้านผานกเค้า จ.เลย เน้นการเรียนการสอนแบบ PLC ที่มีการเปิดใจ เปิดหู เปิดตาในการเรียนการสอน โดยใช้หลักการฟังทุกเรื่อง ฟังให้จบ มองให้ทั่ว ไม่ด่วนตัดสิน แล้วเมื่อนั้นทั้งศักยภาพของเด็กและครูก็จะเกื้อหนุนกันอย่างมีความสุข
ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา
ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ