ผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพ จ๊ะเอ๋ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภายใต้
“จ๊ะเอ๋” คลิปวิดีโอผลงานวิจัยการใช้หนังสือนิทานภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หยิบนิทานภาพมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างวัฒนธรรมการกอดให้เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างพ่อแม่และลูกให้มีความใกล้ชิดและช่วงเวลาแห่งความรักร่วมกันทุกวัน หนังสือนิทานภาพถือเป็นบันไดขั้นแรกที่ปลูกฝังทั้งการรักการอ่านและสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญาให้แก่เด็ก อีกทั้งผลการวิจัยพบว่าหลังจากที่ผู้ปกครองและเด็กได้เล่น “จ๊ะเอ๋” กันทุกวัน เด็กๆ มีความกล้าที่จะกอดพ่อแม่มากขึ้น เกิดเป็นวัฒนธรรมแห่งความรักที่สร้างความอบอุ่นให้เกิดขึ้นในครอบครัว
ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย
หิวมานิห์ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จากวัฒนธรรม ประเพณีของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนใต้ในอดีตที่นิยมทำขนมพื้นบ้านของตัวเอง และ รับประทานขนมกันในชีวิตประจำวัน โดยเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนท้องถิ่น เป็นกลายเป็นขนมพื้นบ้านหลากหลายชนิดและมีรสชาติ หน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นการสะท้อนความเป็นอยู่ วิถีชีวิต ของคนในชุมชนได้ดี
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ นายู ซีแยโดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปวิดีโอ สะท้อนแนวคิด สร้างความรัก และเความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ ป้ายรถ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ คลิปวีดีโอ พวกแบ่งแยกดินแดน โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
หยุดตรวจ โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Happy Bird Day โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เพื่อช่วยให้ปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ผู้คนกล้ามาจับจ่ายใช้สอยกระตุ้นเศรษฐกิจ
เครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้(ศอช.)
รู้จักเครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ (ศอช.): เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ Coordination Center Networking for Southernmost Reading Promotion (SRP) : Southernmost Reading Power ผนึกกำลังเพื่อภายใต้วิสัยทัศน์ : เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนให้ “พลังของการอ่าน” เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพบุคคลทุกช่วงวัย เพื่อสร้างพลเมืองสร้างสรรค์และสังคมที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเข้าใจ และสันติสุขอย่างยั่งยืน
มหกรรมพลังอ่านชายแดนใต้
เปิดตัวเครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ รุกมิติวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะและสันติสุขชายแดนใต้ในงาน ม.อ.วิชาการ 6 – 7 กันยายน 2561 ปัตตานี แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ร่วมกับ 14 องค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ และประชาสังคม จับมือผนึกกำลังจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ (ศอช.) : เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ร่วมจัดงานมหกรรม “พลังอ่านชายแดนใต้” ณ ตึก 58 สำนักวิทยบริการ อาคารชูเกียรติ (อนุบาลสาธิต ม.อ.ปัตตานี) ในงาน ม.อ.วิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2561
เพลงพี่สาวครับ โดยเยาวชนกลุ่มรักน้องเบล
คลิปวิดีโอการร้องเพลงและแสดงดนตรีเพลง "พี่สาวครับ" จากเยาวชนกลุ่ม "รักน้องเบล" ซึ่งเป็น 1 ในเยาวชนจากโครงการปิ๊งส์ เด็กเฮ้ว ปี 2 ประเด็นอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา โดยในคลิปวิดีโอนี้ เยาวชนกลุ่มรักน้องเบล ได้ขึ้นแสดงความสามารถเพื่อส่งกำลังใจไปชายแดนใต้ ในคอนเสิร์ต 10 ปีคลื่นความคิด 96.5 mhz. ห่วงใยชายแดนใต้#3