ปลดล็อกสมองเด็กไทยด้วยขั้นบันไดการอ่าน
เจาะลึกถึงสมรรถภาพการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก เปิดประเด็นปัญหาการศึกษาและวิชาการของเด็กไทยเป็นตัวฉุดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ แม้เราจะรู้ว่าการอ่านเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็กไทยในด้านวิชาการ แต่จากสถิติกลับพบว่าเด็กไทยจำนวนมากยังอ่านหนังสือไม่ออก ใช้เวลาไปกับสื่ออื่น ๆ มากจนส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาการศึกษาและสุขภาวะด้านต่าง ๆ มากมาย ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะต้องมาช่วยกันส่งเสริมเด็กไทยให้รัก 'การอ่าน' ปลดล็อกสมองเด็กไทยให้ฉลาดพร้อม ๆ กับมีสุขภาวะทางด้านอื่นที่ดีขึ้นด้วยไปพร้อมกัน
MIDL กับพลเมืองประชาธิปไตย
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลประเภทหรือกลุ่มของพลเมืองที่มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลในระดับที่แตกต่างกันให้เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ โดยในสังคมประชาธิปไตย เราแบ่งกลุ่มพลเมืองในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ออกเป็น 3 ระดับ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ที่คิด วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของสื่อได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถัดมาคือ พลเมืองที่มีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากมีความเข้าใจสื่ออย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังพัฒนาและผลิตเนื้อหา ข่าวสารให้เกิดประโชยน์ต่อชุมชน สังคมอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม สุดท้ายคือพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมของสังคม มีการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม อย่างมีเสรีภาพ เน้นการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย สร้างวัฒนธรรมของสื่อที่ดีและมีคุณภาพ
MIDL คืออะไร
เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์
ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน เพื่อนใหม่
เรียนรู้เรื่องการยอมรับความหลากหลายผ่านแอนิเมชั่นน่ารัก ๆ เรื่องขบวนการนกกระจิ๊ด ตอนนี้ขบวนการนกกระจิ๊ด ได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อวันหนึ่งคุณครูพาเพื่อนใหม่ น้องปอแก้ว ชาวเขาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาแนะนำให้เพื่อน ๆ ที่ห้องเรียน ชั้น ป.4 ได้รู้จัก แต่กลับถูกเพื่อนล้อเลียนและถามคำถามที่ไม่เหมาะสม เพราะไปติดกับภาพลักษณ์การพูดไม่ชัด สำเนียงชาวเขาจากละครมา ร้อนถึงคุณครูต้องกล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำเช่นนี้อีก
ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน การแสดงห้องเรียนชั้น ป.4
จุดประเด็นเรื่องสิทธิพลเมืองและการใช้สิทธิการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตยผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น ขบวนการนกกระจิ๊ด ให้เด็ก ๆ วัยเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้ จากสถานการณ์การคัดเลือกการแสดงในเทศกาลปีใหม่ ณ ห้องเรียนชั้น ป.4 ที่เกิดความคิดต่างกัน ระหว่างการร้องเพลง และการแสดงซูปเปอร์ฮีโร่ การโหวตเพื่อเลือกข้างทันที นั้นคือประชาธิปไตยจริงหรือ ??? เอาล่ะ...เพื่อนๆ ในห้องเรียนชั้น ป.4 จะทำอย่างไร ต้องติดตามชม
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ
MIDL : Online Hate Speech
เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป
MIDL : Cyberbullying
คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง
Pocket English ตอนที่ 17 สนุกดีที่โรงแรม
เวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อน ที่โรงแรมมีกิจกรรมสนุก ๆ ให้เราทำหลายอย่าง เรามารู้จักคำศัพท์ในหมวดที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในโรงแรมกันกับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกันดีกว่า ครั้งหน้าเมื่อไปถึงโรงแรม น้อง ๆ จะได้อ่านป้ายภาษาอังกฤษของโรงแรมออก ทีนี้ก็จะสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของโรงแรมกันได้อย่างเต็มที่และสนุกไปเลย
Pocket English ตอนที่ 16 จองที่พักกัน
ครอบครัวของพี่หลุยส์จะไปเที่ยว ตกเป็นหน้าที่ของพี่หลุยส์ต้องเป็นคนจองโรงแรม เดือดร้อนพี่ลูกเจี๊ยบต้องมาสอนพี่หลุยส์จองที่พักออนไลน์ ตอนนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์การจองที่พักจากพี่ลูกเจี๊ยบมากมายเลย ทั้งคำว่า จอง เช็คอิน เช็คเอาท์ ฯลฯ เรียนรู้คำศัพท์ให้สนุกแล้วไปเที่ยวครั้งหน้า อย่าลืมเอาความรู้ไปช่วยคุณพ่อคุณแม่จองที่พักออนไลน์กันด้วยนะ
Pocket English ตอนที่ 15 กินเล่น ๆ อิ่มจริง ๆ
ขนม ของขบเคี้ยว ของทานเล่นที่เด็ก ๆ โปรดปรานและชอบรับประทานกันนั้น แต่ละอย่างมีคำเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร? มาสนุกกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับของรับประทานเล่น ๆ กับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกัน เมื่อเรียนรู้แล้ว ครั้งต่อไปที่จะทานขนมของขบเคี้ยว ลองคิดและพูดเป็นภาษาอังกฤษก็น่าจะทั้งสนุก อร่อย และได้ความรู้ไปพร้อมกัน
Pocket English ตอนที่ 14 มีอะไรในกล่องปฐมพยาบาล
น้อง ๆ เคยไปเข้าค่ายค้างคืนกับคุณพ่อคุณแม่และทางโรงเรียนกันบ้างไหมเอ่ย? หลายๆ ครั้งเราจะเห็นผู้ใหญ่เตรียมกล่องปฐมพยาบาลที่มียาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นไว้เผื่อฉุกเฉิน อยากรู้ไหมว่ายาและอุปกรณ์ในกล่องปฐมพยาบาลนั้นแต่ละอย่างเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร? เรื่องนี้จำเป็นมาก ๆ ไว้เผื่อฉุกเฉินและเจ็บป่วยเราจะได้เรียกเป็น ไปเรียนรู้กับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกันเลยดีกว่า