รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.8 (ตอน แม่วัวซื่อสัตย์กับเสือ และ ตอน คนบุญหนักหาบ คนบาปมักเบา)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.8 พบกับ นิทานทุ่งซ่า ตอน แม่วัวซื่อสัตย์กับเสือ เป็นนิทานเรื่องเล่าจากภาคใต้ โดยคุณตา จ.พัทลุง เรื่องมีอยู่ว่า ณ ป่าแห่งหนึ่ง แม่วัวลูกอ่อนออกไปหาอาหารกินริมทุ่งแล้วพบเสือ เสือจะจับแม่วัวกินเป็นอาหาร แม่วัวจึงอ้อนวอนให้ตนเองกลับไปบอกลาลูกน้อยก่อนแล้วจะยอมมาเป็นอาหารให้เสือ แต่พอเมื่อลูกวัวน้อยรู้เรื่องนี้ก็คิดเสียสละจะให้เสือกินตนเองแทนแม่ เสือเห็นความรักที่ยิ่งใหญ่ของแม่วัวและลูกวัว จึงยอมไว้ชีวิตวัวแม่ลูกคู่นี้ ส่วนนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่สอง ตอน คนบุญหนักหาบ คนบาปมักเบา เป็นเรื่องเล่าจากคุณตา จ.เชียงราย เล่าถึงเด็กๆ ที่เดินทางเข้าป่าตามนายพรานหวังจะไปเที่ยวเล่น หาของป่า แต่กลับหลงป่า เมื่อมีเทวดามาอธิบายให้เก็บก้อนหินระหว่างทางเดินทางกลับบ้าน ก็มีแต่เด็กขี้เกียจไม่ยอมทำ แต่มีเด็กคนหนึ่งทำตามคำของเทวดา เมื่ออกจากป่าได้ ก้อนหินเล่านั้นก็กลายเป็นแก้วแหวนเงินทองมากมาย ตอนท้ายรายการ มีกิจกรรมสนุก ๆ ให้เด็ก ๆ เล่นอย่างสร้างสรรค์ด้วยการนำวัสดุธรรมชาติมาสร้างสรรค์เป็น 'ภาพพิมพ์ธรรมชาติ'
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.7 (ตอน เสือขี้ขลาด และ ตอน นักรบกับเหยี่ยว)
รายการทุ่งซ่าวาไรตี้ Ep.7 สนุกไปกับ นิทานทุ่งซ่า ตอน เสือขี้ขลาด เป็นเรื่องเล่าจากคุณยาย จ.กาญจนบุรี ที่เนื้อหาเล่าถึงความฉลาดของพ่อหมาอาศัยอยู่ในป่า เมื่อพบว่าเสือมาแอบมองหน้าถ้ำที่ตนและลูกอาศัยอยู่ และมุ่งหมายจะกินลูกๆ ของตน พ่อหมาจึงออกอุบายว่า เมื่อวานตนเองไปหาเนื้อเสือ ซึ่งเป็นอาหารอร่อยให้ลูกๆ กินกัน เสือขี้ขลาดได้ฟังดังนั้นก็ตกใจกลัววิ่งหนีไปทันที ส่วนนิทานทุ่งซ่าเรื่องที่ 2 ตอน นักรบกับเหยี่ยว เล่าโดยคุณยาย จาก จ. เชียงใหม่ เป็นความรักฉันท์เพื่อนระหว่างนักรบและเหยี่ยว ซึ่งอยู่มาวันหนึ่งนักรบและเหล่าพลทหารเดินทางไปถิ่นทุรกันดารและหิวน้ำมาก แต่พอนักรบจะตักน้ำในลำธารกินเหยี่ยวก็โฉบมาปัดน้ำหกทุกครั้ง จนนักรบโมโหเอาดาบฆ่าเหยี่ยวเสียชีวิต แล้วจึงมารู้ภายหลังว่าเหยี่ยวช่วยชีวิตตน เพราะลำธารนั้นมีงูมาคายพิษอยู่ที่ต้นลำธาร
ปลูกต้นรัก (การอ่าน)
ปลูกต้นรัก(การอ่าน) เป็นหนังสือคู่มือแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับคุณครูและผู้ที่ทำงานด้านเด็ก เนื้อหาของหนังสือมาจากกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านระดับตำบลโครงการปลูกต้นรัก(การอ่าน) ที่เชียงดาว โดยกิจกรรมได้ออกแบบและพัฒนาทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 7 โรงเรียน ได้หลักสูตรการสร้างสื่อสร้างสรรค์ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน ทำให้การอ่านกลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และมีความสุขสำหรับเด็ก ๆ
ขอตามเม้นท์ ทุกชาติ ทุกชาติไป
หนังสือ 'ขอตามเม้นท์ ทุกชาติ ทุกชาติไป' เป็นการระดมพลังนักเขียนการ์ตูนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว เกี่ยวกับการบริโภคสื่อของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความคิด พฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว โดยไม่รู้ตัว เช่น การ์ตูนเรื่อง “ไร้พรมแดน” ที่สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อสมาชิกทุกคนติดหน้าจอ สนใจแต่สื่อสารทางออนไลน์จึงไม่สนใจคนที่อยู่เคียงข้างในขณะนั้น หรือ การ์ตูนเรื่อง “อยากเป็นหมอ” เด็กใฝ่ฝันที่อยากเป็นหมอ แต่วันๆ เอาแต่กินยาบำรุงสมอง และเล่นเกม แล้วจะสอบติดหมอได้อย่างไร?
Digital Balance สร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในวัยเด็ก
รู้จักกับวิธีการสร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในกับเด็ก ๆ พร้อมชวนคิดต่อถึงบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลให้เขาสามารถใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างไม่เป็นพิษกับวัยของเขา
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น
งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ชีวิตรูดปื๊ด
หยิบการ์ตูนไทย สร้างสรรค์เป็นสื่อสุขภาวะ ถ่ายทอดเรื่องราวของ 'องอาจ' พนักงานออฟฟิศ ที่ตั้งใจทำงานและส่งเงินให้แม่เป็นประจำ อีกทั้งยังมีเงินเก็บไว้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อสร้างอนาคตกับนุชแฟนสาวที่อยู่ดูแลแม่ของตนที่ต่างจังหวัด อยู่มาวันหนี่งองอาจได้พบกับเจนจิรา พนักงานใหม่ ตนรู้สึกชอบพอเจนจิรา หลังจากนั้นองอาจก็ติดกับดักใช้เงินอย่างฟุ่มเฟื่อยเพื่อเอาใจเจนจิรา ทำบัตรเครดิตมากมาย รูดบัตรอย่างไร้สติ เป็นหนี้เป็นสิ้นก้อนโต อนาคตขององอาจเกือบจบลงเพราะพฤติกรรมการรูดปื๊ดๆ
ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด
ดูหนัง....เห็นเนื้อในชีวิต
ภาพยนตร์ หรือ Motion Picture เป็นสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ในชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความน่าสนใจและความดึงดูดใจทั้งภาพ เสียง การวางโครงเรื่อง ให้คนดูเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม หากผู้ใหญ่คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ดูแลเด็ก นำสื่อภาพยนตร์มาใช้สร้างการเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี เนื้อหาในหนังสือครอบคลุมการเลือกภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เทคนิคการสร้างกระบวนการเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่ใช่การสอนที่ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายหรือจำเจ
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนธันวาคม2556
รู้หรือไม่ การเดินให้ประโยชน์กับสุขภาพเรามากมายอย่างที่คาดไม่ถึง เป็นที่มาของโครงการชีวิตติดเดิน 'เมื่อสองเท้าเริ่มออกเดิน....เราเริ่มมองเห็นชีวิตด้านดีๆ' ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้นำเสนอข้อมูล ประโยชน์ของการเดินที่มีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงเชิญชวนเยาวชนให้หันมาตระหนักถึงคุณค่าของการเดิน และสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง