โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559
คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1915
ปลดล็อกสมองเด็กไทยด้วยขั้นบันไดการอ่าน
เจาะลึกถึงสมรรถภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก เปิดประเด็นปัญหาการศึกษาและวิชาการของเด็กไทยเป็นตัวฉุดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ แม้เราจะรู้ว่าการอ่านเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กไทยในด้านวิชาการ แต่จากสถิติกลับพบว่าเด็กไทยจำนวนมากยังอ่านหนังสือไม่ออก ใช้เวลาไปกับสื่ออื่น ๆ มากจนส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาการศึกษาและสุขภาวะด้านต่าง ๆ มากมาย ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องมาช่วยกันส่งเสริมเด็กไทยให้รัก 'การอ่าน' ปลดล็อกสมองเด็กไทยให้ฉลาดพร้อม ๆ กับมีสุขภาวะทางด้านอื่นที่ดีขึ้นด้วยไปพร้อมกัน
อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560
ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์
รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์
งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น
งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป
Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
LGBT กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ในมุมมองของ คุณครูนำโชค อุ่นเวียง ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในประเด็นเรื่อง LGBT หรือ ความหลากหลายทางเพศ กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันคนในกลุ่ม LGBT ได้รับการยอมรับทั้งทางอัตลักษณ์ ตัวตน ความสามารถและบทบาทหน้าที่ทางสังคมในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น
รายงานการศึกษา กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรกรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ต้องการแนวทางการแก้ไขที่เป็นกระบวนการที่ยั่งยืน งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกาา "กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กรณีศึกษาสภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย" เพื่อเป็นการถอดบทเรียนความสำเร็จตัวอย่างจากเกษตรกรในเครือข่ายที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ อันจะเป็นองค์ความรู้สำคัญในการต่อยอดเพื่อสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่ยั่งยืนต่อไป
รายงานการศึกษา เรื่องการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรจากปัญหาหนี้นอกระบบ
สถานการณ์การสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุหนึ่งเกิดจากปัญหาหนี้สินที่รุมเร้าเกษตรกรไทย งานวิจัยชิ้นนี้ของมูลนิธิไทชีวิตไท มุ่งเน้นที่จะหาคำตอบเชิงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นหนี้สินนอกระบบกับปัญหาการสูญเสียที่ดิน นอกจากนี้ยังเป็นการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นหนี้ของเกษตรกรพร้อมกับหาหนทางแก้ไขให้ได้ตรงจุดอย่างแท้จริง
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน