ชายแขนเดียว
เรื่องราวของ "ชายแขนเดียว" และ "เทอร์โบ" สุนัขสุดที่รัก.....ของเขา
นางเลี้ยงหมากะป้าแจ่ม
นางเลี้ยงหมายิ้ม ใบหน้าแห้งเหี่ยวนั้นดูราวกับกระดาษย่น “ได้ข่าวว่าป้าไม่สบาย เจ้านี้อร่อย ฉันซื้อมาฝาก” ป้าแจ่มรับถุงนั้นมา สัมผัสได้กับความสั่นเทาของคนที่หิ้วมันมา นางส่งให้เสร็จก็หันหลังให้และเดินจากไปโดยไม่มองป้าแจ่ม
เรื่องของลุงยู้
บ้านไม้หลังเล็กของลุงยู้อยู่ห่างบึงบัวในสวนสาธารณะเพียงแค่ไม่ถึงร้อยเมตร แต่แกแทบไม่เคยย่างกรายเข้าไป.....
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 1)
การได้เกิดและเติบโตในย่านบางลำพู ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังความปลาบปลื้มมาให้ผู้คนในชุมชนบางลำพู ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาสถวายการต้อนรับเมื่อครั้งเสด็จนิวัติผ่านถนนจักรพงษ์ การรับเสด็จเมื่อครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนให้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิม แม้กระทั่งการได้ถวายเสื้อเชิ้ตแด่พระองค์และทราบว่าพระองค์ทรงใช้สวมใส่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำแนวพระราชดำริโครงการจักรยานเผินน้ำมาผสานกับโครงการกังหันชัยพัฒนา เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับคูคลองย่านบางลำพู เหล่านี้คือความประทับใจและจิตวิญญาณของลูกหลานชาวบางลำพู ที่จะดูแลชุมชนของตนเองให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า และอยู่ในความทรงจำตลอดไป
ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย
สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข
สมุดบันทึกความดีของจ่อย
ภาพยนตร์สั้นเรื่องสมุดบันทึกความดีของจ่อย เป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนทีม MAB48 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับรางวัลที่ 2 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นจากโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งคำถามถึงความหมายของความดีผ่านเหตุการณ์ของตัวละครหลักคือ ด.ช.จ่อย ที่ได้รับมอบหมายจากคุณครูให้ต้องทำสมุดบันทึกความดี แต่ด้วยชีวิตประจำวันที่จ่อยต้องช่วยแม่ขายก๋วยเตี๋ยวทุกวัน ไปโรงเรียนสาย ทำการบ้านสมุดบันทึกความดีไม่ทัน จ่อยจึงถูกสถานการณ์บีบคั้นว่าจะไม่ได้เลื่อนชั้น ในขณะที่เพื่อน ๆ ที่ทำความดีในโรงเรียนหรือแม้แต่เขียนบันทึกความดีขึ้นมาด้วยตัวเองกลับผ่านเรื่องนี้ไปได้อย่างสบาย ๆ หนังตั้งคำถามให้คนดูช่วยกันขบคิดว่า สิ่งใดมีความหมายถึงการทำความดีที่แท้จริง?
Small man
ผลงานภาพยนตร์สั้น Small man นี้เป็นผลงานของเยาวชนทีม Matchstick Production จาก วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับรางวัลที่ 3 จากการประกวดสื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพยนตร์สั้นโครงการ 'จิตอาสาพลังแผ่นดิน : ทำดี ทำได้ทุกวัน เริ่มต้นวันนี้' ภาพยนตร์เรื่องนี้หยิบเอาความฝันของเด็กผู้ชายเกือบทุกคนบนโลก ที่ครั้งหนึ่งต้องเคยฝันอยากเป็น Superhero ผ่านการเดินเรื่องโดยตัวละครหลัก 'ด.ช.เล็ก' ที่เชื่อมั่นว่าตัวเขาเองมีพลังดั่ง Superhero และด้วยความเชื่อนี้เอง ได้พาให้เล็กต้องไปพบเจอกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ท้าทายและสั่นคลอนความเชื่อมั่นในพลังของตัวเองจนเกือบถอดใจ แต่แล้วท้ายสุด เล็กก็ได้คำตอบให้กับตัวเองว่า แท้จริงแล้วพลังเล็ก ๆ ของเขานั้นมีคุณค่าและมีความหมายอย่างไร
ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน
เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น
ความฝันความหวังความสุขของเด็กเมืองขอนแก่น
เอกสารสรุปการจัดกิจกรรมในโครงการ ปฏิบัติการเปลี่ยนเมือง ภาคอีสาน ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นภายใต้ชื่อกิจกรรม 'โครงการ 4 ป. ภูมิใจไทอีสาน (ปลุก ปรับ เปลี่ยน ปลื้ม)' เนื้อหากิจกรรมเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนใน 3 พื้นที่คือ สถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น, ชุมชนเทพารักษ์ ริมทางรถไฟในเขตเทศบาลนครขอนแก่น, ชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น นำเสนอความคิดภายใต้แนวคิด 'ความสุข ความฝัน และความหวัง' ว่าลึก ๆ แล้วแท้จริงเด็ก ๆ ต้องการอะไร โดยผลที่ได้ออกมานั้น เด็ก ๆ ในแต่ละพื้นที่ต่างสะท้อนมุมมองออกมาตามบริบทสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของตัวเองได้อย่างน่าสนใจ เป็นข้อมูลที่ส่งต่อให้ผู้ใหญ่ได้นำไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์เด็กและเยาวชนให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 10
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 10 "ทุกคนมีสิ่งที่พิเศษบางอย่างที่เรียกว่า ศาสนาของข้าพเจ้า อะไรคือศานาของเขา ศาสนาที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของเขา และสร้างเขาอย่างต่อเนื่อง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 – 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 - 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 8
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 8 "เมื่ออยู่ในชนบทข้าพเจ้าพยายามตลอดเวลาที่จะเรียนรู้ไปในรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด งานของข้าพเจ้าทำให้ต้องเดินทางไกลจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง จากศิลัยดาถึงหมู่บ้านปักติษา ผ่านแม่น้ำน้อยใหญ่และข้ามหนองน้ำ ด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าได้เห็นชีวิตในหมู่บ้านทุกด้าน ข้านเจ้ากระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจกิจวัตรประจำวันในหมู่บ้าน ความเป็นมาของชีวิตในหมู่บ้านที่สำคัญและน่าสนใจ ไม่นานนักก็เห็นความทุกข์ยาก โศกเศร้าของพวกเขาชัดเจน แล้วรู้สึกอดร้นทดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้ามันน่าละลายที่จะใช้ชีวิตแบบเจ้าที่ดิน สนใจแต่เรื่องหาเงิน และหมกมุ่นอยู่กับกำไรขาดทุนของตนเอง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 - 1941