trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 873 ข้อมูล

วิชาชีวิต บทที่ 10 Pain Management - รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และพระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

การจัดการความเจ็บปวดของผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือการรักษาความเจ็บปวดทางกาย ซึ่งทางการแพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ โดยมีตั้งแต่เจ็บปวดปานกลางจะใช้ยาพาราเซตามอลจนถึงปวดรุนแรงจะใช้มอร์ฟีน และการรักษาความเจ็บปวดทางใจ ที่ต้องใช้การสื่อสาร สร้างความเข้าใจถึงความเจ็บปวดและการรักษาที่ถูกต้อง แต่ส่วนใหญ่ที่คนไข้เจ็บปวดตลอดเวลา ด้วยเพราะมีความวิตกกังวล กลัวการจากลา การสูญเสียคนเป็นที่รัก จึงเหมือนธนูยิงเข้าทั้งกายและใจให้เจ็บปวดตลอดเวลา ดังนั้นการรักษาความปวดในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องรักษาควบคู่ทั้งการปวดทางใจและทางกาย  เพื่อให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

วิชาชีวิต บทที่ 9 Hospice care - รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช

Hospice care คือแนวคิดการดูแลประคับประคองอาการของผู้ป่วยระยะท้ายที่มีชีวิตได้อีกไม่นานเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายกาย ใจ และได้รับการดูแลทางจิตวิญญาณที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่เหลืออยู่ แบบไม่เร่งรัด หรือยืดความตายออกไป   สถานที่ Hospice เป็นได้ทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน

วิชาชีวิต บทที่ 8 palliative care การดูแลแบบประคับประคอง - รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล

ผู้ป่วยบางรายจะเกิดภาวะโรคที่ไม่ตอบสนองการรักษาให้หายขาด หรือมีการรักษาที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความทุกข์ทรมานแต่ไม่เกิดความผลรักษาตามที่ต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยระยะท้าย การดูแลแบบประคับประคอง(Palliative care) จึงเป็นทางเลือกการดูแลที่ให้ผู้ป่วย ที่ดูแลทั้งทางกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ด้วยทีมวิชาชีพสหสาขา เมื่อไรควรเริ่มการดูแลแบบ Palliative care  ใครที่ต้องการการดูแลแบบ Palliative care Advance care plan Living will

วิชาชีวิต บทที่ 7 การรักษาที่ไร้ประโยชน์- ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์

เมื่อได้พยายามรักษาโรคอย่างเต็มที่แล้ว การรักษาไม่ตอบสนองเป็นไปด้วยความยากลำบาก และเกิดความทุกข์ทรมานแต่ไม่เกิดความผลรักษาตามที่ต้องการ จึงควรพิจารณาว่าการรักษานี้ยังมีประโยชน์ตรงกับเป้าหมายที่คนไข้ต้องการหรือไม่ และถ้าทำไม่การรักษาต่อยังมีการดูแลแบบใดที่เป็นทางเลือกเพื่อช่วยให้คนไข้ไม่ทุกข์ทรมานในระยะที่โรคลุกลามระยะท้ายแล้วบ้าง   การรักษาที่ไร้ประโยชน์ ยื้อชีวิต ยื้อความตาย เป้าหมายการรักษาให้ตรงกันกับผู้ป่วยและครอบครัว คุณภาพชีวิตในมุมของคนไข้ (วัดจากระยะเวลาที่เหลือหรือคุณภาพ) การใช้เทคโนโลยีเพื่อยื้อความตาย แต่ไม่เกิดประโยชน์ เช่น ถ้าใกล้ตาย แต่ปั๊มจะเกิดอะไร, ถ้าใกล้ตาย แต่ใส่ท่อ ช่วยหายใจจะเกิดอะไร, ถ้าใกล้ตายแต่ยังให้อาหารให้น้ำจะเกิดอะไร

วิชาชีวิต บทที่ 6 Living will หนังสือแสดงเจตนา - ผศ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์ และ รศ.พญ.รัตนา พันธ์พานิช

สถานการณ์การดูแลรักษาอาการป่วยเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดทุกช่วงอาการ เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้ายไม่สามารถสื่อสารถึงความต้องการคนตนเองได้ เอกสารที่บอกถึงความต้องการการดูแลในระยะท้ายจนกระทั่งเสียชีวิต ทั้งทางร่างและจิตใจเป็นเรื่องที่จะช่วยให้แพทย์และญาติทราบถึงแนวทางและเป้าหมายการดูแล โดยทุกคนสามารถทำหนังสือ Living will ไว้ได้ตั้งแต่ยังไม่ป่วย แต่จะมีผลเมื่อ ชีวิตเข้าสู่ระยะท้าย  Living will จะใช้เมื่อไร และใช้อย่างไร เก็บไว้ที่ไหน ต้องบอกใครบ้าง การแสดงเจตนาการใช้/ไม่ใช้ เครื่องมืออุปกรณ์พยุงชีพ หรือ กู้ชีพ ถ้าไม่ใช้ทางเลือกอื่นคืออะไร เช่น 1. การกู้ชีพโดยการปั๊มหัวใจ 2. การเจาะคอ หรือการใส่ท่อ ช่วยหายใจ 3. การล้างไต เมื่อไตวาย 4. การให้อาหารทางสายยางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย 5. การให้ยาปฏิชีวนะ หรือสารน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย

วิชาชีวิต บทที่ 5 มาตรา12 VS การุณยฆาต โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส

การวางแผนชีวิตล่วงหน้าในวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ  คนที่ไม่สบายแต่ยังมีสติสัมปชัญญะ เขาสามารถตัดสินใจได้ว่าจะรักษาอย่างไร  แต่หากคนที่ไม่สบายขาดสติ หรือเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ญาติหรือผู้ดูแลก็อยากจะยื้อชีวิตด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ แต่กลับเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่จากไป “พรบ. สุขภาพแห่งชาติ มาตราที่ 12” มีสาระสำคัญให้ผู้ป่วยสามารถวางแผนชีวิตในช่วงสุดท้ายได้ ว่าอยากตะจากไปแบบไหน ด้วยการทำ “เจตจำนง หรือ Living Will”  ว่าถ้าวันหนึ่งต้องจากไป ขอจากไปตามธรรมชาติ จากไปอย่างสงบ

วิชาชีวิต บทที่ 4 ศาสตร์การเจรจา 2 อภิชญา วรพันธ์ และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

ทำไม ? การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงมีเรื่องของ “ศาสตร์การเจรจา”  แท้จริงแล้วการสื่อสารที่ดี เป็นประเด็นหลักในการรักษาทางการแพทย์ เพื่อที่ทั้งแพทย์ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติ ๆ สามารถทำความเข้าใจที่ตรงกัน และเดินทางไปสู่เป้าหมายของการรักษาที่เอื้อต่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้ เพื่อคนไข้ได้มีความสุข และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ในยามที่เผชิญโรคภัยต่าง ๆ

วิชาชีวิต บทที่ 3 ศาสตร์การเจรจา 1 เกื้อจิตร แขรัมย์

การรักษาดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  นอกจากจะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคภัยแล้ว  เรื่องของกำลังใจ  หรือ จิตใจของ ผู้ป่วย ผู้ดูแล หรือญาติ ๆ ของผู้ป่วยก็ดี  มีส่วนสำคัญที่จะเตรียมสัมภาระและ เสบียงอาหารทางใจ  เพื่อเดินทางไปสู่เส้นชัยแห่งความตาย  “การสื่อสารเรื่องความตาย” อย่างเข้าออกเข้าอกเข้าใจ ทั้งผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย เพื่อให้เข้าใจโรค เข้าใจความตาย เพื่อจะไม่ทุกข์ทรมานเป็นเรื่องที่สำคัญ การจะแจ้งข่าวร้ายเรื่องการเจ็บป่วย  หรือการอธิบายวิธีการรักษาให้คนไข้มีกำลังใจสู้ต่อเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเรียนรู้และควรทำอย่างมีศิลปะ

วิชาชีวิต บทที่ 2 Spiritual จิตวิญญาณ โดย ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส และอรทัย ชะฟู

“ตายดี” เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องการ  แล้วทำอย่างไร เราจะต้อนรับความตายอย่างถูกวิธี ไม่เจ็บปวดทรมาน นั่นคือ เราต้องมีจิตสุดท้ายที่ดี ไม่เศร้า ไม่กังวล ไม่ขุ่นมัว ครอบครัวและคนรักของผู้ป่วยระยะท้าย มีส่วนสำคัญอย่างมากในการนำพาผู้ป่วยระยะท้าย เดินทางไปสู่เส้นทางโลกหน้าด้วยใจที่สงบสุข  ไม่ต้องวิ่งเต้นทำบุญ ไม่ต้องสรรหาพิธีกรรมใด ๆ เพื่อยื้อตาย ขอเพียงอ้อมกอกที่อบอุ่น  และความรักที่แวดล้อม ก็จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความกังวลของผู้ที่จะจากไป ให้เดินทางไปสู่ภพภูมิที่ดีงาม โดยไม่เดียวดาย

วิชาชีวิต บทที่ 1 ตาย ศาสตร์ - รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์

การเตรียมตัวตายอย่างมีคุณภาพชีวิต  เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตั้งคำถามกับตนเอง  ไม่ว่าจะเพื่อบุพการี ตัวเอง  หรือแม้แต่เพื่อคนที่เรารัก  ด้วยสังคมในทุกวันนี้ที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้า  คนเรามีอายุเฉลี่ยที่มากขึ้น แสดงว่าคนไทยมีอายุยืนขึ้น  และอีกไม่ช้าสังคมไทยเราก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ การเจ็บป่วยแล้วเสียชีวิตเมื่อก่อนมาจากโรคติดเชื้อ แต่ในวันนี้ คนไทยตายจากความเสื่อมของอวัยวะและร่างกาย “การยื้อความตาย” เป็นคำถามที่ต้องฉุกคิดทั้งคนที่ยังอยู่และคนที่จะจากไป  ว่าเราจะมีวิธีการอยู่  หรือ จากไปอย่างมีความสุข ไม่กังวล และสุขภาวะที่ดีได้อย่างไร ...อยู่ให้เป็นสุข ตายให้สบาย...

ก่อการครู : ความเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำรุ่น 1

วิดีทัศน์จากโครงการ ก่อการครู...ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ สะท้อนกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงภาวะการเป็นผู้นำของ “ครู”  เพื่อจุดประกายในการสอน และอบรมเด็กและเยาวชน เน้นการทำกระบวนการให้ครูฟังเสียงภายในตนเอง สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรครู เพื่อเห็นในคุณค่าความเป็นครู พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้จากภายในสู่ภายนอกด้วยความรักและเอาใจใส่ต่อศิษย์ด้วยหัวใจและเมตตา

ก่อการครู : ครูแกนนำ x คนรุ่นใหม่

วันนี้เราสามารถลุกขึ้นมาเป็น “ครู” ได้ เพียงเรามีหัวใจและพลังที่พร้อมกล้าเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทย  คุณจะเป็นครูประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คุณจะเป็นครูสอนพิเศษ คุณจะเป็นนักออกแบบเกม คุณจะเป็นนักวิจัย หรือนักสื่อสารก็ตาม  เราทุกคนสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาที่ดีให้กับเด็กได้อย่างสร้างสรรค์ ลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา และสร้างโฮกาสและความเท่าเทียมให้กับทั้งครู เด็กนักเรียน  และระบบการเรียนการสอนในบ้านเรา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.