Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "กิน" พบ 102 ข้อมูล

รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก

นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้

อ่านฉลาก อย่างฉลาด

หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด

รวมของกินดี เอาที่สบายใจ

ถ้าเกิดหิวขึ้นมาในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องแวะร้านสะดวกซื้อ ก็ใช่ว่าเราจะไร้ทางเลือกในการ ‘กินดี’ ลองตั้งใจสอดส่องให้ดีว่าอาหารอะไรบ้างที่มีคุณสมบัติดังนี้ ไม่ผ่านการแปรรูป หรือแปรรูปน้อยที่สุด เลือกวิธีการปรุงแบบนึ่ง ต้ม หรืออบ หลีกเลี่ยงของทอด อ่านฉลากเบื้องต้น หลีกเลี่ยงอาหารที่น้ำตาลสูง โซเดียมสูง หรือไขมันสูง ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ถ้าเลือกและเลี่ยงได้ตามนี้ สบายใจได้ระดับนึงว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ถามหาแน่นอน

อาหารการกิน

นิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ รวบรวมผลงานสารคดีจำนวน 12 เรื่อง และ สารคดีภาพอีก 2 เรื่อง ภายใต้ประเด็น 'อาหารการกิน จากปากท้องถึงการปกป้องโลก' อันเป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนจากค่ายสารคดีครั้งที่ 12 สะท้อนมุมมองแนวคิดอาหารที่มากกว่าการกินเพื่ออิ่มท้อง แต่ยังหมายถึงภาพสะท้อนของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ไปจนถึงกระทั่งแนวคิดของสังคมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

คนเจ้าน้ำตาล หยุดดราม่าด้วยการบริโภคน้ำตาลอย่างพอดี

ใครจะรู้ว่า...บางทีอาการทางกายที่เราเป็นอยู่ ซึมเศร้า หดหู่ ฟันผุ กระดูกเปราะ ฯลฯ อาจเกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินไปก็ได้ ถ้าไม่อยากให้อาการดราม่าจากน้ำตาลร้ายเหล่านี้ทำร้ายเรา ลองใช้เคล็ดลับง่าย ๆ จากอินโฟกราฟิกนี้ ค่อย ๆ ลดน้ำตาลกัน

เย็นนี้กินยังไงดี

มื้อเย็นเป็นมื้อที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันว่าเป็นมื้อที่ต้องอิ่ม ต้องอร่อย ต้องบุฟเฟต์ หรือต้องฉลอง! ทำให้เผลอกินมื้อเย็นแบบทำร้ายสุขภาพกันโดยไม่รู้ตัว เพราะแท้จริงแล้ว มื้อเย็นควรเป็นอาหารมื้อเบาๆ ย่อยง่ายๆ เลี่ยงเมนูเนื้อแดง แป้งขัดขาว ขนมหวานน้ำตาลสูง หรือเมนูแซ่บๆ เพราะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก อีกทั้งยังมีความเข้าใจผิด ๆ อีกมาก อินโฟกราฟิกชิ้นนี้จะบอกเคล็ดลับและทำความเข้าใจกับผู้บริโภคว่า มื้อเย็นไม่ใช่แค่กินอะไรดี? แต่ต้องคิดว่า 'มื้อเย็นต้องกินยังไงให้ดี

เลขเด็ด (จำให้) แม่นๆ

เผย 4 ชุดเลขเด็ดเพื่อสุขภาพที่ดีได้แบบไม่ต้องพึ่งดวง ชุดที่ 1 ลด หวาน มันเค็ม เลขที่ต้องจำคือ 661 คือน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา ไขมันไม่เกิน 6 ช้อนชา เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา ชุดที่ 2 หุ่นสวย ด้วยเลข 211 คือ กินผัก 2 ส่วน แป้ง 1 ส่วน โปรตีน 1 ส่วน ชุดที่ 3 ดูน้ำตาลในฉลากอาหารสำเร็จรูป ต้อง 46 คือ ปริมาณน้ำตาลข้างกล่องหารด้วย 4 แล้วไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และชุดที่ 4 ออกกำลังกายนี้แหละดี ตัวเลขเด็ด 305 คือ ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 5 วัน

นักลงพุงมีความเสี่ยง

คนอ้วน หรือ คนที่มีพุงมาก มีความเสี่ยงทั้งโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโรคมะเร็งต่าง ๆ อีกทั้งยังมีความผิดปกติของฮอร์โมนทำให้มีบุตรยาก  ดังนั้น เราจึงควรหันมาลดพุง ลดโรค ด้วยการกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ ลดของผัด ของทอด เน้นผักและผลไม้ ลดของหวาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

กินผักกับน้ำพริกสิจ๊ะ

กินผักกับน้ำพริกช่วยต้านโรคกลุ่ม NCDs เพราะในน้ำพริกมีแคลเซียมสูง ช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดัน ส่วนในผักนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น ใบบัวบกลดความดัน ยอดสะเดาช่วยคุมเบาหวาน แตงกวา มะเขือ และกระเจี๊ยบ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งขมิ้นยังช่วยป้องกันหลอดเลือดเสื่อม

มิกซ์แอนด์แมตช์ ผักผลไม้ให้ครบโดส

ในแต่ละวันเราควรจะต้องกินผักและผลไม้ให้ครบปริมาณ 400 กรัม จึงจะเพียงพอและเกิดผลดีต่อสุขภาพ เริ่มต้นง่าย ๆ อย่างน้อยเพียงกินผัก 3 อย่างกับผลไม้ 2 อย่าง สุขภาพก็ดี ร่างกายก็แข็งแรง

กินเท่าไหร่ ออก (กำลัง) กายเท่านั้น

ยิ่งเรากินอาหารเข้าไปมากเท่าไร เพื่อสุขภาพที่ดี เราก็ควรออกกำลังกายเพื่อเบิร์นออกเท่านั้น ตัวอย่างเช่น กาแฟ 1 แก้วมี 115 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 1.8 กิโลเมตร โจ๊กหมู 1 ชามมี 253 กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 4.1 กิโลเมตร  ข้าวขาหมู 1 จานมี 438  กิโลแคลอรี่ ต้องวิ่งออกกำลัง 7 กิโลเมตร  แต่ถ้าเป็นแตงโม 1 ถุงมี 8 กิโลแคลอรี่วิ่งออกกำลังแค่ 0.5  กิโลเมตรเท่านั้นเอง

กินผักผลไม้เยอะๆ แต่ไม่รู้ต้องเยอะแค่ไหน

ในแต่ละวันเราต้องกินผักและผลไม้ให้ได้ 400 กรัมขึ้นไป โดยมีวิธีการคำนวณปริมาณการกินที่เหมาะสมคือ ในจานอาหารของเราต่อ  1 วัน ให้มีผัก 4-6 ส่วน ซึ่ง 1 ส่วนของผักเท่ากับ 1 ทัพพี ส่วนผลไม้ ให้มี 1-2 ส่วน โดยให้เป็นผลไม้ที่หลากหลาย ไม่ควรเป็นผลไม้รสหวานมาก 1 ส่วนของผลไม้ ถ้าเป็นสตรอเบอรี่ องุ่น ให้มี 8-10 ลูก  ถ้าเป็นกลุ่มกล้วย ส้ม แค่ 1 ลูกพอ  ส่วนผลไม้ใหญ่ เช่น แตงโม มะละกอ สับปะรด ให้กิน 6-8 ชิ้น  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.