คู่มือชีวามิตร EP.6 ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาลผู้ป่วย
เมื่อความเจ็บป่วยระยะท้ายดำเนินมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือความสามารถในการดูแลตัวเอง เรามักพบว่ามีปัญหาทางด้านกฎหมายเกิดขึ้น เป็นประเด็นขัดแย้ง หรือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัวได้เสมอ นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นทางกฎหมายในการตั้งผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลผู้ป่วย ว่ามีความแตกต่าง กันอย่างไร ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 6 ผู้พิทักษ์-ผู้อนุบาลผู้ป่วย” เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตระยะท้ายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อการจากลาอย่างสุขสงบ ไม่มีสิ่งค้างคาในใจ
คู่มือชีวามิตร EP.5 ความปรารถนาที่แท้จริง
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ทุกคนต้องการการดูแลรักษาที่ทรมานน้อยที่สุด ไม่เป็นภาระให้คนรอบข้างและจากไปอย่างมีคุณภาพ หนังสือ “ความปรารถนาที่แท้จริง” เป็นการแนะนำการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในวาระสุดท้ายของชีวิตและการทำ Living will ที่เป็นตัวช่วยในวันที่ผู้ป่วยสื่อสารไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจเจตนาในการเลือกวิธีการรักษาที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วยจริง ๆ เพราะการทำตามเจตนาของผู้ป่วยนอกจากจะเป็นการลดความทุกข์ใจของผู้ดูแลที่ต้องตัดสินใจแล้ว ยังถือเป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุด ที่ตรงตามความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ที่จากไป มาเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้จากคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 5 ความปรารถนาที่แท้จริง” เพื่อให้การวางแผนในชีวิตระยะท้ายมีคุณภาพ พร้อมจากไปแบบทุกข์ทรมานน้อยที่สุดอย่างที่ตั้งใจ
คู่มือชีวามิตร EP.4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย
เชื่อว่ามีหลายคนที่ตั้งคำถามกับตัวเอง ว่าเราจะเตรียมพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตบั้นปลายโดยเฉพาะการดูแลรักษาด้านสุขภาพอย่างไร “จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” คลิปวิดีโอที่จะแนะนำถึงสิ่งสำคัญ ในเรื่องการวางแผนทางการเงิน สิทธิขั้นพื้นฐาน สวัสดิการต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลและหนังสือมอบอำนาจต่าง ๆ ให้เราได้เรียนรู้การวางแผนและเตรียมตัว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี มาเรียนรู้การวางแผนทางการเงินเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายที่ดี ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 4 จัดกระเป๋าครั้งสุดท้าย” เพื่อเตรียมพร้อมจัดกระเป๋าเดินทางสู่ลมหายใจสุดท้าย ด้วยความสบายใจและหมดห่วง
คู่มือชีวามิตร EP.3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี
เมื่อความเจ็บป่วยดำเนินมาถึงระยะท้าย หลายคนมักคิดว่าเป็นข่าวร้ายและไม่สามารถบอกความจริงกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมาได้ “ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” จะช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองการแจ้งความจริงกับผู้ป่วย พร้อมเรียนรู้เทคนิคขั้นตอนการแจ้งความจริงและวิธีรับมือกับปฏิกิริยาต่อความโศกเศร้าของผู้ป่วย การแจ้งความจริงกับผู้ป่วยเท่ากับเป็นการปลดล็อคและบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาสำรวจความต้องการของตัวเองและวางแผนจัดการสิ่งเหล่านั้น มาเรียนรู้เทคนิคการแจ้งข่าวร้ายด้วยกัน ในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 3 ข่าวร้ายที่กลายเป็นดี” แล้วคุณจะรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรื่องร้ายเสมอไป แต่กลับช่วยปลดล็อคและ ลดความทุกข์ให้กับคนที่ เรารักได้เช่นกัน
คู่มือชีวามิตร EP.2 ร่างกายกำลังบอกลา
ชุดความรู้ที่อธิบายอาการภาพรวมในผู้ป่วยในภาวะใกล้เสียชีวิตและคำแนะนำความรู้ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้ป่วย เพื่อให้เราดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีและคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายเป็นหลัก ไม่ยัดเหยียดการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ในระยะท้ายของชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเป็นการสร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยระยะท้ายมากขึ้น มาหาคำตอบกันในคลิปวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข ตอนที่ 2 ร่างกายกำลังบอกลา: สรีระวิทยาภาวะใกล้เสียชีวิต”
คู่มือชีวามิตร EP.1 ทางเลือกที่เลือกได้
เมื่อมีคนเจ็บป่วยในครอบครัว แน่นอนว่าทุกคนอยาก “รักษาให้ถึงที่สุด” แต่ถ้าความเจ็บป่วยเดินทางมถึงระยะสุดท้าย เราควรเลือกการรักษาแบบไหนดี? เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างและยื้อความเจ็บปวดให้ยาวนานยิ่งขึ้น “ทางเลือกที่เลือกได้” คู่มือที่ช่วยแนะนำให้เราตระหนักถึงทางเลือกในการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและยังเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและความสุขให้แก่ผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อให้คนที่เรารัก “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
Trailer ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข
ความเจ็บป่วย ความชรา และช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต เป็นธรรมชาติที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ มาร่วมเรียนรู้ไปกับคลิปวิดีโอ “คู่มือชีวามิตร: ลมหายใจสุดท้ายที่เป็นสุข” ทั้ง 12 ตอน ที่จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของการ “อยู่อย่างมีความหมาย จากไปอย่างมีความสุข สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ได้อย่างลึกซึ้งและเป็นจริง
อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2559
“บางครั้งความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ก็เป็นความจริงที่สามารถพาเราออกจากทุกข์ได้ เมื่อเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง” พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวไว้ เมื่อถอดบทเรียนการสูญเสียเสาหลัก และศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งประเทศและทั่วโลก ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คนไทยได้เรียนรู้ข้อคิดจากคุณงามความดีของพระองค์เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป
อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2558
“ทุกวันมีคนตาย ทุกความตายมีบทเรียน” เสมือนพระอาทิตย์เมื่อมีขึ้น ก็ต้องมีตกเป็นธรรมดาทุกวัน หลากหลายเหตุการณ์ของความตายที่ผ่านมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็น การละสังขารของหลวงพ่อคูณ, ความอลหม่านหลังการตายในเหตุระเบิดราชประสงค์, การฆ่าตัวตายของสิงห์ ประชาธิป มุสิกพงศ์, ความตายจากการอพยพลี้ภัยของชาวซีเรีย, งานศพอลังการของคุณนงนุช ตันสัจจา ผู้ก่อตั้งสวนนงนุช พัทยา และการจากไปอันธรรมดาของคุณประภัสสร เสวิกุล ล้วนมีบทเรียนให้เราได้มุมมอง และแง่คิด เพื่อมาย้อนคิด และทบทวนความจริงในความตายของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ตัวเรา
ฉลาดทำศพ
งานศพ เป็นงานที่ไม่เป็นมงคล และเมื่อจำเป็นต้องจัดก็จะไม่มีเวลาในการเตรียมตัวมากนัก หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรทำ และปริศนาธรรมที่จะได้รับจากงานศพ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้ที่จำเป็นต้องใช้ได้เกิดประโยชน์ เพราะแท้จริง งานศพ เป็นงานที่รำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แสดงถึงความกตัญญู ความรัก และเป็นการอำลาอาลัยครั้งสุดท้าย เพื่อชำระล้างสิ่งที่ค้างคาใจ
ปทานุกรมความตาย
ทุกวันที่คนเราคิดถึงแต่การใช้ชีวิตที่ดี แต่จะมีสักกี่คนที่มองไปยังปั้นปลายของชีวิต ว่าเราควรจะจากไปอย่างสงบหรือตายดีได้อย่างไร ? หนังสือ ปทานุกรมความตาย เป็นการรวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย ที่เราทุกคนสามารถศึกษาและวางแผนเพื่อเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อนำไปสู่การตายดี คือปลอดจากความทุกข์ทรมาน ความวิตกกังวล และความหวาดกลัว พร้อมที่จะเดินทางไปสู่โลกหน้าอย่างสงบสุข
Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย
บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ” ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย