สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้มารู้จักชาติพันธุ์ลาหู่ ที่อพยพผ่านดินแดนทิเบตและพม่าจนมาถึงประเทศไทย ชาวลาหู่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับป่าและธรรมชาติ ชาวลาหู่แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ในตอนนี้ที่เราจะไปรู้จักกันจะเป็นกลุ่มลาหู่แดงทั้งการแต่งกายและเมนูอาหารที่ใช้ในงานมงคลหรืองานปีใหม่ของชาวลาหู่ คือ "ส่าจ๊อย" หรือ "ห่อหมกสมุนไพร" มีพระเอกเป็นเปลือกมะกอกป่า รับประทานแล้วเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แก้ท้องอืด เจ็บคอ ทำให้เจริญอาหาร
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้ไปรู้จักชุมชนชาติพันธุ์อาข่าที่บ้านป่าเกี๊ยะ จ.เชียงราย ชนเผ่าอาข่าเป็นชนเผ่าที่อยู่กับป่า รักป่า ดูแลป่า อยู่กับธรรมชาติ วัตถุดิบการทำอาหารของชาวอาข่าส่วนใหญ่จึงเป็นพืชพรรณสมุนไพรที่อยู่ในป่า เช่น เมนูสาธิตวันนี้ "ห่อหมกใบตองอ่อน" ใช้ใบกล้วยอ่อนเป็นวัตถุดิบสำคัญ เมนูนี้รับประทานในหน้าแล้ง (ถ้าไม่ใช่หน้าแล้งใบตองจะฝาด) และมักใช้รับประทานในพิธีแต่งงานซึ่งถือเป็นงานสำคัญของชาวอาข่า
ข้อมูลสถิติการสำรวจสัดส่วนเวลาการออกอากาศรายการวิทยุ สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2550 ครอบคลุมการกระจายเสียง ทั้งในระบบเอฟเอ็ม จำนวน 40 สถานี ระบบเอเอ็ม จำนวน 36 สถานี จำแนกตารางผลสำรวจตามกลุ่มเป้าหมายและจำแนกตามรายสถานี (แสดงเวลาการออกอากาศรายการเป็นนาทีต่อสัปดาห์)
บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของแผนภาพและข้อสรุปที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต
บทสรุปและอภิปรายผลจากงานวิจัยเรื่อง "สถานภาพปัจจุบันของการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็กและพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย" ของ อ.มรรยา อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลสรุปของสัดส่วนการออกอากาศรายการวิทยุสำหรับเด็ก รูปแบบรายการวิทยุสำหรับเด็กและการเปิดรับสื่อวิทยุของเด็กไทย รวมถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาสื่อวิทยุเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพและสุขภาวะของเด็กไทยต่อไปในอนาคต
เรื่องเด่นในจุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ ไปรู้จักโครงการ "ปลุก - แปง (สร้าง) - ปั้น (รู้-ทำ-นำสุข)" Spark U ปลุกในเมือง โดยกลุ่ม "รวมใจคน 3 วัยไทเชียงคาน" ที่มีสมาชิกตั้งแต่วัยเด็ก วัยเยาวชน และผู้ใหญ่ มาร่วมกันแบ่งปันและสานต่อวัฒนธรรมที่รุ่มรวยของเชียงคานให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประเพณีผีขนน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงคาน พร้อมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสุขภาวะที่ดีอีกมากมาย ทั้งโรงเรียนไม่ซ่อนอ้วน และปั่น 3 ดีวิถีสุขที่ จ.พัทลุง ฯลฯ
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้แนะนำให้รู้จักโครงการ "คิดดี ไอดอล นักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะ" ที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ออกมาแสดงความสามารถในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ โดยครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะในพื้นที่ภาคใต้ ภายใต้ 3 ประเด็นสำคัญคือ 1. เท่าทันสื่อ 2. ปัจจัยเสี่ยง 3. ท้องไม่พร้อม พร้อมเรื่องราวน่าสนใจเรื่องอื่น ๆ คับแน่นคุณภาพเต็มฉบับเหมือนเดิม
คลิปวิดีโอการร้องเพลงและแสดงดนตรีเพลง "พี่สาวครับ" จากเยาวชนกลุ่ม "รักน้องเบล" ซึ่งเป็น 1 ในเยาวชนจากโครงการปิ๊งส์ เด็กเฮ้ว ปี 2 ประเด็นอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา โดยในคลิปวิดีโอนี้ เยาวชนกลุ่มรักน้องเบล ได้ขึ้นแสดงความสามารถเพื่อส่งกำลังใจไปชายแดนใต้ ในคอนเสิร์ต 10 ปีคลื่นความคิด 96.5 mhz. ห่วงใยชายแดนใต้#3
คลิปวิดีโอจากโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' สะท้อนมุมมองแนวคิดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการดื่มเหล้าที่มากเกินกว่าผู้ที่ดื่มเหล้าจะคาดคิด ไม่ว่าจะเป็นการมีความสัมพันธ์ทางเพศจนเกิดปัญหาท้องไม่พร้อม การเมาแล้วขับ ทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตทั้งของคนอื่นและของตนเอง
คลิปวิดีโอในโครงการปิ๊งส์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' กระตุกแนวคิดความเชื่อผิด ๆ กับความจริงของการดื่มเหล้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เปรียบเทียบความเชื่อหลงผิดและความจริงจากการดื่มเหล้าอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.