Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "ทั้งหมด" พบ 2116 ข้อมูล

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด  แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง

ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)

การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย 

สืบจับกรุ๊ปเมา ทีมพเนจรจัด

DrinkandDriveStory ทีมArt Gallery

Late Night Ads ทีมThe1310

Late Night Ads โดย ทีมThe1310 เป็นหนังสั้นฝีมือการผลิตของกลุ่มคนทำสื่ออิสระ ที่เล่าเรื่อง ของ “สมโพช ”หนุ่มพนักงานออฟฟิศ ผู้ที่ได้รับแรงกดดันจากหัวหน้างานจนเกิดความเครียดและเก็บกด ในวันหนึ่งสมโพชเห็นคลิปโฆษณา “เบียร์ไอเบกซ์เซอร์” บนเฟซบุ๊กของเขา อิทธิพลของโฆษณานี้ทำให้เขาเกิดความอยากดื่มและตัดสินใจโพสต์ชวนเพื่อนไปดื่มสังสรรค์ที่บาร์เบียร์แห่งหนึ่ง และโฆษณานี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สมโพช ไม่ได้กลับมาเต้นเพลงแจ๊สแบบที่เขาชอบอีกต่อไป หนังสั้นเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยมือถือ โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แถวตรง : ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น

“แถวตรง”  โดย ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น เป็นหนังสั้นที่ผลิตขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจาะเลือดตรวจเพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์  อีกหนึ่งมาตรการในการกวดขันและเอาจริงเอาจังประเด็น “เมาแล้วขับ” การเล่าเรื่องมีการนำคนมาแสดงเป็น “เลือด” และ “แอลกอฮอล์”  เพื่อสื่อให้เห็นถึงโทษเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้าคู่กรณี หรือตำรวจสงสัยว่าเมาสุราสามารถสั่งให้หยุดรถและสั่งให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจได้ โดยถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุก 1 ปี, ปรับ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ และยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน  

เล่า(เหล้า) ทีมStar Piont

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่องย่อ เรื่องราวของ “แกง” เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีไอดอลในใจเหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งแกงชอบรุ่นพี่ในโรงเรียนชื่อว่า “มีน” และทุกครั้งที่มีนโพสต์รูปภาพลงบนเฟซบุ๊ก เธอจะเลียนแบบมีนทุกครั้ง วันหนึ่งมีนโพสต์รูปถือแก้วเหล้ากับกลุ่มเพื่อน ทำให้ “ต้า” เพื่อนของแกงไม่ชอบจึงเตือนแกงว่าห้ามทำตามเด็ดขาด แต่แกงยังคงชื่นชอบและทำตามอยู่จนเป็นเหตุให้ทั้งสองคนทะเลาะกันแล้วเกิดเป็นเรื่องไม่ดีตามมาในตอนจบ

แคร์(เหล้า) ทีมSJ Production

หลง ทีมอยากทำProduction

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน 1. ภัณฑิรา เทิดเกียรติชัย 2. กฤตยานี ทาระพันธ์ 3. ปภัสรา ศรีสุคนธรัตน์ 4. วชิรวิทย์ เตมียกุล 5. ชนาธิป พันธ์ลีค้อ จาก : นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาลัยศรีปทุม เรื่องย่อ เรื่องราวของ “ฮาย” เด็กเนิร์ดที่ไม่เคยออกไปสังสรรค์กับเพื่อนเลยได้บังเอิญดูวิดีโอบนออนไลน์ซึ่งเป็นโฆษณาเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง เพื่อนร่วมห้องเห็นจึงเดินมาชวนให้ออกไปกินเหล้าด้วยกัน ฮายตอบตกลงและพากันไปร้านเหล้า เมื่อฮายดื่มจนเมาก็หันไปมองผู้หญิงคนหนึ่งในร้านตามที่เพื่อนมองอยู่ ทำให้แฟนของเธอไม่พอใจมากแล้วเข้ามาทำร้ายฮาย ส่วนเพื่อน ๆ ที่มาด้วยกันก็ทิ้งฮายไว้ แล้วพากันหนีออกจากร้านไป ก่อนที่ทุกอย่างจะตัดกลับมาที่ความจริงว่าทั้งหมดคือความคิดของฮาย หากเขาเลือกจะไป ตอนจบอาจจะไม่ได้สวยเหมือนในโฆษณาก็ได้

ความจริงที่ไม่มีใครได้ยิน ทีมShawarma

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน : 1. นางสาวจิราพร จันทะ 2. นายเอกสิทธิ์ อิสมาแอล 3. นายอับบาส สมัครกุล จาก : มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่องย่อ เรื่องราวของชายหนุ่มคนหนึ่งที่เปิดเผยการใช้ชีวิตที่หรูหรา การกินอยู่ที่สบายของเขาผ่านอินสตาแกรม จนทำให้เขามีผู้ติดตามและเห็นเขาเป็นไอดอลเป็นจำนวนมาก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเบื้องหลังภาพสวยงามเหล่านั้น มีความจริงที่ซ่อนอยู่... ความจริงที่ไม่มีใครได้ยิน

ซาซี้ ทีมShin Young

1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน 1. นายภัทรพงษ์ อุดมรัตนานันท์ 2. นายทศพร แสงฉิม 3. นายปัณณฑัต เสน่ห์ จาก : มหาวิทยาลัยศรีปทุม เรื่องย่อ เรื่องราวของเด็กหนุ่ม 3 คน ที่ดื่มสังสรรค์จนมีอาการมึนเมา จึงหาวิธีผ่านด่านตรวจแอลกอฮอล์ จนไปพบกับคลิปความเชื่อเรื่องน้ำ 6 สี ที่ว่ากันว่าหลังจากกินเหล้าแล้ว ถ้ากินน้ำ 6 สี ตามเข้าไปจะทำให้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ไม่สามารถตรวจจับค่าแอลกอฮอล์ได้ คืนนั้นพวกเขาขับรถไปพบกับด่านตรวจแห่งหนึ่ง ชายคนหนึ่งทดลองด้วยการอาสาเป็นคนถูกตรวจเอง ผลที่ได้คือไม่พบค่าแอลกอฮอล์ นั่นไม่ใช่เพราะน้ำ 6 สี แต่เป็นเพราะ...พวกเขาประสบอุบัติเหตุ “เสียชีวิต” ก่อนหน้านี้แล้ว

keyboard_arrow_up