สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานที่ปรึกษา บริษัท ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม เธอสนใจศึกษาธรรมะ ชีวิต และความตายมาอย่างยาวนาน มีบทบาทสำคัญในการรณรงค์เรื่องการตายดีสำหรับสังคมไทย เธอเป็นวิทยากรและช่วยรวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย จนเมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับภาวะเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยตัวเอง นี่คือบทสนทนาแบบคำต่อคำ ว่าเธอคิดและมองความตายอย่างไร คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ ให้สัมภาษณ์กับ a day BULLETIN
“ผมมองว่าการตื่นรู้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร แต่เป็นมุมมองชีวิต เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นศักยภาพพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมี” "มนุษย์มีศักยภาพที่จะตื่นรู้ เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่ แค่ร่างกาย การตื่นรู้ในมุมของผมจึงไม่ใช่ความสามารถพิเศษ (Extra Ability) แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่สุด (Minimal Requirement) ในการเป็นมนุษย์” (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน") - หมอปอง -
เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"
ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"
ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม
กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร