ไป (แบบ) ที่ชอบที่ชอบ ศึกษาข้อกฎหมายที่จะช่วยออกแบบฉากสุดท้ายของชีวิตได้ตามต้องการ
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lession บทความตอนแรกของซีรีส์ ‘Departure Guide’ ชวนคุณไปรู้จักกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตายดี ทั้งการเขียน Living Will และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องการกำหนดช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตได้อย่างที่ต้องการ
พีระพัฒน์ เหรียญประยูร - การจัดกระเป๋าเดินทางครั้งสุดท้าย ที่ลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้
คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ
The Last Life Lesson เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย
จากทอล์ค “วิชาชีวิตบทสุดท้าย” The Last Life Lesson เรื่อง ‘เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย’พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญการวางแผนการเงิน -- เราเองอยากจะมีความเป็นอยู่อย่างไรเมื่อเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต ? การเตรียมการทางการเงินเพียงพอหรือไม่ ? มีวิธีคำนวณอย่างไร ? เราอยากจะให้ญาติรอบตัวเข้ามาช่วยทำตามความต้องการนั้นอย่างไร ? จัดการเอกสารทางกฏหมายและวางแผนการเงินในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อเตรียมตัวในการออกเดินทางครั้งสุดท้าย
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง
เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป