ร.๙ ในใจชน ตอน ชุมชนนางเลิ้ง
ชุมชนนางเลิ้ง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พสกนิกรจากรุ่นสู่รุ่นต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้วยทรงเสด็จมายกช่อฟ้าให้กับวัดแคหรือวัดสุนทรธรรมทาน ซึ่งเป็นเพียงวัดราษฎร์หรือวัดของชาวบ้านธรรมดาๆ ทว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงให้ความสำคัญเสด็จมาชุมชนนางเลิ้งแห่งนี้ เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ชุมชนนางเลิ้งต่างโศกเศร้าและเสียใจใหญ่หลวงนักเฉกเช่นคนไทยทั่วประเทศ จึงได้จัดการแสดง ละครชาตรี ชุด นางร้องไห้ การแสดงพื้นบ้านซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนางเลิ้ง ถวายแด่พระองค์ท่านเป็นครั้งสุดท้าย ขับร้องเพื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย โดยมีเนื้อหาพรรณนาในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักยิ่งของคนไทยทั้งผอง
ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน
เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น
ความฝันความหวังความสุขของเด็กเมืองขอนแก่น
เอกสารสรุปการจัดกิจกรรมในโครงการ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง ภาคอีสาน ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นภายใต้ชื่อกิจกรรม 'โครงการ 4 ป. ภูมิใจไทอีสาน (ปลุก ปรับ เปลี่ยน ปลื้ม)' เนื้อหากิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนใน 3 พื้นที่คือ สถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น, ชุมชนเทพารักษ์ ริมทางรถไฟในเขตเทศบาลนครขอนแก่น, ชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นำเสนอความคิดภายใต้แนวคิด 'ความสุข ความฝัน และความหวัง' ว่าลึก ๆ แล้วแท้จริงเด็ก ๆ ต้องการอะไร โดยผลที่ได้ออกมานั้น เด็ก ๆ ในแต่ละพื้นที่ต่างสะท้อนมุมมองออกมาตามบริบทสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของตัวเองได้อย่างน่าสนใจ เป็นข้อมูลที่ส่งต่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์เด็กและเยาวชนให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง
จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554
ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป
โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559
คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร
หมวกข้าวปุก
นิทานทำมือเรื่องเล่าจากชนเผ่าดาราอาง เป็นการผจญภัยของพระราชากับอะนะกอ อำมาตย์คนสนิท ที่เดินทางเข้าป่าไปหากวางทอง โดยระหว่างทางพระราชาได้ขอแลกหมวกทองคำของตนกับหมวกข้าวปุกที่กินได้ของอะนะกอ จากนั้นพระราชาได้ให้สัญญากับอะนะกอว่าจะเล่านิทานให้ฟัง แต่กลับลืมสัญญา ทำให้ผีป่าที่ตั้งใจจะมาร่วมฟังนิทานด้วยโกธรและจะทำร้ายพระราชา แต่โชคดีที่อะนะกอช่วยเหลือพระราชาให้แคล้วคลาดปลอดภัย
พ่อหวึ่งผู้ฆ่าหมี
“พ่อหวึ่งผู้ฆ่าหมี” เป็นนิทานทำมือจากเรื่องเล่าของชนเผ่าดาราอาง ชนเผ่าที่อยู่อาศัยอยู่ทางเหนือสุดของประเทศไทย มีวิถีชีวิตผูกพันกับพุทธศาสนาและธรรมชาติ ตามประเพณีของเผ่า เมื่อเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว จะเรียกชื่อตามชื่อของลูกคนโต ดั่งเช่นนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องของพ่อหวึ่งและแม่หวึ่งที่เดินทางเข้าป่าไปเก็บหน่อไม้ และเจอกับหมีตัวใหญ่ พ่อหวึ่งตกใจวิ่งหนีกลับบ้าน แม่หวึ่งใช้ไหวพริบขว้างหน่อไม้ให้หมีกินจนท้องแตกตาย
เปิดโลกอ่านสร้างสุข จากโรงเรียนสู่ชุมชน สถานศึกษาต้นแบบ ชุมชนอ่านสร้างสุข
การอ่านเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสมอง ทำให้มีความคิดกว้างขวางขึ้นและมีทักษะการคิดเป็นขั้นตอน การปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมรักการอ่าน ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว และขยายผลมาสู่โรงเรียน จากนั้นขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาต้นแบบ และในที่สุดก็สร้างเป็นชุมชนอ่านสร้างสุข ซึ่งนั่นคือ ที่มาของ “โครงการอ่านสร้างสุข” ที่เด็ก ๆ สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แทนการติดเกม เป็นการเปิดจินตนาการการเรียนรู้ที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างไม่จบสิ้นจากโลกการอ่าน
ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014
ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน
สังคมไทยต้องสูญเสียอะไร หากไม่ปฏิรูปที่ดิน
งานวิจัยศึกษาเรื่องของการจัดการที่ดินกับความเป็นธรรมในสังคม ศึกษากรณีเกษตรกรในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะศึกษาระบบแนวคิดและปฏิบัติการการใช้ 'โฉนดที่ดินชุมชน' อันเป็นมาตรการที่ชุมชนร่วมพลังกันนำมาต่อรองและรักษาพื้นที่ของชุมชนเอาไว้จากภาครัฐและนายทุน
ครัวหลังเขา ข่างปองเต๊กเบิ่งไทใหญ่
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้เครือข่ายสตรีชนเผ่าชาติพันธุ์ไทใหญ่ จะมาเล่าถึงเอกลักษณ์ความละเมียดละไมของคนไทใหญ่ผ่านการแต่งกายของสตรี และสาธิตเมนูอาหารทำง่ายและอร่อยได้สุขภาพที่ชื่อ "ข่างปองเต๊กเบิ่ง" ซึ่งมีส่วนผสมหลักคือมะละกอ กระเทียม กระชาย กะปิและขมิ้น นำมาทอดเป็นอาหารทานเล่นหรือรับประทานคู่กับข้าวเหนียวและขนมจีนน้ำเงี้ยวก็อร่อยและสุขภาพดี
ครัวหลังเขา : หมูห่อใบกาแฟ(เมี่ยน)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชาวเมี่ยน ผ่านการนำเสนอเอกลักษณ์ของชนเผ่าโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโป่งป่าแขม อ.แม่จัน จ.เชียงราย ชนเผ่าเมี่ยนเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากประเทศจีน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่งดงาม นอกจากนี้ยังมีอาหารชนเผ่าเมนูเด็ดคือ หมูห่อใบกาแฟ ที่ประยุกต์เอาใบกาแฟที่เป็นพืชปลูกเลี้ยงชีพมาปรุงเป็นอาหารแสนอร่อย รับประทานกับผักต่าง ๆ เกิดเป็นความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของชุมชน