คุณเคย Bully คนเหล่านี้หรือเปล่า
เพราะการมองใครแค่เปลือก คงไม่ได้ทำให้เรารู้จักเขาจริงๆ หลายครั้งที่เรามักชอบตัดสินคนจากการสบตาแค่ไม่กี่วินาที คงจะดีถ้าคนในสังคมจะได้รู้จักและเข้าใจกันที่ข้างในจริงๆ วันนี้เราเลยพาคนที่มักจะถูกสังคมตัดสินอย่างเช่น เด็กช่างกล ผู้หญิงกลางคืน เพศที่สาม คนสักเต็มตัว ฯลฯ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม โดยที่พวกเขา ต่างก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขา ได้เปิดเผยตัวเองให้ทุกคนได้เห็น... รู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกก็ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับเราน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นอาจเป็นเพราะเรามองโลก มองคนรอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราจะ "ตัดสิน" ผู้คนที่เราพบเจอเร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ดู "แตกต่าง" ไปจากเรา และหลายครั้งมันก็ทำให้เราตกอยู่ภายใต้ความกังวล ความกลัว รู้สึกแปลกแยก ไปจนถึงสร้างความขัดแย้ง และทำให้"ความสุข" ของเราลดลง การด่วนตัดสิน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรับฟังกัน พลาดโอกาสที่จะเข้าใจกัน และพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้าม การไม่ด่วนตัดสิน ทำให้เราสามารถรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง (deep listening) และมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ .... ไม่ด่วนตัดสิน รู้เท่าทันความคิดตนเอง สามารถฟังคนรอบข้างดัวยหัวใจ รับฟังอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสุขมากขึ้น
ความสุขของคุณ คืออะไร
ความสุขที่แท้จริงของคนเราคือ อะไร? คุณกำลังมีความสุขอยู่จริง ๆ ใช่ไหม? คลิปวิดีโอชิ้นนี้ชวนให้เรามาสำรวจและตั้งคำถามถึงความสุขของเรา อีกทั้งเป้าหมายชีวิตที่แท้จริงของทุกคนว่าที่จริงแล้วเรากำลังวิ่งตามอะไรอยู่และสิ่งที่เรากำลังทำ ใช่ความสุขที่แท้จริงหรือความสุขของเรานั้นที่จริงได้ทำร้ายทั้งตัวเรา สังคม คนคนรอบข้างและคนที่เรารักในทางอ้อมหรือไม่ เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเอง พิจารณาทุกสิ่งอย่างรอบคอบและใช้ชีวิตอย่างมีสติ
Happy Ambassador สร้างผลประกอบการความสุข สร้างความยั่งยืนในองค์กร
หลักสูตรที่สร้างการเปลี่ยนแปลงผู้คน ด้วยทักษะ Life Coaching เพื่อส่งต่อความสุขให้เกิดขึ้นในองค์กร สังคม ชุมชน Happy Ambassador เกิดขึ้นจากความร่วมมือความร่วมมือ Jimi The Coach โดย โค้ชจิมมี่ พจนารถ ซีบังเกิด กับธนาคารจิตอาสา จัดหลักสูตรอบรมหลักสูตร "ไลฟ์โค้ช เพื่อสุขภาวะ" ภายใต้โครงการ "จิตอาสาพลังแผ่นดิน" ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ #สสส. เพื่อส่งเสริมงานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และงานพัฒนาบุคลากร (HRD) ขององค์กรและบริษัท ที่มุ่งหวังให้เกิดความสุขด้วยทักษะ Life Coach สู่สังคมในวงกว้าง
Happiness Calendar ปฏิทินความสุข
ปฏิทินความสุข “Happiness Calendar” เครื่องมือที่จะให้คุณคิดทบทวนความรู้สึกในแต่ละวันของคุณว่าเป็นอย่างไร เรามีอความสุขเพราะอะไร เราทุกข์เพราะเหตุใด จากหลักคิดแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ในกัน” (Naikan) หมายถึง การได้หยุดสำรวจจิตใจ ทบทวนตัวเองในแต่ละวัน เพื่อให้ได้รู้จักและเข้าใจตัวเอง จะได้อยู่กับปัจจุบันและวันพรุ่งนี้ได้ดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น ... “ในกัน” สามารถทำได้หลายวิธี และหนึ่งในนั้นก็คือ การระบายสีใน ปฏิทินความสุข “Happiness Calendar” ซึ่งจะช่วยให้คุณได้สำรวจจิตใจตัวเอง ประมวลผลด้วย "สีสัน" ของจิตใจในแต่ละวันลงไป ปฏิทินความสุข Happiness Calendar นี้ ดาวน์โหลดปฏิทินขนาดใหญ่ A1 http://bit.ly/2AROosB ดาวน์โหลดปฏิทินขนาด A4 ต่อกัน 4 แผ่น https://bit.ly/2Jg4pi4 คู่มือแนะนำการใช้ http://bit.ly/2AROsZn ขอให้ทุกคนมีความสุข ด้วยความปรารถนาดีจาก ความสุขประเทศไทย www.happinessisthailand.com และ www.facebook.com/happinessisthailand
เปิดบัญชีออมเวลา รับดอกเบี้ยความสุข กับธนาคารจิตอาสา
ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของมนุษย์คือ เวลา เพราะเมื่อเราเสียเวลาไป เราไม่สามารถที่จะหาเวลาจากที่ไหนมาทดแทนได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องมีการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เพื่อคนที่เรารัก เพื่องานที่เราชอบ และเพื่อความสุขของเรา และที่สำคัญ หากเวลานั้น สามารถออมไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ และแบ่งปันให้ผู้อื่น ย่อมทำให้เวลาทุกนาทีของเรามีคุณค่ายิ่งขึ้น ธนาคารจิตอาสาขอชวนคนไทยและผู้มีจิตอาสาทุกคน เปิดบัญชีออมเวลา ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตของเรา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือกันและกัน แล้วเราจะสัมผัสได้ว่า เวลาของเราทวีค่ายิ่งขึ้น และได้รับดอกเบี้ยงาม ๆ คือ ความสุข อิ่มเอม จากการเป็นผู้ให้ ...”สังคมที่ดี เริ่มจากการสละเวลาเพื่อผู้อื่น”... สมาชิกธนาคารจิตอาสา สามารถบันทึกดอกเบี้ย ซึ่งก็คือเรื่องราวดีๆ ที่คุณได้ใช้เวลา เพื่อความสุขมวลรวมในสังคมของเรา สังคมที่ดี เริ่มจากการ สละเวลาเพื่อคนอื่น ธนาคารจิตอาสา #ปันเวลาแชร์ความสุข ใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขมวลรวมร่วมกัน ได้ที่ https://www.jitarsabank.com ร่วมเป็นสมาชิกสังคมออนไลน์ของธนาคารจิตอาสา https://www.facebook.com/JitArsaBank/
วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค
การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้ เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”
วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย
หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ
วิชาชีวิต ตอน เตรียมนับวัน : หนุ่มเมืองจันท์ ชวนเตรียมตัวสำหรับชีวิตระยะท้าย
คุณคิดว่าเวลาเกิด และเวลาตายอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เวลาเกิดเราสามารถกำหนด และรู้วันเวลาเกิดได้ แต่จะมีสักกี่คนที่กำหนดเวลาตายที่แน่นอนได้ บางคนเมื่อเวลาที่จะจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้ามาถึง คนไข้และญาติๆ เอง บางก็กลัว บางก็เครียด และรู้สึกกังวลค้างคาใจ หนุ่มเมืองจันท์ นักคิด-นักเขียน และ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล ผู้นำศาสตร์บำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยพลังกอด ได้ร่วมพูดคุยเพื่อมอบกุญแจดอกสำคัญในการเรียนรู้ เข้าใจ และเตรียมตัวนับวันที่จะเดินทางในปั้นปลายของชีวิตไปสู่บ้านแห่งความสงบอย่างอิ่มเอม
วิชาชีวิต ตอน เตรียมประคับประคอง : การต่อสู้ระหว่าง ความรัก กับ ความรัก เปิดใจถามโดยดีเจพี่อ้อย
จากประสบการณ์การรักษาทางการแพทย์ คนเราจะรู้ตัวว่าจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ประมาณ 3 เดือนก่อนช่วงสุดท้าย ทีมผู้ดูแลต้องเรียนนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วย “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” การดูแลแบบนี้เป็นการมอบความสุขสุดท้ายของชีวิตให้ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การรักษาทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิต จิตใจ และความต้องการที่ค้างคาใจของผู้จากลาให้จากไปอย่างสงบในชีวิตจริง ๆ ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข หรือ Living Will เพื่อต้องการวางแผน “ตายดี” ไม่ต้องการทุกข์ทรมาน ดังนั้น ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ต้องเรียนรู้ และหารือพุดคุยกัน เพื่อการเตรียมประคับประคองการต่อสู้กันระหว่าง “ความรัก “ ความห่วงใยที่ไม่อยากให้คนที่รักเจ็บปวด กับ “ความรัก” ความอาลัยที่ไม่อยากจากคนที่รัก
วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict
เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส
”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่ สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม
วิชาชีวิต ตอน เตรียมพูด : ดังตฤณ นักเขียนหนังสือธรรมะชื่อดัง ชวนสร้างความเข้าใจเรื่องการเตรียมตัวตายดี
ตามความเชื่อของคนแถบเอเชียส่วนใหญ่ คิดว่าการพูดเรื่องความตาย เป็นสิ่งอัปมงคล แต่แท้จริงแล้ว “การเตรียมพูด” หรือการรสื่อสารเรื่องนี้ เป็นการวางแผนคุณภาพชีวิตอีกทางหนึ่ง ที่ทั้งหมอ คนไข้ และญาติ ต้องเป็นทีมเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ “คนไข้หายป่วย” หรือ มีคุณภาพชีวิตปั้นปลายอย่างมีความสุข หมอเองก็ต้องมีการสื่อสารเพื่อการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดในระยะสุดท้าย ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ต้องสร้างพลังบวกเพื่อสร้างความสุขเล็ก ๆ ระหว่างทาง เช่น วันนี้ป้อนข้าวได้สำเร็จ วันนี้ทำให้ผู้ป่วยเดินได้หลายก้าว การพูดและการสื่อสารด้วยความรัก และความเข้าใจนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียวแบบโดดเดี่ยว