Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "คน" พบ 112 ข้อมูล

จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง

ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี  โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ

“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้  และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่”  ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่

Flok Rice พันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ที่เกิดจากริเริ่มจากการ “อกหัก”  ขออนุกูล ทรายเพชร อดีตเด็กวัด ที่เกิดมาเป็นลูกชายของชาวนา แต่กลับบอกแม่ให้ขายที่นา เพื่อส่งตนเองรียนวิศวกรรมศาตร์ สายอินเตอร์ฯ แต่สุดท้ายก็ไม่ปลื้มจนกระทั่งมาสอบเข้าศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้าน area studies ที่คณะสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาอนุภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   หลังจากจบการศึกษามีความรู้สึก “ดาวน์และดาร์ก” ด้วยบาดแผลจากระบบการศึกษา จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเช่าที่นาเพื่อปลุกข้าวอินทรีย์ และทำการตลาดผ่านออนไลน์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Flok Rice”  ที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มความโดดเด่นด้วยการหุงข้าวให้ชิมหลากหลายสายพันธุ์ ..ปัจจุบัน“Flok Rice” มีออเดอร์หลักพันตัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

คุณเคย Bully คนเหล่านี้หรือเปล่า

เพราะการมองใครแค่เปลือก คงไม่ได้ทำให้เรารู้จักเขาจริงๆ หลายครั้งที่เรามักชอบตัดสินคนจากการสบตาแค่ไม่กี่วินาที คงจะดีถ้าคนในสังคมจะได้รู้จักและเข้าใจกันที่ข้างในจริงๆ  วันนี้เราเลยพาคนที่มักจะถูกสังคมตัดสินอย่างเช่น เด็กช่างกล ผู้หญิงกลางคืน เพศที่สาม คนสักเต็มตัว ฯลฯ มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม โดยที่พวกเขา ต่างก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพวกเขา ได้เปิดเผยตัวเองให้ทุกคนได้เห็น...  รู้สึกบ้างไหมว่า เมื่อเราเติบโตขึ้น โลกก็ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับเราน้อยลงเรื่อย ๆ นั่นอาจเป็นเพราะเรามองโลก มองคนรอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น เราจะ "ตัดสิน" ผู้คนที่เราพบเจอเร็วขึ้น โดยเฉพาะคนที่ดู "แตกต่าง" ไปจากเรา และหลายครั้งมันก็ทำให้เราตกอยู่ภายใต้ความกังวล ความกลัว รู้สึกแปลกแยก ไปจนถึงสร้างความขัดแย้ง และทำให้"ความสุข" ของเราลดลง การด่วนตัดสิน ทำให้เราพลาดโอกาสที่จะรับฟังกัน พลาดโอกาสที่จะเข้าใจกัน และพลาดโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้าม การไม่ด่วนตัดสิน ทำให้เราสามารถรับฟังผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง (deep listening) และมีความสุขมากขึ้นได้อย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ .... ไม่ด่วนตัดสิน รู้เท่าทันความคิดตนเอง สามารถฟังคนรอบข้างดัวยหัวใจ รับฟังอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเข้าใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และมีความสุขมากขึ้น

จิตอาสาพลังแผ่นดิน CSR พัฒนาคน พัฒนาทีม พัฒนาประเทศ

โครงการที่มีแนวคิดเพื่อการยกระดับงาน CSR ขององค์กรให้มีมิติเสริมด้านพัฒนาศักยภาพของบุคลากร หรือ HRD ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากร และสร้างผลประกอบการความสุขร่วมกันในองค์กร และมีแนวคิดที่จะทำให้งาน CSR ตอบโจทย์ทั้งในมิติของการเพิ่มคุณค่าของงาน องค์กรก้าวหน้า และสังคมได้รับประโยชน์จากการทำงาน CSR อย่างแท้จริง ด้วยการออกไปร่วมเป็นจิตอาสาพัฒนาประเทศ ในการสร้างกิจกรรมช่วยเหลือสังคม โดยใช้องค์ความรู้และความสามารถของตัวบุคคลที่มีอยู่เป็นเครื่องมือ นอกจากจะได้ช่วยพัฒนาสังคมและสร้างพลังบวกให้แก่ตัวบุคคลแล้ว ยังเป็นเป็นการพัฒนาทีม พัฒนาคนให้เห็นคุณค่าในงานที่ทำ อีกทั้งยังเป็นการสร้างมิตรภาพที่ดีในองค์กรและคนในสังคม

เปิดโลกอาสา : ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด

   คุณรู้จัก “จิตอาสา” มากน้อยแค่ไหน งานจิตอาสามีหลากหลายรูปแบบ ธนาคารจิตอาสา ร่วมกับ เพื่อนๆ จิตอาสา ชวนทุกคน ...เลือกเวลาที่ใช่ กับกิจกรรมที่ชอบ...ทำกิจกรรม เปิดโลกอาสา กับ โครงการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด โดย ชมรมอาสาเพื่อนคนตาบอด  หนึ่งในกิจกรรมจิตอาสา ที่มีคุณค่าทางจิตใจให้กับผู้มาร่วมทำกิจกรรมอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด ด้วยประโยชน์ของการอ่านที่เมื่อใดที่เราอ่านจะจุดประกายความคิด และก่อเกิดความรู้ต่อผู้อ่านแล้ว ทว่าสิ่งที่เราอ่านกลับเป็นเสียงที่ต่อยอดความรู้ ความสามารถ และเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ คนตาบอด นั้นคือที่สุดของคุณค่าทางจิตใจอย่างแท้จริง          

คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง

คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน”  หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง

การดูแลอย่างมีความหมายและคำบอกลาสุดท้าย เมื่อคนที่เรารักเดินมาถึงปลายทางของชีวิต

Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson    การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมื่อพวกเขาเดินทางมาใกล้ถึงปลายทางแห่งชีวิต และไม่มีสิ่งใดมาหยุดสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่สุดอย่างความตายได้ เราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะมาส่งเขาได้อย่างนุ่มนวลและทำให้การบอกลาครั้งนี้มีค่าที่สุด  

ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย - ทำไมคนป่วยหนักหรือในภาวะใกล้ตายจึงเกิดภาพหลอน

บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด  

ภาริอร วัชรศิริ - สักวันเราทุกคนจะต้องเข้าสู่ลูปของการดูแลผู้ป่วยอันยาวนาน จนกว่าจะถึงวันที่เขาจากไป

บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว  

วิชาชีวิต บทที่ 12 เทคนิคการดูแลผู้ป่วย -ดร.ปานตา อภิรักษ์นภานนท์

ผู้ป่วยเรื้อรังที่ติดเตียงหรือระยะท้ายต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อนในมิติของกายและใจ ในแบบเฉพาะ เกร็ดความรู้ในคลิปนี้จะช่วยเป็นแนวทางและเสริมความเข้าใจให้กับผู้ดูแลและผู้ต้องการเตรียมตัวยามที่ตนเองเจ็บป่วย เช่น ไม่อยากอาหาร การทำ Ice Saladsเมื่อกระหายน้ำ อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ถ่ายเหลว การทำความสะอาดดวงตา จมูก ปาก หู การทาแป้ง การทาโลชั่น การดูแลเกิดแผลกดทับ การหายใจอ้าปาก หายใจลำบาก การนอนไม่หลับ อาการหงุดหงิดสับสน ช่วงเวลาการบอกลา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.