จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562
เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน
การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)
การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ
ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT
มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version บทบรรยายไทย)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ
Cyberbullying คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ cyberbullying หรือ ความรุนแรงในโลกโซเชี่ยล พร้อมวิธีป้องกันตนเอง
Who am I ใครคือฉัน โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
แคมเปญเพื่อสังคมสำหรับเด็กที่ต้องการค้นหาตัวเองในอาชีพที่อยากเป็น ผ่านการบอกเล่าแรงบันดาลใจดีๆ จากทุกอาชีพในสังคม คาดหวังให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเด็กมัธยม ได้มีข้อมูล ภาพของอาชีพและโลกของการทำงานที่ครบถ้วน และชัดเจนเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง
คู่มือการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มองเห็นปัญหาของการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเมืองไทย จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข อาทิเรื่องการแจ้งเหตุเมื่อประสบเหตุร้าย การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น
เอิ้นเน้อ Issue 4 : เยี่ยมเยือน บ้านเรือน คนเมือง เชียงใหม่
ในวันที่การท่องเที่ยวเบ่งบาน คนรุ่นใหม่เริ่มย้อนกลับไปสนใจวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตชุมชนแบบดั้งเดิม เอิ้นเน้อ ฉบับที่ 4 จึงขอพาไปเยี่ยมเยือนบ้านเรือน วิถีชีวิตของคนล้านนาแท้ ๆ ที่หยิบเอาคุณค่าในวิถีมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยว ผสานความเก่าและความใหม่ให้ลงตัว เป็นการท่องเที่ยวที่น่ารัก ใกล้ชิดชุมชน เรียบง่าย และหยั่งรากถึงคุณค่าความเป็นชุมชนได้อย่างแท้จริง
หยุ้ม Issue 1 : รวมพลภาคประชาสัมคม ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา
หยุ้ม เป็นชื่อวารสารเพื่อการสื่อสารปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ภายใต้โครงการ Spark U ปลุกใจเมือง โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ฉบับแรกของหยุ้มฉบับนี้พาไปดูภาพรวมการดำเนินการของดครงการต่าง ๆ ภายใต้ Spark U ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ในพื้นที่นำร่อง เช่น เทศบาลตำบลท่าพระ ศรีฐาน ชุมชนสาวะถี จ.ขอนแก่น, บ้านนาหนองบง อ.วังสะพุง, บ้านนาห้วยม่วง, บ้านอุมุง อ.เชียงคาน จ.เลย ที่ชุมชนสร้างความเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพื้นที่น่าอยู่ ปลอดภัย มีความสุขกันถ้วนหน้า
เอิ้นเน้อ Issue 5 : พลังของนักอ่าน สร้างเมืองให้น่าอยู่
เอิ้นเน้อ ฉบับที่ 5 พาไปดูพื้นที่ปลุกใจเมืองเชียงใหม่ เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งร้านกาแฟของใครต่อใครหลายคน และท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนจะผ่อนคลาย ในเมืองเชียงใหม่ยังมีพื้นที่แห่งการอ่านมากมาย รวมถึงเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน ที่พร้อมจะผลักดันให้การอ่านกลายเป็นส่วนหนึ่งที่จะปลุกใจเมืองให้รื่นรมย์และน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
เอิ้นเน้อ Issue 1 : รวมพลภาคประชาสังคม
เอิ้นเน้อ คือ วารสารเพื่อการจุดประกายสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนทั่วภาคเหนือ ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ เนื้อหาว่าด้วยการรวมพลภาคประชาสังคมเพื่อสร้างพลังเปลี่ยนเมืองของคนเชียงใหม่ โดยจะพาไปรู้จักเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานขับเคลื่อนเมืองในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการช่วยกันจุดประกายเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก