The Last Life Lesson เมื่อสมองกำลังล้มเหลว
ทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชยการทำงานของสมองเมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย อธิบายภาวะภาพหลอนที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุใด ? และบ่งบอกอะไรในทางการแพทย์ ? การดูแลผู้ป่วยในภาวะสมองกำลังล้มเหลวต้องทำอย่างไร ? เพื่อจัดการกับภาพหลอนนั้น
The Last Life Lesson เมื่อคุณได้ค้นพบกับความจริง คุณจะรู้ว่า ความตายไม่ใช่ศัตรู
สารจากองค์ปาฐก โดย คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ผู้ก่อตั้งชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม -- ให้แนวคิดเกี่ยวกับการตายว่า เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เคียงคู่ไปกับชีวิต ความน่ากลัวของความตายขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา และเมื่อคุณได้ค้นพบกับความจริง คุณจะรู้ว่า “ความตายไม่ใช่ศัตรู”
วิชาชีวิต Live 7 เตรียมนับวัน โดยอาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ vs หนุ่มเมืองจันท์
คนเราคอยนับวันที่จะโต นับวันที่จะเรียนจบ นับวันที่จะแต่งงาน นับวันและเวลารอเหตุการณ์สำคัญของชีวิต แต่สำหรับเหตุการณ์สำคัญที่สุด คือช่วงเวลาสุดท้ายที่จะลาจากโลกใบนี้ เราได้เตรียมตัวรับสิ่งที่กำลังจะเกิดอย่างไรบ้าง ทั้งร่างกาย และทั้งจิตใจ ให้เป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่มีคุณภาพ และมีความหมาย "ถ้าเราเจอความทุกข์ เจอความตายกับคนที่เรารัก สิ่งแรกที่ควรทำคือ 'กอด' ให้กำลังใจกับคนๆนั้น ผมเชื่อว่าถ้าอาการกายรักษาไม่ได้ แต่ถ้าใจมาเมื่อไหร่ มันมีสิทธิจะช่วยเรื่องกายได้" หนุ่มเมืองจันท์
วิชาชีวิต Live 6 เตรียมลาจาก โดยอรทัย ชะฟู vs พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น
เผชิญหน้ากับการลาจากอย่างเข้าใจ ดูแลทั้งความรู้สึกผู้จากไปและผู้ดูแล ให้เราทุกคนพร้อมรับมือกับช่วงเวลายากลำบากอย่างไม่ยากเย็นจนเกินไป “คนป่วยที่มีความสุข คือคนที่มีครอบครัวแข็งแรง ทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แบ่งหน้าที่กันทำ มีจุดศูนย์รวมเดียวกันคือผู้ป่วย” พ่อตุลย์ เพจ แม่นุ่น
วิชาชีวิต Live 4 เตรียมประคับประคอง โดย รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช vs ดีเจพี่อ้อย
เมื่อการรักษาไม่ก่อประโยชน์ จะประคับประคองต่อได้อย่างไร การตระหนักถึงสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต แม้ในเวลาที่ความตายใกล้เข้ามา ร่วมกันทำความเข้าใจถึงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เพื่อให้ลมหายใจสุดท้ายเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งกับครอบครัวและผู้จากไป เพราะการยื้อชีวิตอาจไม่ใช่คำตอบที่ใจต้องการ “จะมีสักกี่คนที่ได้อยู่กับคนที่เรารักในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ส่วนใหญ่จะอยู่กับหมอและพยาบาล ดังนั้น ถ้าเราอยากมีลมหายใจสุดท้ายที่มีความสุขกับคนที่เรารัก การเลือก (การรักษา) จึงเป็นสิ่งสำคัญ” ดีเจพี่อ้อย
วิชาชีวิต Live 3 เตรียมตาย โดย รศ.พญ.ปัทมา โกมุทบุตร vs อุ๋ย บุดด้าเบลส
เรื่องความตาย เป็นวิชาชีวิตที่ทุกคนต้องเข้าห้องสอบ และเจอกับข้อสอบจริง ไม่มีใครหลีกหนีไปได้ การพูดคุยเรื่องการเตรียมตัวตาย เป็นการติววิชาชีวิตเพื่อให้ทุกคนได้เตรียมใจและเตรียมตัวเดินทางไปสู่เส้นทางที่สุขสงบ เคยมีคำกล่าวว่า “การแพทย์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์แห่งความแม่นยำ แต่เป็นวิทยาศาสตร์ความไม่แน่นอน และเป็นศิลปะความน่าจะเป็น” สะท้อนให้เห็นว่าโรคภัยและความตายเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่มันตั้งอยู่ในความแน่นอนที่มนุษย์ทุกคนหนีไม่พ้น ทว่าเราเลือกที่จะจากไปจากมีความสุขได้อย่างไร
วิชาชีวิต Live 2 เตรียมพูด โดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ vs ดังตฤณ
ศิลปะการสื่อสารนั้นสำคัญอย่างไร? ช่วยอะไรได้บ้าง? ทำไมเราต้องทำความเข้าใจกับสิ่งนี้? เตรียมไขคำตอบของศาสตร์การเจรจา เมื่อคุณเผชิญหน้ากับแพทย์ที่โรงพยาบาลและต้องการที่จะรู้รายละเอียดการเจ็บป่วยขั้นร้ายแรง "ทั้งทีมแพทย์ ผู้ดูแล และผู้ป่วยระยะท้าย เป็นเยื่อใยทางสว่างที่พึงมีให้แก่กัน เป็นความผูกพันในทางดี ในการเดินทางครั้งสุดท้าย" ดังตฤณ
วิชาชีวิต Live 1 เตรียมใจ โดย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ vs Jones Salad
ทำไมเราต้องเรียนรู้ความตาย? การเตรียมตัวตายดีนั้นคืออะไร? คนใกล้เสียชีวิตต้องการอะไร? ความตายในแต่ละศาสนาเหมือนหรือต่างกัน? ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลจะรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องที่หาได้จากในคลิปนี้ "...ความหวังคือสิ่งที่ช่วยชูใจให้คนไข้มีพลังไปต่อได้ แต่เราต้องให้ความหวังที่ถูกต้อง ความหวังที่เป็นไปได้ ซึ่งในโรคโรคนึงที่มีหลายระยะ ความหวังของแต่ละระยะโรคก็จะแตกต่างกัน เป้าหมายจะถูกปรับเปลี่ยนไป แต่ถ้าความหวังไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงกับระยะของโรค อันนี้จะทำให้เกิดความผิดหวังและทุกข์ทรมาน..." รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
วิชาชีวิต บทที่ 14 การ Shutdown ของร่างกาย - รศ.พญ.ปัทมา โกมุทบุตร
เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายจนกระทั่งใกล้เสียชีวิต ร่างกายจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของโรค การทำความเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงขณะนั้น จะช่วยให้สามารถปฏิบัติตัวและตัดสินใจในสถานการณ์นั้น โดยยึดตามเจตนาของผู้ป่วยได้อย่างไม่ให้ตระหนก สภาพร่างกายเปรียบเหมือนไฟในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อเข้ามาสู่ระยะท้ายร่างกายจะค่อย ๆ หยุดทำงาน เหมือนกับดวงไฟจะค่อย ๆ หรี่ลงทีละดวง จนกระทั่งดับสนิท ช่วงอาการที่หรี่ลงเหมือนดวงไฟนี้ เรียกให้เข้าใจง่ายว่า 1. ช่วงไม่กล่าว 2. ไม่กิน 3. ไม่กลืน
วิชาชีวิต บทที่ 13 การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน - ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
เมื่อผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่บ้าน สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังติดเตียงจนถึงผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งที่ต้องเตรียมมีทั้งมิติทางของทางร่างกายและจิตใจ ทั้งของผู้ป่วยและผู้ดูแลผสมผสานกันในแบบเฉพาะของครอบครัวนั้นๆ เช่น การจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นที่บ้าน การติดต่อประสานเรื่องอาการกับบุคลากรการแพทย์ ผู้ป่วยไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาการหนักที่บ้านทำอย่างไร ถ้าผู้ป่วยเสียชีวิตที่บ้านทำอย่างไร
วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์
ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา
วิชาชีวิต บทที่ 11 การรักษาใจผู้ป่วยและผู้ดูแล - พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน และ อรทัย ชะฟู
เมื่อเจ็บป่วย นอกจากสภาพร่างกายจะต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงแล้วสภาพจิตใจย่อมส่งผลกระทบตามไปด้วย การดูแลจิตใจของผู้ป่วยจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าร่างกาย หน้าที่ดูแลทั้งกายและใจนี้นอกจากบุคคลากรทางการแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยและรักษาแล้ว บทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือผู้ดูแลที่เป็นผู้บริบาล คอยสังเกตและดูแลทั้งกายและใจของผู้ป่วย แม้จะดูแลด้วยความรัก ด้วยจิตใจที่เป็นมิตรต่อกัน แต่การดูแลต่อเนื่องยาวนานอย่างใกล้ชิดย่อมมีทั้งสุขและทุกข์ ความเหนื่อยล้าและขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นได้ การทำความเข้าใจในสภาวะโรค สภาพจิตใจ ของผู้ป่วย และการดูแลตนเอง ดูแลใจ ของผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง