สื่อศิลป์ SE - ประทีป อ่อนสลุง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม
บริษัท ไทยเบิ้ง โคกสลุง จำกัด ต.โคกสลุง จ.ลพบุรี เป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของคนในชุมชน พี่มืด - ประทีป อ่อนสลุง ผู้ประสานงานหลักไทยเบิ้งโคกสลุง เล่าว่าการทำงานพัฒนาชุมชนเป็นการทำงานที่ไม่มีวันเสร็จ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ เพื่อมาสืบสานงานต่อเสมอและเน้นการทำงานที่สร้างสมดุลระหว่าง “มูลค่า” และ “คุณค่า” เพราะถ้าคุยกันแต่เรื่องกำไรผลประโยชน์ ความยั่งยืนของชุมชนก็ไม่มีวันเกิด เราจำเป็นต้องสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ เป็นเด็กและเยาวชนให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เราต้องเอาแนวคิดร่วมสมัยของคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์ภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นให้มีคุณค่า ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เราต้องถอดบทเรียนสร้างเป็นหลักสูตร เพื่ออบรมและสร้างกระบวนการทำงานใหม่ ๆ ที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_YlnYKqe/
สื่อศิลป์ SE - ชมพิศ ปิ่นเมือง โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม อำเภอสหัสขันธ์
บริษัท สหัสขันธ์ จูราสสิก แอนด ทราเวล จำกัด หนี่งในวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่นำความโดดเด่นของพื้นที่ อ.สหัสขันธ์ มาพัฒนาให้เป็นต้นแบบชุมชนท่องเที่ยวสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ คุณชมพิศ ปิ่นเมือง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหัสขันธ์ สะท้อนแนวคิดการพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยนำการท่องเที่ยวเป็นแกนกลางในการขยายเครือข่ายการทำงาน ทำให้เกิดการต่อยอดไม่สิ้นสุดโดยนำความเชื่อและศรัทธาของชุมชนที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาร้อยเรียงเข้ากับคุณค่าของโบราณสถานอย่างวัดวาอาราม หรือ การค้นพบ ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่ใหญ่เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอันโดดเด่นต่อการต้อนรับผู้คนที่เดินทางมาที่ อ.สหัสขันธ์ และได้มีการส่งต่อคุณค่าของชุมชนด้วยการอบรมมัคคุเทศก์ที่หลากหลายวัย ให้เกิดการเรียนรู้ และซึมซับคุณค่าของชุมชนอย่างต่อเนื่อง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_JoG6-1L/
สื่อศิลป์ SE - สกาวกวิน กาญจนเสมา กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/
สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
We Oneness คือ
We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม
อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวานมันเค็มเพิ่มผักผลไม้) ปี 2
คลิปวีดีโอประมวลภาพโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”ประเทศไทยจัดเป็นเมืองอันดับต้นๆ ที่มีภาวะเด็กในวัยเรียนอ้วนในสัดส่วนที่สูงมาก ผลการวิจัยในปี 2558 ยังพบว่าเด็กในวัยเรียน 5 คน จะมีเด็กอ้วนอยู่ 1 คน และพบว่าอัตราของเด็กอ้วนจะอยู่ในเขตเมืองมากกว่าร้อยละ 20 -25 โดยสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กอ้วน คือ การกินอาหารรสชาติหวานมันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีการกินผักและผลไม้ ดังนั้น สสส. จึงริเริ่มทำโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน หันมาให้ความสำคัญในการปลูกฝัง ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กไม่อ้วน โดยหันมาดูแลสุขภาพที่ดีต่อไป
โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559
คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร
เปิดโลกอ่านสร้างสุข จากโรงเรียนสู่ชุมชน สถานศึกษาต้นแบบ ชุมชนอ่านสร้างสุข
การอ่านเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสมอง ทำให้มีความคิดกว้างขวางขึ้นและมีทักษะการคิดเป็นขั้นตอน การปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมรักการอ่าน ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว และขยายผลมาสู่โรงเรียน จากนั้นขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาต้นแบบ และในที่สุดก็สร้างเป็นชุมชนอ่านสร้างสุข ซึ่งนั่นคือ ที่มาของ “โครงการอ่านสร้างสุข” ที่เด็ก ๆ สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แทนการติดเกม เป็นการเปิดจินตนาการการเรียนรู้ที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างไม่จบสิ้นจากโลกการอ่าน
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ศึกจอมมาร
สื่อการ์ตูนไทยเพื่อสุขภาวะ จำลองเรื่องราวพาผู้อ่านย้อนไปในอดีตกาล เทพเทวดาและเหล่ามนุษย์ได้ร่วมแรงร่วมใจกันต่อสู้กับทัพมาร เพื่อรักษาโลกมนุษย์ไว้ให้อุดมสมบูรณ์ เมื่อเวลาผ่านไป เทพบนสวรรค์ได้เดินทางมาเยี่ยมโลกมนุษย์กลับพบว่า โลกมนุษย์ใบนี้ได้เปลี่ยนไป ดิน น้ำ ป่าไม้ ที่เคยอุดมสมบูรณ์ บัดนี้เน่าเสีย ธรรมชาติถูกทำลายไปมากมาย เพราะมนุษย์ไปหลงเชื่อเทพองค์ใหม่ นั่นคือ โฆษณาทางจอทีวี ที่เร่งเร้าให้มีการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี ฯลฯ โดยที่มนุษย์ไม่รู้ตัวเลยว่าพวกตนคือคนที่ทำลายโลกใบนี้ด้วยน้ำมือของตนเอง
อ่านสร้างสุข 23 ปักธง
"ปักธง" เป็นการรายงานผลลัพธ์ของโครงการติดตามและประเมินผลภายในแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านประจำปี 2558 โดยประเมิน 2 ด้าน คือ ประเมินผลเพื่อการพัฒนา เน้นการแสวงหาความรู้จากการประเมิน เพื่อนำไปขับเคลื่อนงานพัฒนาการอ่านให้ก้าวหน้าต่อเนื่อง และการประเมินผลเพื่อเสริมสร้างพลัง ใช้รูปแบบการถอดบทเรียนจากการทำงานของภาคีเครือข่ายส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านต้นแบบ 11 พื้นที่ เพื่อขยายผลสื่อสารกับสังคมเพื่อสร้างพลังการอ่านในอนาคต