ตูมตูม บานบาน
“ตูมตูม บานบาน” นิทานที่จะแนะนำดอกไม้ชนิดต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้จักดอกไม้จากรูปร่างที่มีทั้งตูมและบาน โดยสอดแทรกเรื่องของสีสัน จำนวน ให้เด็กๆ ได้ฝึกฝนทั้งการนับจำนวนเลข พร้อมทั้งเรียนรู้เรื่องสีสันต่างๆ ไปพร้อมกันอย่างเพลิดเพลิน
พ่อช้างผู้หวังดี
อยู่ๆ วันหนึ่ง ณ ป่าที่เคยสงบสุข ก็เกิดเหล่าสัตว์ป่ามากมาย มีอาการเอะอะ โวยวาย ขาดสติ ทำร้ายกัน จน “พ่อช้างผู้หวังดี” สืบหาสาเหตุ พบว่ามาจากบ่อน้ำที่หมักผลไม้เน่าเสีย จนกลายเป็น ”น้ำเมา” พ่อช้างจึงหาใบไม้มากลบปิดไว้ เพื่อคืนความสงบสุขให้ป่าดังเดิม นิทานนี้สะท้อนแนวคิดให้เด็ก ๆ เห็นถึงผลเสียของสุราหรือน้ำเมา
ฉึกฉัก ฉึกฉัก
“ฉึกฉัก ฉึกฉัก” นิทานเสริมสร้างจินตนาการให้เด็ก ๆ สนุกกับการอ่านออกเสียง กับภาษาที่ล้อเสียงตามเพื่อนๆ สัตว์น้อยนานาชนิด ทั้งแมวน้อย หมาน้อย เสือน้อย จนถึงนกน้อย ที่ต่างร่วมเดินทางมาในขบวนรถไฟแห่งมิตรภาพนี้
เรื่องเล่าสำหรับเด็กออทิสติก : สวัสดี ฉบับ เด็กหญิง
สวัสดี ฉบับเด็กหญิง เป็น 1 ในนิทานเรื่องเล่าทางสังคมสำหรับเด็กออทิสติก เนื้อเรื่องในเล่มนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กรู้จักการไหว้สวัสดีคุณครูที่โรงเรียน ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันที่น่าชื่นชม
เรือน้อย
ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก ครูวิภาพัฒนาเรื่องเรือน้อย จากความรู้สึกห่วงใย เพื่อพบเรือล่องอยู่อย่างเคว้งคว้าง กลางทะเล ครูชีวันพัฒนาเรื่องและสร้างสรรค์ภาพ เรื่องราวจึงยิ่งลุ่มลึกแต่ทว่าเรียบง่าย ประกอบกับภาพที่งดงาม เด็ก ๆ จึงจะเข้าถึงได้ไม่ยาก
นิทานสองภาษา จะไปไหนจ๊ะ
เป็นนิทานภาพเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เรียนรู้สิ่งธรรมชาติและสัตว์รอบๆ ตัว โดยการสังเกตพฤติกกรรมของสัตว์แต่ละชนิด ผู้ปกครองสามารถชี้ชวนเด็กๆ ให้ติดตามไปได้เรื่อยๆ จนจบ
นิทานสองภาษา ปิดไฟหน่อยนะ
เหมาะสำหรับเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไป พ่อแม่อ่านให้ฟัง ชวนลูกรักพูดคุย ชวนกันสังเกตไฟที่หน้าต่าง ที่ดับไปทีละดวง กระทั่งไฟทั้งบ้านดับลงทุกดวง เป็นสัญญาณว่า ได้เวลานอนแล้ว เหมาะสำหรับเด็กวัย 3 ขวบขึ้นไป พ่อแม่อ่านให้ฟัง ชวนลูกรักพูดคุย ชวนกันสังเกตไฟที่หน้าต่าง ที่ดับไปทีละดวง กระทั่งไฟทั้งบ้านดับลงทุกดวง เป็นสัญญาณว่า ได้เวลานอนแล้ว
นิทานสองภาษา ทุกมื้ออร่อยจัง
ผู้เขียนเค้าโครงเรื่องทำหนังสือภาพชื่อเรื่อง “ของโปรดของนินจา” เรื่องนี้เพราะ ต้องการไว้อ่านให้ลูกฟัง ฝึกให้น้องรู้จักอาหารประเภทต่างๆ แต่แผนงานฯ ร่วมกับบรรณาธิการหนังสือเด็กนำมาพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็น “ทุกมื้ออร่อยจัง” เพื่อให้เด็กๆ มีความสุขในการกินอาหารทุกๆ มื้อ ผู้เขียนเค้าโครงเรื่องทำหนังสือภาพชื่อเรื่อง “ของโปรดของนินจา” เรื่องนี้เพราะ ต้องการไว้อ่านให้ลูกฟัง ฝึกให้น้องรู้จักอาหารประเภทต่างๆ แต่แผนงานฯ ร่วมกับบรรณาธิการหนังสือเด็กนำมาพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็น “ทุกมื้ออร่อยจัง” เพื่อให้เด็กๆ มีความสุขในการกินอาหารทุกๆ มื้อ