รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง
เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี
การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม
ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง
เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
การศึกษาวิเคราะห์ สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฏในเว็บไซต์
งานวิจัยชิ้นนี้ มีเดียมอนิเตอร์เน้นประเด็นไปที่การศึกษาวิเคราะห์สปอตโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามทางวิทยุกระจายเสียงที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ ทั้งเนื้อหา วิธีการนำเสนอ และการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยเป็นการวิจัยจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์ google, youtube, 4shared ช่วงระหว่างวันที่ 11-15 มีนาคม 2556 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กลุ่มยา อาหาร และเครื่องสำอาง โดยสรุปผลการศึกษาและมีการนำไปเปรียบเทียบกับผลการศึกษากับการศึกษาสินค้าบริการด้านสุขภาพและความงามในทีวีดาวเทียม ที่เคยศึกษาระหว่างวันที่ 11-26 พ.ย. 2554 อีกด้วย
ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม