trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ชีวิต" พบ 180 ข้อมูล

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ - การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อความเข้าอกเข้าใจและทำให้รู้สึกสงบ

คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว  

ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย - ทำไมคนป่วยหนักหรือในภาวะใกล้ตายจึงเกิดภาพหลอน

บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด  

ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว  

รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา - เข้าใจแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อไม่พาผู้ป่วยระยะท้ายมายื้อความตายยาวนาน

บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ  

คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ - แท้จริงแล้ว ความตายไม่ใช่ศัตรู

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษา บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม เธอสนใจศึกษาธรรมะ ชีวิต และความตายมาอย่างยาวนาน มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เรื่องการตายดีสำหรับสังคมไทย เธอเป็นวิทยากรและช่วยรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย จนเมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับภาวะเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยตัวเอง นี่คือบทสนทนาแบบคำต่อคำ ว่าเธอคิดและมองความตายอย่างไร   คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ให้สัมภาษณ์กับ a day BULLETIN  

We Oneness คือ

We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน  ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม

The Last Life Lesson เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย’พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน -- เราเองอยากจะมีความเป็นอยู่อย่างไรเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต ? การเตรียมการทางการเงินเพียงพอหรือไม่ ?  มีวิธีคำนวณอย่างไร ? เราอยากจะให้ญาติรอบตัวเข้ามาช่วยทำตามความต้องการนั้นอย่างไร ? จัดการเอกสารทางกฏหมายและวางแผนการเงินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่  เพื่อเตรียมตัวในการออกเดินทางครั้งสุดท้าย    

The Last Life Lesson ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ โดย รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี --  เมื่อผู้ป่วยระยะท้ายต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน  การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ?  ห้องฉุกเฉินสามารถตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) ได้จริงหรือไม่ ?     

The Last Life Lesson ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘ความเจ็บปวดและความทรมานครั้งสุดท้าย’ โดย นอ.นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์เรียนรู้วิธีการจัดการความเจ็บปวดอย่างถูกวิธี ลดความเจ็บปวดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการให้มอร์ฟีน การหยุดยา อดน้ำอดอาหาร ที่ช่วยในการบรรเทาความปวดที่เกิดขึ้น    

The Last Life Lesson เตรียมใจกับอนาคตอีกไม่ไกล

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงาน How I love My Mother, How I Live My Life และ How Lucky I am'พาย' หญิงสาวที่เปลี่ยนฐานะกลายเป็นคนดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ยังวัยรุ่น เนื่องจากแม่ของเธอได้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงกระทันหัน เธอผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นมาได้อย่างไร? และมีวิธีรับมือกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง? เปิดใจและสัมผัสความรู้สึกในการดูแลผู้ป่วย จนถึงช่วงเวลาที่จากไป  

The Last Life Lesson บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด อันลึกซึ้งถึงหัวใจ

จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์เปิดมุมมองใหม่ในการสื่อสาร ฝึกปฏิบัติวิธีการดูแลผู้ป่วยด้วยการสื่อสารผ่านการสัมผัสและเคลื่อนไหวเพื่อเข้าถึงจิตใจผู้ป่วยอย่างแท้จริง  เพราะอาจเป็น ‘บทสนทนาที่ไม่มีคำพูด แต่สามารถสื่อสารอย่างอันลึกซึ้งถึงหัวใจ’   

The Last Life Lesson เมื่อสมองกำลังล้มเหลว

ทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson โดย ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชยการทำงานของสมองเมื่ออยู่ในระยะสุดท้าย อธิบายภาวะภาพหลอนที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุใด ? และบ่งบอกอะไรในทางการแพทย์ ? การดูแลผู้ป่วยในภาวะสมองกำลังล้มเหลวต้องทำอย่างไร ? เพื่อจัดการกับภาพหลอนนั้น    

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.