การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563
COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น
ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม
รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน
ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
ผลของการใช้หนังสือนิทาน จ๊ะเอ๋ (ฉบับยาวี-ไทย) ที่มีต่อพัฒนาการของบุตรก่อนวัยเรียนและความสัมพันธ์ในครอบครัวตามบริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ได้ทำการวิจัยสำรวจผลของการใช้นิทานเรื่อง 'จ๊ะเอ๋' กับกลุ่มตัวอย่างจากโครงการแม่รุ่นใหม่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยผลวิจัยพบว่าผลของนิทานทำให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น มีการเล่นจ๊ะเอ๋ การกอดและบอกรักเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเด็กๆ ในช่วงปฐมวัยก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านอารมณ์แจ่มใส มีความสุข มีสมาธิจ้องตาและมองหน้าคุณแม่ได้ดีมากย่ิงขึ้นอีกด้วย
คู่มือ มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ
ในช่วงที่โลกของเรากำลังประสบภาวะวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่และมีมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาระยะห่างระหว่างกัน “มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” คู่มือที่รวบรวมสาระความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันสื่อและรับมือรูปแบบสื่อ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมไปถึงกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อวางแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม
รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี