วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict
เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส
”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม
วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี
ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว
Lessons from Last Life Lesson
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
ความตายกับภาพตัวแทน
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson เพื่อให้เข้าใจและถ่ายทอดความรู้สึกต่อความตาย ซึ่งเป็นสภาวะนามธรรมได้มากขึ้น มนุษย์รู้จักที่จะเปลี่ยนสิ่งนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมด้วยการสร้าง บุคลาธิษฐาน หรือ การสร้างภาพตัวแทน (Personification) เพื่อใช้สื่อสารในวรรณกรรม ตำนาน ภาพวาด หรือภาพยนตร์
ประวัติศาสตร์แห่งความเจ็บปวด: คงอยู่หรือจากไป แบบไหนเจ็บกว่ากัน
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
ตายแล้วโปรไฟล์เฟซบุ๊กไปไหน จัดการมรดกดิจิตอลของเราก่อนวันที่บัญชีต่างๆ จะออฟไลน์ไปตลอดกาล
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมลของเราเมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป รูปที่โพสต์จะยังอยู่ไหม เพื่อนของเราจะกลับเข้ามาอ่านข้อความเก่าที่เคยคุยกับเราได้หรือเปล่า
Dostadning กระบวนการทิ้งสัมภาระและจัดบ้านให้เรียบร้อยก่อนความตายมาถึงตามแบบฉบับชาวสวีดิช
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีดิช ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning(2018) เพื่อตอบคำถามดังกล่าวสำหรับคนที่รู้ตัวว่ากำลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และทำให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่
การดูแลอย่างมีความหมายและคำบอกลาสุดท้าย เมื่อคนที่เรารักเดินมาถึงปลายทางของชีวิต
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมื่อพวกเขาเดินทางมาใกล้ถึงปลายทางแห่งชีวิต และไม่มีสิ่งใดมาหยุดสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่สุดอย่างความตายได้ เราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะมาส่งเขาได้อย่างนุ่มนวลและทำให้การบอกลาครั้งนี้มีค่าที่สุด
เพราะเจ็บไม่ได้แปลว่าแพ้ เข้าใจการจัดการกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เมื่อเวลาสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที
ทบทวนเรื่องราวชีวิตกับ 10 คำถามสำคัญที่ควรตอบตัวเองให้ได้ก่อนจากโลกใบนี้ไป
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson วันเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เราแทบไม่เคยหยุดคิดและตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องชีวิตและความตายอย่างจริงจังมาก่อนเลยสักครั้ง จนกระทั่งช่วงเวลาสุดท้ายก่อนความตายเดินทางมาถึงอย่างไม่ทันได้เตรียมใจ ทำให้เกิดความหวาดกลัว วิตกกังวล เคร่งเครียดไปกับปัญหามากมายที่ไม่ทันสะสาง ขอให้คุณลองตอบคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ดูอย่างถี่ถ้วนและตรงไปตรงมา เพื่อเป็นการทบทวนถึงช่วงวันที่ผันผ่าน ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และการจัดการทรัพย์สมบัติที่เตรียมการได้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้คุณ ‘หมดห่วง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายและจากไปอย่างสวยงาม
ไป (แบบ) ที่ชอบที่ชอบ ศึกษาข้อกฎหมายที่จะช่วยออกแบบฉากสุดท้ายของชีวิตได้ตามต้องการ
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lession บทความตอนแรกของซีรีส์ ‘Departure Guide’ ชวนคุณไปรู้จักกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตายดี ทั้งการเขียน Living Will และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องการกำหนดช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตได้อย่างที่ต้องการ