วิชาชีวิต บทที่ 10 Pain Management - รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และพระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน
การจัดการความเจ็บปวดของผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือการรักษาความเจ็บปวดทางกาย ซึ่งทางการแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ โดยมีตั้งแต่เจ็บปวดปานกลางจะใช้ยาพาราเซตามอลจนถึงปวดรุนแรงจะใช้มอร์ฟีน และการรักษาความเจ็บปวดทางใจ ที่ต้องใช้การสื่อสาร สร้างความเข้าใจถึงความเจ็บปวดและการรักษาที่ถูกต้อง แต่ส่วนใหญ่ที่คนไข้เจ็บปวดตลอดเวลา ด้วยเพราะมีความวิตกกังวล กลัวการจากลา การสูญเสียคนเป็นที่รัก จึงเหมือนธนูยิงเข้าทั้งกายและใจให้เจ็บปวดตลอดเวลา ดังนั้นการรักษาความปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องรักษาควบคู่ทั้งการปวดทางใจและทางกาย เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์
การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว เรื่องของกำลังใจ หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ
วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู
“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย
วิชาชีวิต บทที่ 1 ตาย ศาสตร์ - รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
การเตรียมตัวตายอย่างมีคุณภาพชีวิต เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตั้งคำถามกับตนเอง ไม่ว่าจะเพื่อบุพการี ตัวเอง หรือแม้แต่เพื่อคนที่เรารัก ด้วยสังคมในทุกวันนี้ที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า คนเรามีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้น แสดงว่าคนไทยมีอายุยืนขึ้น และอีกไม่ช้าสังคมไทยเราก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเมื่อก่อนมาจากโรคติดเชื้อ แต่ในวันนี้ คนไทยตายจากความเสื่อมของอวัยวะและร่างกาย “การยื้อความตาย” เป็นคำถามที่ต้องฉุกคิดทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่จะจากไป ว่าเราจะมีวิธีการอยู่ หรือ จากไปอย่างมีความสุข ไม่กังวล และสุขภาวะที่ดีได้อย่างไร ...อยู่ให้เป็นสุข ตายให้สบาย...
หลักสูตร วิชาชีวิต
หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข
ไหว้ตายแล่วววว โดย คณะนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คนสมัยนี้คิดยังไงกับการไหว้ ต่อวันเราได้ไหว้คนอื่นบ้างไหม แล้วทำไมเราถึงต้องไหว้
น้ำกำลังจะตาย โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ น้ำกำลังตาย ” เพราะคนมองไม่เห็นคุณค่า และใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะไม่คิดว่าน้ำจะหมด , เหมือนมองน้ำเป็นของตาย ซึ่งของตายนั้นสามารถตายได้จริงด้วยน้ำมือของเรา , ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ เดือนนี้คุณฆ่าน้ำไปเท่าไหร่ ” ( ค่าน้ำ = สิ่งที่ใช้ไป = ฆ่าน้ำอย่างอ้อมๆ )
มะเร็งปากมดลูก เห็นเงียบๆตายเพียบแล้วนะ
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งอันดับต้นๆ ที่เกิดกับผู้หญิงไทย สาเหตุที่มาของโรคเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์เพียงแค่ครั้งเดียวก็สามารถทำให้ติดเชื้อไวรัสนี้ได้ การป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้โดยการตรวจแป๊บสเมียร์หาเชื้อ HPV หากไม่ติดเชื้อให้รีบฉีดวัคซีนป้องกัน วัคซีนสามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9-26 ปี “มะเร็งปากมดลูก ไม่ต้องรอให้เป็น กันไว้ก่อนด้วยการตรวจและฉีดวัคซีน”
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.1 (ตอน สามมื้อต่อวัน และ แจ้งไม่ตาย)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ รายการที่หยิบเอาเรื่องเล่าท้องถิ่นสนุก ๆ มาสร้างสรรค์เป็นสื่อและกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับการเรียนรู้ สำหรับEp.1 สนุกกับนิทานทุ่งซ่า 2 เรื่อง เรื่องแรก ตอน สามมื้อต่อวัน เป็นเรื่องเล่าพื้นบ้านท้องถิ่นจากคุณยาย จ.มหาสารคราม ที่เล่าถึงตำนานทำไม ควายจึงทำงานหนัก เพราะในตำนานเทพควายได้รับมอบหมายจากพญาแถนให้มาบอกข่าวบนโลกมนุษย์ว่าจะไม่อดอยาก หาก 3 วันกินข้าว 1 มื้อ แต่เทพควายขึ้ลืม ขาดสติ จึงส่งสารผิดเป็น 1 วันให้กิน 3 มื้อ จึงถูกพญาแถนทำโทษให้ลงมาเป็นควายไถนาให้มนุษย์มีข้าวกิน และนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่ 2 ตอน แจ้งไม่ตาย เป็นเรื่องเล่าจากคุณตา จ.พัทลุง เล่าถึงนายแจ้ง ที่นอนหลับไปหลายวัน จนชาวบ้านตกใจว่าตายแล้ว แต่ดันตื่นขึ้นมาเมื่อนอนอิ่ม ชาวบ้านตั้งฉายาว่าแจ้งไม่ตาย ต่อมามีงูเหลือมที่มีพิษร้ายแรง ใครแค่เดินผ่านรอยเลื้อยของงูเหลือมก็จะตายหมด แต่พอนายแจ้งมาเหยียบงูเหลือมแล้วตายจริงๆ เมื่อชาวบ้านเล่าต่อกันโดยใช้ชื่อว่านายแจ้งไม่ตาย...ตายแล้ว ทว่างูเหลือมฟังไม่จบ ก็ตีตนไปก่อน เลยเสียความมั่นใจแล้วคายพิษออกมาหมด หลังจากนั้นงูเหลือมจึงไม่มีพิษอีกต่อไป
ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด
รายการ อุ้ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์ จะเลือกอะไรอ่ะ
รายการอุ๊ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์...จะเลือกอะไรอ่ะ? น้อง ๆ พิธีกรสาวหน้าใส จะพาไปพูดคุยกับคนดี 10 ที่ค่ายสิรินธร จ.ปทุมธานี พร้อมกับโจทย์สำคัญ ถ้าให้เลือกได้จะเลือกดื่มอะไรระหว่าง 'น้ำเปล่า' และ 'น้ำอัดลม' พร้อมทั้งสรุปข้อดีข้อเสียของน้ำเปล่าและน้ำอัดลมไว้อย่างน่าสนใจ ไปติดตามน้อง ๆ กัน