วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์
การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว เรื่องของกำลังใจ หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ
วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู
“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย
วิชาชีวิต บทที่ 1 ตาย ศาสตร์ - รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์
การเตรียมตัวตายอย่างมีคุณภาพชีวิต เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตั้งคำถามกับตนเอง ไม่ว่าจะเพื่อบุพการี ตัวเอง หรือแม้แต่เพื่อคนที่เรารัก ด้วยสังคมในทุกวันนี้ที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า คนเรามีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้น แสดงว่าคนไทยมีอายุยืนขึ้น และอีกไม่ช้าสังคมไทยเราก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเมื่อก่อนมาจากโรคติดเชื้อ แต่ในวันนี้ คนไทยตายจากความเสื่อมของอวัยวะและร่างกาย “การยื้อความตาย” เป็นคำถามที่ต้องฉุกคิดทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่จะจากไป ว่าเราจะมีวิธีการอยู่ หรือ จากไปอย่างมีความสุข ไม่กังวล และสุขภาวะที่ดีได้อย่างไร ...อยู่ให้เป็นสุข ตายให้สบาย...
หลักสูตร วิชาชีวิต
หนังสือ วิชาชีวิต เป็นการเรียบเรียงองค์ความรู้จากหลักสูตร “วิชาชีวิต” ภายใต้โครงการสื่อสารเพื่อส่งเสริมคุณภาพการอยู่อย่างมีความหมายจากไปอย่างมีความสุข โดยเนื้อหาเน้นการพูดถึงความตาย สิ่งที่หลายคนกลัวเพราะความเจ็บปวดก่อนตาย แต่ส่วนลึกของสิ่งที่ทุกคนกลัว คือการพลัดพรากจากคนที่รัก ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจเรื่องคุณภาพชีวิตระยะสุดท้ายและวิถีการตายอย่างสงบ สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใน 4 มิติ ทั้ง กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ จะทำให้ผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้สนใจ ได้มีวิชาชีพที่ดีในการเรียนรู้ที่จะก้าวข้ามความกลัวไปสู่โลกใหม่อย่างสงบสุข
ก่อการครู วิชา Magical Classroom meaningful learning
เวทมนตร์ของครู คือการเข้าไปนั่งอยู่ในใจของเด็กได้ ครูทุกคนมีเวทมนต์อยู่ในตัวทุกคน ก่อนอื่นครูจะต้องใช้หัวใจในการสอน ในการพูดคุย ในการฟังเด็ก อยู่ในห้องเรียนร่วมกับเด็กด้วยหัวใจ เข้าใจและเรียนรู้ในธรรมชาติของเด็ก ว่าเด็กต้องการอะไร ต้องการสิ่งแวดล้อมแบบไหน ต้องการความปลอดภัยแบบไหน และแบบไหนที่เด็กได้รับแล้วจึงมีความสุข หากครูสามารถสัมผัสหัวใจของเด็กได้ เมื่อนั้นพลังแห่งเวทมนต์ของครูก็จะฉายแสงออกมาทันที
หิวมานิห์ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จากวัฒนธรรม ประเพณีของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ในอดีตที่นิยมทำขนมพื้นบ้านของตัวเอง และ รับประทานขนมกันในชีวิตประจำวัน โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนท้องถิ่น เป็นกลายเป็นขนมพื้นบ้านหลากหลายชนิดและมีรสชาติ หน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของคนในชุมชนได้ดี
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ นายู ซีแยโดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปวิดีโอ สะท้อนแนวคิด สร้างความรัก และเความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ ป้ายรถ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ พวกแบ่งแยกดินแดน โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เสม็ด Let s fun โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวที่เสม็ดมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ ช่วยกันรักษาความสะอาด เพื่อให้ทะเลยังคงสวยงาม
Happy Bird Day โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เพื่อช่วยให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ผู้คนกล้ามาจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจ