ชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา
น่าดีใจที่ชุมชนห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดตรัง มีกระแสของการดูแลใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โดยที่ทั้งชุมชนและทีมสุขภาพต่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมซึ่งกันและกัน นำโดย พระกฎษดา ขนฺติกโร ประธานชมรมชายผ้าเหลือง และผู้นำสังฆะแห่งการเยียวยา ชมการทำงานและแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ในวีดีโอชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
Care Club1 ชุมชนกรุณา
ผู้ดูแล คือผู้ที่มีส่วนอย่างมาก ในการกำหนดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ผู้ดูแลจำนวนมาก รับภาระในการดูแลอย่างหนัก หลายครอบครัวมีผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว และดูแลอย่างยาวนาน ต้องเผชิญความคาดหวังและความเครียดนานา แคร์คลับ คือกลุ่มเพื่อนชวนสนทนา และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อดูแลผู้ดูแล โดยหวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูแลได้รับความเข้าใจ และได้รับการดูแลจิตใจ เพื่อที่จะกลับไปดูแลทั้งผู้ป่วยและตนเอง ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี จัดทำโดย กลุ่ม Peaceful Death โครงการชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
ชุมชนกรุณา Manifesto
เพราะการเผชิญความสูญเสียเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของชีวิต หน้าที่การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี จึงไม่อาจจำกัดเพียงครอบครัว บุคลากรสาธารณสุข เท่านั้น หากเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ตามความศักยภาพ ความสามารถ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่ ขอเพียงมีความกรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่กำลังเผชิญความสูญเสีย แม้การช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ชุมชนกรุณา คือแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้สามารถดูแลผู้เผชิญความสูญเสีย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล โดยเน้นการป้องกันความทุกข์ การบรรเทาความรุนแรง และการเยียวยาฟื้นฟู ...อ่านต่อ
I SEE U: ชุมชนกรุณา
I SEE U คือกลุ่มอาสา เยียวยาจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำทีมโดยคุณอรุณชัย อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ นอกจากกลุ่ม I SEE U จะอบรมอาสาสมัคร ให้มีทักษะเยี่ยมผู้ป่วยในกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ยังจัดกิจกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และให้กำลังใจบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ติดตามการดำเนินงานของกลุ่ม I SEE U ได้ที่เพจ I SEE U Contemplative Care และอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/กว่าจะมาเป็น... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
Infographic แนวปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเด็ก กรณีภัยออนไลน์
ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่ควรพึงระวัง ในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเรื่องภัยออนไลน์ โดยต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมเป็นหลัก ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งข้อควรระวังต่างๆ ที่จะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในทางลบแก่เยาวชนหรือสร้างกระแสวิจารณ์จากสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนและครอบครัวในภายหลัง
เฮือนกล๋อง ป๋อเฒ่าวิ ตำนานศาสตร์และศิลป์แห่งม่อนปิ่น : สื่อศิลป์SE
ป๋อเฒ่าวิ หนึ่งในบุคคลสำคัญด้านศาสตร์และศิลป์ของชาวไทยใหญ่ใน ต.ม่อนปิ่น ผู้ที่ทำหน้าประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ตามเทศกาล เช่นกลองไทใหญ่ ฆ้องฉาบ นกกิ่งกะหล่า และยังเป็นช่างฟ้อน ตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่จะรำเลียนแบบสัตว์ที่แสดงความถึงการคารวะต่อพระพุทธะเจ้าที่มาโปรดสัตว์ในโลกมนุษย์ ผู้มากประสบการณ์ ด้วยศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจแบบนี้ ทำให้เฮือนกล่อง ป๋อเฒ่าวิ จัดว่าเป็น สื่อศิลป์SE ม่อนปิ่น ที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่ง เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบในศิลปะและวัฒนธรรม
ขบวนการกินกู้โลก
ปัจจุบันนี้การกินของเรานั้นไม่ยั่งยืนสักเท่าไหร่ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เราอาจนึกไม่ถึงว่าก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยมาจากระบบอุตสาหกรรมอาหารมีสัดส่วนมากกว่าก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เรามองว่าเป็นตัวร้าย หรือการกินของยังทำให้ระบบนิเวศถูกทำลาย เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า สัตว์สูญพันธ์ุ และปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกมากมาย การกอบกู้โลกจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้จะเป็นไปไม่ได้เลย หากเราไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการกิน
รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน
ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย
ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 1. ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน
ห้องการเรียนรู้ที่ 1. "ห้องเรียนผ่านการเรียนรู้ระดับตัวตน" วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา สมไพบูลย์ หัวหน้าภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมวิทยากร กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง ...อ่านต่อ
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก ...อ่านต่อ