trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ความรู้" พบ 94 ข้อมูล

บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี

หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข”  ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี  สื่อดี  และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ  สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.    

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

บ้านสาวะภี สินไซโมเดล 2 เมืองวิถีสุข พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี

บทสรุปการดำเนินงานของโครงการสินไซโมเดลเมืองสามดีวิถีสุขปี 2 ผ่านกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมได้แก่ ค่าย, สัญจร, การแลกเปลี่ยน และการถอดบทเรียน โดยชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่นแห่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบเมือง 3 ดีของภาคอีสาน  (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) ที่เป็นพื้นที่กลางในการปฏิบัติงานของเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เรื่องราววรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นเรื่องเล่าของแผ่นดินล้านช้าง สามารถเชื่อมโยงคนทํางานสื่อพื้นบ้านจากหลากหลายสาขาในภาคอีสาน เข้ามาปฏิบัติการด้วยกันจนสําเร็จในปีแรก ด้วยสื่อหลากหลายชนิดทั้ง เพลงกล่อมลูก, กันตรึม, ทอผ้า, หมอลํา หุ่น, หนังตะลุง, เพลง และการสืบค้นภูมิบ้านภูมิเมืองของตนเอง วรรณกรรมสินไซ สามารถเป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางของชุมชนแห่งนี้ เป็นการการันตีในการเชื่อมประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน บ้าน วัด โรงเรียน

ไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย

สรุปเรื่องราวของโครงการไอดอลคิดดี สื่อดีมีไอเดีย กับการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ (Creative Communication for Health) พลังของ 30 ทีมคนรุ่นใหม่ที่ใช้พลังสื่อสร้างสรรค์ถ่ายทอดสิ่งดี ๆ สู่สังคมในมิติต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม และการสร้างเมือง 3 ดีวิถีสุข 

ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6

ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร  1915

เปิดโลกอ่านสร้างสุข จากโรงเรียนสู่ชุมชน สถานศึกษาต้นแบบ ชุมชนอ่านสร้างสุข

การอ่านเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสมอง ทำให้มีความคิดกว้างขวางขึ้นและมีทักษะการคิดเป็นขั้นตอน การปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมรักการอ่าน ควรเริ่มต้นที่ครอบครัว และขยายผลมาสู่โรงเรียน จากนั้นขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาต้นแบบ และในที่สุดก็สร้างเป็นชุมชนอ่านสร้างสุข ซึ่งนั่นคือ ที่มาของ “โครงการอ่านสร้างสุข” ที่เด็ก ๆ สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แทนการติดเกม เป็นการเปิดจินตนาการการเรียนรู้ที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างไม่จบสิ้นจากโลกการอ่าน

ปลูกต้นรัก (การอ่าน)

ปลูกต้นรัก(การอ่าน) เป็นหนังสือคู่มือแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับคุณครูและผู้ที่ทำงานด้านเด็ก เนื้อหาของหนังสือมาจากกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านระดับตำบลโครงการปลูกต้นรัก(การอ่าน) ที่เชียงดาว โดยกิจกรรมได้ออกแบบและพัฒนาทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 7 โรงเรียน ได้หลักสูตรการสร้างสื่อสร้างสรรค์ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน ทำให้การอ่านกลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และมีความสุขสำหรับเด็ก ๆ 

เล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข

เพราะการเล่นเป็น 1 ในกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างสมวัย หนังสือเล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นคู่มือที่ใช้สำหรับบอกแนวทางปฏิบัติในการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างพื้นที่เล่นสำหรับเด็กให้กับผู้ที่ทำงานด้านเด็ก โดยเรียบเรียงเนื้อหามาจากประสบการณ์จริงในการทำงานร่วมกับงานวิจัยของต่างประเทศ ผ่านการนำมาปรับปรุงและทดลองใช้โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) เนื้อหาประกอบไปด้วยภาพรวมการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็ก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเล่น การพัฒนาพื้นที่เล่น การมีส่วนร่วมในการเล่น ตลอดจนถึงเทคนิคการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเล่นอย่างเป็นรูปธรรม

เพาะพันธุ์สารคดีใหม่ในจอตู้

ในยุคที่สื่อมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและมีความง่ายต่อการเข้าถึง  ผู้ผลิตรายการสารคดีที่ดีจึงควรมีความรอบคอบและตระหนักถึงข้อเท็จจริงในการนำเสนอว่าผู้ชมได้รับประโยชน์หรือเรียนรู้อะไรบ้าง รวมถึงมีเทคนิคและความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อให้น่าสนใจ สมุดบันทึกเรื่องราวในโครงการเติมไฟประกายฝัน “คู่มือการผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์ของคนรุ่นใหม่” มิใช่เพียงแค่ตัวอักษร กระดาษ ภาพวาด แต่คือ ชีวิตและวิญญาณแห่งความฝันของใครหลายๆ คนที่ร่วมก้าวเดินไปในเส้นทางการผลิตรายการสารคดีโทรทัศน์สำหรับเยาวชนและครอบครัว โดยมีรุ่นพี่มืออาชีพเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อเปิดหัวใจรับรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสานต่อให้โลกนี้มีสื่อสีขาวเพื่อเยาวชนของเรา

MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย

หนังสือรวบรวมกรอบความคิดเรื่องของการจัดการความรู้เท่าทันสื่อสำหรับปฐมวัย ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเด็กระดับปฐมวัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ โดยเนื้อหารวบรวมค้นคว้ามาจากทั้งงานวิจัย เกร็ดความรู้ และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มองประเด็นนี้ได้อย่างรอบด้าน และนำไปประยุกต์สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป

ช่วยเด็กสร้างโลก

คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัย 3-5 ปี เหมาะสำหรับเป็นตัวอย่างให้คุณครู คุณพ่อคุณแม่ และผู้ที่ทำงานด้านเด็กได้นำไปทดลอง ประยุกต์ ต่อยอดใช้ในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กในวัยนี้ เนื้อหาของกิจกรรมแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามเป้าหมายคุณลักษณะทางด้านจิตใจที่ผู้ใหญ่อยากบ่มเพาะและเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ระเบียบวินัย สันติ จิตสาธารณะ การเคารพความแตกต่าง ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ การจัดการอารมณ์ของตัวเอง การรักในเพือนมนุษย์ แบ่งปัน และสร้างสรรค์ โดยแต่ละคุณลักษณะประกอบไปด้วยตัวอย่างกิจกรรม 3 กิจกรรม เพื่อเป็นการหนุนเสริม สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ใหญ่ได้ช่วยกันสร้างโลกที่น่าอยู่และมั่นคงให้เกิดขึ้นในใจของเด็ก ๆ ผู้ที่จะเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพในสังคมโลก

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.