trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ดิน" พบ 69 ข้อมูล

Dancing to the Moon

ภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dancing to the Moon เป็นผลงานของน้องเยาวชนทีม Trive ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นจากโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดีทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' เนื้อหาของหนังสั้นเรื่องนี้สะท้อนแนวคิดถึงคำว่าจิตอาสาว่ามีความหมายกว้างและใกล้ตัวมากกว่าที่เราเคยคิด แค่ทำสิ่งที่เราชอบ แต่มีความหมายกับใครบางคน ก็เป็นหนึ่งในงานจิตอาสาเช่นเดียวกัน โดยถ่ายทอดแนวคิดผ่านเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่รักการเต้นเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อชีวิตไม่อาจเดินตามฝันใช้การเต้นเพื่อการประกวดคว้ารางวัลที่ฝันใฝ่ แต่ในอีกด้าน เขากลับเดินไปพบความหมายจากการเต้นครั้งใหม่ ที่ทุกจังหวะคือการต่อเติมความฝันและความสุขให้ใครอีกคนหนึ่ง และสุดท้าย สิ่งที่เขาได้รับก็ยิ่งใหญ่และงดงามกว่าที่รางวัลใด ๆ จะให้ได้  

สมุดบันทึกความดีของจ่อย

ภาพยนตร์สั้นเรื่องสมุดบันทึกความดีของจ่อย เป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนทีม MAB48 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัลที่ 2 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นจากโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามถึงความหมายของความดีผ่านเหตุการณ์ของตัวละครหลักคือ ด.ช.จ่อย ที่ได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ต้องทำสมุดบันทึกความดี แต่ด้วยชีวิตประจำวันที่จ่อยต้องช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยวทุกวัน ไปโรงเรียนสาย ทำการบ้านสมุดบันทึกความดีไม่ทัน จ่อยจึงถูกสถานการณ์บีบคั้นว่าจะไม่ได้เลื่อนชั้น ในขณะที่เพื่อน ๆ ที่ทำความดีในโรงเรียนหรือแม้แต่เขียนบันทึกความดีขึ้นมาด้วยตัวเองกลับผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างสบาย ๆ หนังตั้งคำถามให้คนดูช่วยกันขบคิดว่า สิ่งใดมีความหมายถึงการทำความดีที่แท้จริง? 

Small man

ผลงานภาพยนตร์สั้น Small man นี้เป็นผลงานของเยาวชนทีม Matchstick Production จาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบเอาความฝันของเด็กผู้ชายเกือบทุกคนบนโลก ที่ครั้งหนึ่งต้องเคยฝันอยากเป็น Superhero ผ่านการเดินเรื่องโดยตัวละครหลัก 'ด.ช.เล็ก' ที่เชื่อมั่นว่าตัวเขาเองมีพลังดั่ง Superhero และด้วยความเชื่อนี้เอง ได้พาให้เล็กต้องไปพบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ท้าทายและสั่นคลอนความเชื่อมั่นในพลังของตัวเองจนเกือบถอดใจ แต่แล้วท้ายสุด เล็กก็ได้คำตอบให้กับตัวเองว่า แท้จริงแล้วพลังเล็ก ๆ ของเขานั้นมีคุณค่าและมีความหมายอย่างไร

แชร์ได้ แชร์ดี

สื่อโปสเตอร์ผลงานของนายศุภกร บัวลา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จ.ปทุมธานี ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทสื่อโปสเตอร์ จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์โครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน:ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ผลงานชิ้นนี้มีแนวคิดสะท้อนอีกแง่มุมหนึ่งของพลังของการแชร์เรื่องราวในโลกออนไลน์ จากความดีเล็ก ๆ ในตัวเรา เมื่อได้แบ่งปันออกไป ก็อาจจะกลายเป็นพลังที่ใหญ่ขึ้น นำไปช่วยชีวิตคนอื่นได้ เหมือนถุงเลือดในภาพ ที่สามารถนำไปช่วยผู้ป่วยได้ต่อไป เปรียบได้เหมือนกับ พลังความดีที่พวกเราแบ่งปันมารวมกัน ความจริงก็ไม่ได้หายไปไหนไกล ท้ายสุด มันก็ย้อนกลับมาหาตัวเรา เป็นประโยชน์กับตัวเราด้วยนั่นเอง

เป็นฮีโร่ได้ แค่ทำดี

สื่อภาพโปสเตอร์ชิ้นนี้ เป็นผลงานของนางสาวประภัสสร ขันปัญญา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) จ.ปทุมธานี ได้รับรางวัลที่ 2 จากโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์โครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เร่ิมต้นวันนี้' สะท้อนแนวคิดว่าเราทุกคนต่างเป็นฮีโร่ได้ด้วยการทำความดีที่เริ่มต้นง่าย ๆ ใกล้ตัว

จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับที่ 34 เดือนตุลาคม 2560

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับเดือนตุลาคม 2560 เนื้อหาวาระพิเศษครบรอบ 1 ปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พบกับเรื่องเล่าประทับใจและบทสัมภาษณ์ของศิลปินที่มีต่อพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง ร.9 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย สอดแทรกด้วยเรื่องราวศิลป์สร้างสุข กับโครงการดี ๆ ทั้งมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ที่ จ.พัทลุง กิจกรรมปั่นไปปลูกไปที่วิถีชุมชนท่ามะพร้าว และเรื่องราวสื่อสร้างสรรค์อีกมากมายตลอดทั้งเล่ม

จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554

ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป  

หนังสือเสียง ลูกกวางไม่อยากเดิน

เมื่อลูกกวางน้อย ตั้งแต่เกิดมาไม่ยอมเดิน แม้แม่กวางจะสอนเดินเท่าไรก็ไม่ยอมทำ แม่เป็ดและแม่กระต่ายเกิดความสงสารแม่กวางมาก จึงให้ลูกๆ ของตนมาสอนลูกกวางน้อยเดิน แต่ลูกกวางน้อยก็ยังไม่ยอมเดิน สุดท้ายพอลูกกวางเห็นเพื่อนกวางวัยเดียวกันวิ่งไล่จับผีเสื้ออย่างสนุกสนาน จึงอยากจับบ้าง ทำให้ลูกกวางยอมลุกขึ้นแล้วเดินได้ด้วยตัวเอง

เรือน้อย

ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก

จะไปไหนจ๊ะ

สำหรับเด็กปฐมวัย การได้ออกมาเรียนรู้ในโลกกว้าง ได้เห็นและสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ช่วยสร้างเสริมจินตนาการที่ดีให้แก่เด็ก “จะไปไหนจ๊ะ” จึงเป็นนิทานที่คุณพ่อ คุณแม่ใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ชวนและพูดคุยกับเด็กๆ ระหว่างเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ซากศพเดินได้

การ์ตูนไทยกับเรื่องราวสุขภาวะ ตอน ซากศพเดินได้ เปิดเรื่องในงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ยี่ห้อซุปเปอร์เอ๊กซ์ มีนักข่าวมาร่วมงานมากมาย และอยากจะสัมภาษณ์เกี่ยวกับสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ที่อ้างสรรพคุณ ว่าใช้แล้วดี ใช้แล้วงาม โดยมีการทดลองใช้จริงจากประธานบริษัทและครอบครัวเจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่นักข่าวก็ต้องแปลกใจ เมื่อพบกับความจริงที่ซ่อนอยู่ในวันที่ไปสัมภาษณ์ประธานบริษัท

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน การเดินทางจาก Hate Speech สู่ Cyberbullying

ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.