Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "คุณครู" พบ 12 ข้อมูล

ออกไปเล่นสำหรับคุณครู - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล

เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์  

เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก : สวัสดี ฉบับ เด็กหญิง

สวัสดี ฉบับเด็กหญิง เป็น 1 ในนิทานเรื่องเล่าทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก เนื้อเรื่องในเล่มนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กรู้จักการไหว้สวัสดีคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าชื่นชม

มหัศจรรย์หนังสือและการอ่าน จ.อุตรดิตถ์ ครูกาญจนา จันทร์ประดิษฐ์

คลิปสัมภาษณ์ครูกาญจนา จันทร์ประดิษฐ์ คุณครู ศพด. จาก จ.อุตรดิตถ์ ถึงกิจกรรมการอ่านที่คุณครูได้ริเริ่มทำใน ศพด. ร่วมกับเด็กและผู้ปกครอง รวมถึงการสะท้อนความรู้สึก สิ่งที่ได้รับและเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้จากการร่วมกิจกรรมอบรมโดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ซึ่งทำให้คุณครูสามารถใช้เทคนิคการอ่านหนังสือนิทานได้คล่องแคล่ว สร้างสรรค์นิทานเรื่องใหม่ ๆ พร้อมทั้งกิจกรรมต่อยอดกับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการอ่านให้เด็ก ๆ ใน ศพด. ได้ต่อไป 

เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก : สวัสดี ฉบับ เด็กชาย

สวัสดี ฉบับเด็กชาย เป็น 1 ในนิทานเรื่องเล่าทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก เนื้อเรื่องในเล่มนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กรู้จักการไหว้สวัสดีคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าชื่นชม

5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา  ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน  ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it  

ภาษาไทยน่ารู้กับคุณครูติ๋มจากเพลง พูดเพราะ ๆ

เรียนภาษาไทยกับครูติ๋มตอนนี้ ไปเรียนรู้คำไทยจากเพลงพูดเพราะ ๆ นอกจากเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้คำว่าพูดเพราะและหยาบคายว่ามีความหมายต่างกันอย่างไร ต้องอย่าลืมฝึกพูดเพราะ ๆ กันด้วย จะได้มีแต่คนชื่นชม

ภาษาไทยน่ารู้กับคุณครูติ๋มจากเพลง ผึ้งตัวนั้นขยันจัง

ครั้งนี้คุณครูติ๋มมาชวนเรียนภาษาไทยสนุก ๆ จากเพลงผึ้งตัวนั้นขยันจัง ไปรู้จักกับผึ้ง และคำว่า เกี่ยง ว่ามีความหมายว่าอะไร นอกจากนี้ยังมีคำเตือนสำหรับเด็ก ๆ อีกด้วยถึงอันตรายของผึ้ง อย่าเข้าใกล้ผึ้งเพราะอาจจะโดนต่อยได้

ภาษาไทยน่ารู้กับคุณครูติ๋ม จากเพลงขบวนการคนตัวดี

มาเรียนรู้ศัพท์ภาษาไทยกับครูติ๋มกันจากเพลงขบวนการคนตัวดี ครั้งนี้มารู้จักกับความหมายและสมาชิกของครอบครัวว่ามีใครบ้าง แต่ละครอบครัวก็มีสมาชิกไม่เหมือนกัน ยังมีความหมายของคำว่า ชวน จากบทเพลงให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมกันอีกด้วย

ภาษาไทยน่ารู้กับคุณครูติ๋ม จากเพลงทานตะวัน

ห้องเรียนภาษาไทยครูติ๋มตอนนี้ ไปรู้จักดอกทานตะวันสีเหลืองสวยสดใสว่าเติบโตดีได้ในช่วงไหน ดอกทานตะวันยังเป็นสัญลักษณ์ของความเบิกบานที่มีความหมายว่าแจ่มใส ปลอดโปร่ง ไปสนุกกับภาษาไทยจากเพลงทานตะวันพร้อมกันเลย

ภาษาไทยน่ารู้กับคุณครูติ๋มจากเพลง ตื่นแต่เช้า

เรียนภาษาไทยง่าย ๆ กับครูติ๋ม ครั้งนี้มาเรียนรู้คำว่า ตื่น แสงตะวัน จากบทเพลงตื่นแต่เช้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังสอดแทรกสุขนิสัยที่ดีหลังตื่นนอน เช่น การล้างหน้า แปรงฟัน ให้เด็ก ๆ อีกด้วย

เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก "ไปโรงเรียน" เด็กหญิง

ไปโรงเรียน ฉบับเด็กหญิง เรื่องเล่าทางสังคม ที่บอกเล่าให้เด็กออทิสติกเรียนรู้จักพฤติกรรมการไปโรงเรียน สิ่งที่ต้องทำเมื่อไปโรงเรียน ปลูกฝังทัศนคติว่าการไปโรงเรียนสนุกสนาน มีเพื่อนๆ มากมาย และมีการเรียนการสอนจากคุณครูที่น่ารัก 

เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก "ไปโรงเรียน" เด็กชาย

ไปโรงเรียน ฉบับเด็กชาย นิทานเรื่องเล่าทางสังคม ที่บอกเล่าให้เด็กออทิสติกเรียนรู้จักพฤติกรรมการไปโรงเรียน สิ่งที่ต้องทำเมื่อไปโรงเรียน ปลูกฝังทัศนคติว่าการไปโรงเรียนสนุกสนาน มีเพื่อนๆ มากมาย และมีการเรียนการสอนจากคุณครูที่น่ารัก 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.