trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "กา" พบ 1177 ข้อมูล

สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน

การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล  เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข  ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร  การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก  และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง

สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP2 New Normal ของใจที่ได้จากโรคโควิดคืออย่างไร

หลังวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่  หรือ New Normal  กันมากมาย แล้วเมื่อพูดถึง New Normal ของใจ  ทุกคนรู้ไหมว่าคืออะไร ?  การดูแลใจในรูปแบบของ New Normal คือการติด “เซนเซอร์ที่ใจ” ทำให้ใจมีการใคร่ครวญ ตอบสนองด้วยสติและปัญญา ไม่ทำอะไรรวดเร็วตามอารมณ์ ตามอัตโนมัติวูบไปวาปมา  New Normal ของใจต้องตระหนักรู้-ยอมรับ-กลับสู่ความจริง

สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP1 การยอมอย่างไม่มีเงื่อนไข คือการปล่อยวางที่แท้จริง

เชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราต้องมีการเผชิญกับสิ่งที่กังวลและหวาดกลัว  การต่อสู้ หรือวิ่งหนีความกลัวเหล่านั้นใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่ ?  รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ให้ข้อคิดกับทุกคนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต คือ “การยอมรับความจริงอย่างไท่มีเงื่อนไข คือการปล่อนวางอย่างแท้จริง เพื่อเรียกสติว่าเราจะลุกขึ้นสู้ใหม่อย่างไร เหมือนเราอยู่ในทะเล หากมีคลื่นมา ก็แค่ประคองตัวไปกับคลื่นนั้นให้ผ่านไปได้ เราไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คลื่นสงบ  

E-book ถอดบันทึก สุขสัญจรออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom

ช่วงวิกฤตโควิด -19 ระยะแรก มาตรการควบคุมโรคทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถดําเนินไปได้อย่าง ปกติ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ทํางานจากบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย กิจการ ห้างร้านต้องปิดลงชั่วคราว โครงการหรือกิจกรรมอบรม สัมมนาต่าง ๆ ถูกยกเลิก หรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยมี เภสัชกรหญิง ชรรินชร เสถียร ผู้ช่วยอาจารย์ประจําศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งเป็นสองช่วง ๆ ละ 4 ตอน ช่วงแรกเกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤต และช่วงที่สองเกี่ยวกับ ชีวิตวิถีใหม่ ในรูปแบบการบรรยายร่วมกับการตอบคําถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก

ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19

โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19

ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่แล้วมันโอเคจริงๆ หรือเปล่าสำหรับฉัน? ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ภาพรวมของโลก new normal การ์ดอย่าตก โควิดจะกลับมา การเงินส่วนตัว ความสัมพันธ์ในชีวิต การงานของเรา อาจส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงความเครียด สับสน วิตกกังวล ซึ่งหลายครั้งการหมกหมุ่นในอารมณ์และความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังซ้ำเติมเราให้อาการหนักขึ้น ความสุขประเทศไทยจึงได้ผลิต “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน” ที่เล่าถึงวิธีสร้าง “ภูมิคุ้มใจ” แบบง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ มีแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจให้กับตัวเราเอง สามารถรักษาใจให้โอเค ท่ามกลางสถานการณ์ที่ต่างๆ ที่ยังไม่โอเคเท่าไรนัก คู่มือฉบับนี้จะพาเราถามใจตัวเองว่ายังโอเคไหม พาไปดูสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มใจของเราบกพร่อง รวมถึงวิธีดูแลและสร้างภูมิคุ้มใจบางอย่าง เช่น ฮาวทูนับหนึ่งถึงห้า ล้างมือล้างใจ เป็นต้น

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน เรื่องราวของเพื่อนคู่หูนางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว เมื่อนางฟ้าน้อยได้เข้าร่วมกลุ่มโซเชียลมีเดียและเริ่มแชร์ภาพของแม่มดจิ๋ว ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เปลี่ยนไป นางฟ้าน้อยจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และแม่มดจิ๋วจะให้อภัยนางฟ้าน้อยหรือไม่ ติดตามได้จากวีดีโอนิทานเรื่องเลย..

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.