ลงทะเบียนเรียนฟรี การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน
ลงทะเบียนเรียนฟรี “การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น ที่จะพาไปเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวสื่อในฐานะสถาบันทางสังคมที่ขัดเกลาความคิดผู้คน ฝึกฝนวิเคราะห์ถอดรื้อการประกอบสร้างสื่อ เพิ่มศักยภาพความคิดเชิงวิพากษ์ และขยายหัวใจของความเป็นพลเมืองอยู่ร่วมนับรวมผู้คนสังคมเดียวกัน จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก หมวดเนื้อหา การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21 มิถุนายน 2565 หัวข้อ เปิดสายตาอ่านสื่ออย่างรู้เท่าทัน MIDL 101 19 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลิกมุมคิด สะกิดมุมมอง วิพากษ์สื่อด้วยสายตาพลเมือง 21 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ วิพากษ์สื่ออย่างรู้เท่าทันสร้างสรรค์สังคมของทุกคน ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น. ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย Thai Civic Education Foundation รับจำนวนจำกัด !!! สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook: CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่ https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/
The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.3
นิทานภาพเรื่องเม่นหลบฝน โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ได้รับรางวัลและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เม่นหลบฝนเป็นนิทานภาพที่ไร้ตัวหนังสือแต่สามารถพูดคุยและเล่าเรื่องให้เด็กๆ เข้าใจได้ ด้วยการใช้ภาพและสัญลักษณ์ในหนังสือสื่อสารกับเด็กและด้วยภาพในนิทานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กฝึกเปล่งคำพูดออกมาและยังเปิดกว้างให้เด็กๆ ได้หัดจินตนาการตามภาพ หนังสือนิทานภาพประเภทไร้ตัวหนังสือนี้จะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการฝึกให้เด็กมีพัฒนาด้านทักษะทางภาษาและการพูด รวมถึงฝึกการใช้ความคิดและเปิดกว้างทางจินตนาการของเด็กได้อย่างสร้างสรรค์
สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่
5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง
Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย
บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ” ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย
ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
ทักษะการเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา
การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาวะทางปัญญา ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะเรื่องการตระหนักรู้เพื่อสะท้อนตนเอง ด้วยการเรียนรู้และเข้าใจโลกภายในตนเอง มีความสมดุลทางปัญญา นอกจากนี้ต้องมีทักษะการดูแลความสัมพันธ์ในชีวิตและงานอย่างสมดุล รวมทั้งมีทักษะการคิดด้วยการมองภาพรวมและเชื่อมโยงมิติทางสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะมาช่วยสร้างเสริมการออกแบบกิจกรรมได้ตรงตามเป้าหมายการพัฒนาทางปัญญา
ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์
การทำอุปกรณ์ฝึกทักษะเพื่อเด็กพิการทางสมอง
เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กพิการทางสมอง หรือ C.P. ไปดูวิธีทำอุปกรณ์ฝึกทักษะเพื่อเด็กพิการทางสมองแบบง่าย ๆ ด้วยฝีมือของผู้ออกแบบ 'ธนวัติ มณีนาวา' สนับสนุนโดย 'มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ' ไม่ว่าจะเป็นการทำอุปกรณ์เกี่ยวกับการการดูแลสุขลักษณะ เครื่องมือในการใช้ชีวิตประจำวัน จะช่วยสร้างเสริมและกระตุ้นการช่วยเหลือตนเองให้กับเด็กเหล่านี้ได้
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)
พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป