ลงทะเบียนเรียนฟรี การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน
ลงทะเบียนเรียนฟรี “การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น ที่จะพาไปเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวสื่อในฐานะสถาบันทางสังคมที่ขัดเกลาความคิดผู้คน ฝึกฝนวิเคราะห์ถอดรื้อการประกอบสร้างสื่อ เพิ่มศักยภาพความคิดเชิงวิพากษ์ และขยายหัวใจของความเป็นพลเมืองอยู่ร่วมนับรวมผู้คนสังคมเดียวกัน จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก หมวดเนื้อหา การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21 มิถุนายน 2565 หัวข้อ เปิดสายตาอ่านสื่ออย่างรู้เท่าทัน MIDL 101 19 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลิกมุมคิด สะกิดมุมมอง วิพากษ์สื่อด้วยสายตาพลเมือง 21 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ วิพากษ์สื่ออย่างรู้เท่าทันสร้างสรรค์สังคมของทุกคน ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น. ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย Thai Civic Education Foundation รับจำนวนจำกัด !!! สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook: CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่ https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/
ลงทะเบียนเรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทอล (MIDL)
ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! แนะนำ! คอร์สเรียนออนไลน์ ที่ชาวโซเชียลควรรู้ หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติ ด้วยชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information and Digital literacy หรือ MIDL) เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น Chulalongkorn University Values Integration Program หรือ CUVIP มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จัก ค้นพบ และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการ ทำงานอย่างมือ อาชีพ เมื่อสิ้นสุดการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนจะได้รับองค์ความรู้ใหม่หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างแรงบันดาลใจใน การดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต จนสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณสมบัตินิสิต บัณฑิต และบุคลากรให้สามารถเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก . หลักสูตร CUVIP series "เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก” Media Literacy, the essential skill for well-being เปิดพื้นที่เรียนรู้ออนไลน์ด้วยเนื้อหาที่ได้รับออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งเป็นทักษะสร้างสุขภาวะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 หมวดเนื้อหา 13 หัวข้อเรียนรู้ 2 ชั่วโมงต่อครั้ง . หมวดเนื้อหาที่ 1 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย หมวดเนื้อหาที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล โดย คุณณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต , คุณปราศรัย เจตสันติ์, คุณอลงกรณ์ อัศวโสวรรณ และ คุณพรพรรษ อัมพรพฤติ กลุ่ม Critizen หมวดเนื้อหาที่ 3 สูงวัยเท่าทันสื่อ โดย เอกชัย เธียรสรรชัย, ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และ ฐานิสร์ ริ้วสุวรรณ์ (กลุ่มคนตัวดี บริษัท ทำมาปัน จำกัด) หมวดเนื้อหาที่ 4 การคุ้มครองจากภัยออนไลน์ โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช , คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์ และ คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย หมวดเนื้อหาที่ 5 การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. . การสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP สำหรับบุคคลทั่วไป 1. ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php 2. ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project 3. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php 4. ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม*** CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 หรือ Inbox Facbook: CUVIP Project 5. ผู้เรียน จะได้รับประกาศนียบัตร หลังจบการเรียนรู้แต่กิจกรรม
มุมมองแนวคิดเรื่อง บุญ กับ จิตอาสา โดย พระไพศาล วิสาโล
เมื่อเรานึกถึงการทำบุญเรามักจะนึกถึงแต่การให้ทานโดยเฉพาะการเข้าวัดทำบุญกับพระสงฆ์ ทว่าการทำบุญนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสละทรัพย์เท่านั้น แต่การสละเวลาและแรงกายในการช่วยเหลือผู้อื่นหรือสัตว์ที่เจ็บป่วยก็นับเป็นการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาเช่นกัน คลิปเสียง มุมมองแนวคิดเรื่อง บุญ กับ จิตอาสา โดย พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ซึ่งพระอาจารย์ไพศาลได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการทำบุญไว้ว่า เพียงแค่เรามีจิตที่อาสาเราก็สามารถทำบุญหรือช่วยเหลือผู้อื่นได้ การทำบุญที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนานั้นคือการทำบุญที่ให้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านและนำมาซึ่งความปิติที่ได้บรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งเกิดปัญญาแก่ผู้ให้เพราะผู้ให้จะรู้สึกว่ามีอัตตาตัวตนที่น้อยลง
The Reading อ่านสร้างสุข โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ EP.3
นิทานภาพเรื่องเม่นหลบฝน โดย ครูปรีดา ปัญญาจันทร์ ที่ได้รับรางวัลและได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา เม่นหลบฝนเป็นนิทานภาพที่ไร้ตัวหนังสือแต่สามารถพูดคุยและเล่าเรื่องให้เด็กๆ เข้าใจได้ ด้วยการใช้ภาพและสัญลักษณ์ในหนังสือสื่อสารกับเด็กและด้วยภาพในนิทานจะเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กฝึกเปล่งคำพูดออกมาและยังเปิดกว้างให้เด็กๆ ได้หัดจินตนาการตามภาพ หนังสือนิทานภาพประเภทไร้ตัวหนังสือนี้จะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการฝึกให้เด็กมีพัฒนาด้านทักษะทางภาษาและการพูด รวมถึงฝึกการใช้ความคิดและเปิดกว้างทางจินตนาการของเด็กได้อย่างสร้างสรรค์
แนวคิดชุมชนกรุณา หลักสูตรและเอกสารประกอบการอบรม
การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและจากไปอย่างสงบ เราไม่อาจฝากภาระการดูแลที่สำคัญเช่นนี้ไว้เฉพาะแต่เพียงบุคลากรสุขภาพเท่านั้น การดูแลชีวิตช่วงท้ายเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือตามศักยภาพและความถนัด ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติมิตร หรือกลุ่มสัมคมต่างๆ หลักสูตรอบรมชุมชนกรุณาเล่มนี้ มีเนื้อหาในการสร้างสรรค์ชุมชนกรุณา เริ่มจากความหมายของความกรุณา เพื่อสร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน
หวังเซ็กส์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด Beware Sextortion
เสียรู้ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพจิต หวังเซ็กซ์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด วิดีโออินโฟกราฟฟิค ที่จะช่วยเตือนสติวัยรุ่นหลายๆ คน ถึงเรื่องการไว้ใจคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เพื่อหวังความสนุก ตื่นเต้น เพียงชั่วครู่ ซึ่งที่จริงนั้นแฝงไว้ด้วยภัยอันตราย เพราะเมื่อตกเป็นเหยื่อนอกจากจะทำให้เสียทรัพย์ ยังทำให้เสียสุขภาพจิต เสื่อมเสียชื่อเสียงและสร้างความอับอายให้แก่ตัวเองและครอบครัว
หยุดคิดถาม - เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล
เพลงชุด เด็กปฐมวัยเท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับเด็กช่วงอายุ 3-6 ขวบ เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กด้วยเพลงและท่าเต้นง่าย ๆ เนื้อร้อง/ทำนอง : ดร.แพง ชินพงศ์
เรื่องคิดไม่ถึง ชวนให้คิดไม่ถุง
ช่วงนี้ เรื่องเพลาๆ การใช้ถุงพลาสติกของคนส่วนใหญ่อาจจะการ์ดตกลงบ้าง แต่อันที่จริง การลดใช้ถุงพลาสติกแค่ 1 ใบ ไม่เพียงแค่ช่วยลดขยะพลาสติกที่กำลังจะล้นโลกแต่ยังช่วยรักษาทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตได้อีกมากมาย แล้วลองชั่งใจดูว่า การ ‘ใช้แค่’ หนึ่งใบ กับการ ‘ลดแค่’ หนึ่งใบ มันส่งผลกระทบอย่างไรกับเราและโลก
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์
ประสิทธิ วิทยสัมฤทธิ์ ครีเอทีฟ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร ครีเอทีฟ เอเจนซี่โฆษณาเพื่อสังคม แม้ว่างานที่อยู่เข้าข่ายการทำความดี แต่เขากลับต้องเผชิญกับความทุกข์ ด้วยการติดกับดักในความคิดของตนเอง ที่ว่า “ชีวิตของเขายังมาดีพอ ไม่ถูกใจกับชีวิต” จนเมื่อเขามีโอกาสได้บวชเรียนที่สวนโมกข์ จ.สุราษฎร์ธานี เขาจึงได้ปล่อยวางความคิด ให้อภัยตนเองและผู้อื่น กล้าที่จะเผชิญความจริง และลดทิฐิในตน การบวชคือการฝึกฝนการเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ ทำให้เอาชนะสัญชาตญาณของการทำตามอำเภอใจ กล้าทำเพื่อผู้อื่น และเสียสละมากยิ่งขึ้น นั่นคือ สภาวะการตื่นรู้ของเขานั่นเอง
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - อชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์
อชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์ กระบวนกรด้านการพัฒนาศักยภาพ ผู้ใช้ศาสตร์การสร้าง Mind Mapping สร้างความสมดุลระหว่างความสำเร็จภายนอกและความสุขภายใน กับจุดเปลี่ยนในชีวิตและประสบการณ์การตื่นรู้ จาก “ความกลัว” และสามารถก้าวข้ามความกลัวมาได้ ด้วยการยอมรับและทำความเข้าใจภายในตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งการยอมรับและทำความเข้าใจนี้ ส่งผลให้เข้าถึงตัวตนและคนรอบข้างได้มากขึ้น ยอมรับและซื่อตรงกับธรรมชาติตามความเป็นจริง มีสติอยู่กับปัจจุบัน ทุกข์เบาลงและรับรู้ถึงความสุขที่แต่ก่อนไม่เคยสังเกตเห็นมากขึ้น
พลิกวิธีคิดสร้างภูมิคุ้มใจ
บางครั้งพลังความคิดลบ ก็อาจจะนำเรื่องลบเข้ามาในชีวิตเราได้ ให้เราเปลี่ยนหรือพลิกวิธีคิดให้เป็นเรื่องดี ๆ สิ่งดี ๆ เหล่านั้นก็จะเข้ามาสู่ชีวิตเรา นั่นคือ การสร้างภูมิคุ้มใจที่ดีสำหรับทุกคนในยามที่ต้องเผชิญกับวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคร้าย