นโยบายข้าวไทยร่วมสมัย
งานวิชาการทบทวนเรื่องนโยบายข้าวไทยร่วมสมัย โดยการทำความเข้าใจ โครงสร้างกลไกการสนับสนุนของรัฐ กระบวนการสนับสนุน และผลจากการสนับสนุนของรัฐ ภายใต้แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยเรื่องข้าว ในช่วงปี 2542-2551 ในสมัย 3 นายรกรัฐมนตรี ได้แก่ ช่วงปลายรัฐบาลชวน-ทักษิณ-สุรยุทธ์ ที่มีกระแสแนวความคิดเสรีนิยมใหม่แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคนี้ โดยแสดงออกในรูปของการค้าเสรีที่รู้จักกันในชื่อว่า FTA เป็นต้น
กลไกและกติกาการจัดการที่ดินภาคเกษตรกรรมของลาวในบริบทของจินตนาการใหม่
งานวิจัยศึกษาระบบการจัดการที่ดินของประเทศลาว ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 1975 ที่ลาวเปลี่ยนจากระบบสังคมนิยม เข้าสู่เศรษฐกิจเสรีเต็มตัวในแนวทางที่เรียกว่า 'นโยบายจินตนาการใหม่' ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งของประเทศ การศึกษานี้จะเข้าไปมุ่งศึกษาในทุกกระบวนการจัดการที่ดินของประเทศลาว ในสถานการณ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้
สังคมไทยต้องสูญเสียอะไร หากไม่ปฏิรูปที่ดิน
งานวิจัยศึกษาเรื่องของการจัดการที่ดินกับความเป็นธรรมในสังคม ศึกษากรณีเกษตรกรในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะศึกษาระบบแนวคิดและปฏิบัติการการใช้ 'โฉนดที่ดินชุมชน' อันเป็นมาตรการที่ชุมชนร่วมพลังกันนำมาต่อรองและรักษาพื้นที่ของชุมชนเอาไว้จากภาครัฐและนายทุน
การสูญเสียที่ดินของเกษตรกรภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ถอดบันทึกการสัมมนาวิชาการเรื่องการสูญเสียที่ดินของชาวนาภายใต้ระบบสินเชื่อของสถาบันการเงิน ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกษตรกรไทยกว่า 70% ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการนำที่ดินไปกู้แปลงเป็นทุน หลังจากนั้นไม่สามารถใช้หนี้ได้ ทำให้ที่ดินจำนวนมากหลุดจำนองให้กับธนาคารซึ่งกลายเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ของประเทศ การสัมมนาครั้งนี้ สะท้อนแนวคิดจากหลากหลายมิติ ทั้งชาวนา ธนาคาร กรมบังคับคดี ตัวแทนชุมชน ฯลฯ นำสู่การแก้ไขปัญหานี้อย่างรอบคอบและเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย
รายงานวิจัยภาวะหนี้สินกับการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย จังหวัด อ่างทอง
ศึกษากรณีการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรไทยที่มีที่มาจากปัญหาหนี้นอกระบบ ศึกษาจากกลุ่มเกษตรกร จ.อ่างทอง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้มีการสะท้อนและทบทวนปัญหาและทางแก้ไขหนี้นอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน ซึ่งผลักดันให้เกษตรกรยากจนและกลายเป็นเพียงผู้ใช้แรงงาน ขณะเดียวกันก็เพื่อให้สังคมได้รับรู้ เรียนรู้ และช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ร่วมกันอย่างยั่งยืน
รายงานการศึกษา กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรกรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ต้องการแนวทางการแก้ไขที่เป็นกระบวนการที่ยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกาา "กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นการถอดบทเรียนความสำเร็จตัวอย่างจากเกษตรกรในเครือข่ายที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ อันจะเป็นองค์ความรู้สำคัญในการต่อยอดเพื่อสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป
รายงานการศึกษา เรื่องการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรจากปัญหาหนี้นอกระบบ
สถานการณ์การสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าเกษตรกรไทย งานวิจัยชิ้นนี้ของมูลนิธิไทชีวิตไท มุ่งเน้นที่จะหาคำตอบเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นหนี้สินนอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นหนี้ของเกษตรกรพร้อมกับหาหนทางแก้ไขให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง
ชีวิตติดสื่อ
ผลสำรวจพฤติกรรมการเสพสื่อ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยกว่า 23 ล้านคน ใช้เวลาอยู่กับสื่อไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบเป็นปีแล้วน่าตกใจว่าเด็กและเยาวชนมีชีวิตติดสื่อมากกว่าการเรียนเสียอีก ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบสื่อ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องใส่ใจ ดูแลให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ
เล่นเพื่อชีวิต
คลิปวีดิโอสื่อสารรณรงค์ให้สังคมมองเห็นความสำคัญของการเล่นของเด็ก นำเสนอประโยชน์ของการเล่นเพื่อพัฒนการของเด็กในทุก ๆ ด้าน ปัญหาการที่เด็กไม่ได้เล่น อันเนื่่องมาจากการขาดโอกาส การอยู่กับเทคโนโลยีมากเกินไป การเรียนพิเศษ ฯลฯ นำสู่การกระตุ้นให้สังคมช่วยกันออกมาดูแลสิทธิของเด็กในการที่จะมีโอกาส มีพื้นที่เล่นที่ถูกสุขภาวะ เพื่อชีวิตที่ดี สร้างสรรค์ และสมบูรณ์
ขอพื้นที่เล่น
คลิปวีดิโอรณรงค์ขอพื้นที่เล่นและพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ผ่านศิลปะการวาดทรายเล่าเรื่อง เนื้อหามุ่งให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้มองเห็นและเข้าใจความสำคัญของพื้นที่เล่นและพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีต่อการพัฒนาเด็ก ขอพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กได้เล่น...ขอพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กได้มีชีวิต...
อ่านสร้างสุข 21 การอ่านมหัศจรรย์ แห่งสุขภาพ - สุขชีวิต
"การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ-สุขชีวิต" นำเสอข้อมูลเชิงอ้างอิงมาจากผลการวิจัยหลากหลายสาขาว่า การอ่านเป็นหนึ่งในความสุขของชีวิตที่มาพร้อมกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดี เด็กที่อ่านหนังสือ 15 นาทีต่อวัน จะรู้คำศัพท์มากกว่า 1 ล้านคำต่อปี ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง พัฒนาการทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ EF ซึ่งเป็นกระบวนการคิดของสมองส่วนหน้าที่สำคัญมากกว่า IQ และ EQ ผู้ที่อ่านหนังสือยังมีแนวโน้มว่าจะสุขภาพดีมากกว่าผู้ที่ไม่อ่านหนังสือถึงร้อยละ 33 นอกจากนี้การอ่านยังช่วยคลายเครียด ทำให้หลับสบาย
เพลงเมฆฝนกับสายฝน
เพลงเมฆฝนกับสายฝน บทเพลงแห่งความชุ่มฉ่ำ เสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กกับธรรมชาติ ระหว่างเมฆ ลม และสายฝน