สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
N/A
บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด
ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
สนุกกับเรื่องราวฉลาดรู้เท่าทันสื่อเวอร์ชั่นการ์ตูนไทย ตอน ระวังภัย ผ่านเรื่องราวของ 'ขวัญ' หญิงสาวหน้าตาดี ที่ติดอินเทอร์เน็ต และพบรักกับ 'พี่แม็ค' หนุ่มหน้าตาดีทางการแชทคุยผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ทว่าแท้จริงคือแม็ค คือโจรผู้หวังจะทำมิดีมิร้ายขวัญ การ์ตูนนี้สะท้อนภาพให้เห็นว่า การเสพสื่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต และการติดโทรศัพท์มือถือ บางทีจะนำภัยมาให้เราโดยไม่รู้ตัว เพราะเราไม่รู้เลยว่ากำลังติดต่อสื่อสารกับใคร ภัยที่แฝงมาอาจร้ายแรงทำให้โดยข่มขืน โดนทำร้าย และสูญเสียทรัพย์
หยิบเรื่องราวเท่าทันสื่อ ถ่ายทอดผ่านลายเส้นการ์ตูนไทย เรื่องราวตอนนี้เกิดขึ้น ณ บ้านการ์ตูน จ. พะเยา ครูสอนศิลปะแปลกใจ เด็กๆ หายไปจากห้องเรียนกันหมด มีเพียง ด.ช. ก็อต ที่ยังอยู่ในห้องเรียน และบอกว่าที่เพื่อนๆ หายไปเพราะไปร้านเกมเล่นอินเทอร์เน็ต ครูศิลปะจึงออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กวาดรูปโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ และสื่อออนไลน์ที่เสพได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ต้องใช้อย่างพอเพียง และไม่เสพติดสื่อออนไลน์มากเกินไป มิเช่นนั้นจะเกิดภัยที่ตามมา เพราะคลื่นแม่เหล็กในโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้สมองเสื่อม หูอักเสบ ฯลฯ
ลายเส้นการ์ตูนไทย กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ถ่ายทอดเรื่องราวร่วมสมัยเท่าทันสื่อ เนื้อเรื่องตอนนี้ว่าด้วย 'หญิง' นักศึกษาปี 4 เพิ่งถูกแฟนทิ้ง จึงคิดที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะเข้าใจผิดว่าที่ตนเองไม่ถูกแฟนเลือกคบต่อ เพราะหน้าตาไม่สวยพอ แต่งตัวไม่เซ็กซี่ จึงหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริง แต่งตัวโชว์อึ๋มแบบแฟชั่น ที่แม้จะทำให้มีหนุ่มๆ มาสนใจ แต่สนใจที่ร่างกายไม่ได้รักกันที่จิตใจ ที่สุดแล้วหญิงก็ค้นพบว่าความงามที่แท้จริงคือ การเป็นตัวของตัวเอง ดูแลและรักตัวเองดีกว่าไปยึดติดความรักจากผู้อื่น
การ์ตูนไทยกับการถ่ายทอดเนื้อหาสร้างสรรค์สุขภาวะ เรื่องราวของแม่ค้าร้านหนึ่งชอบทำอาหารขายด้วยการใส่ผงชูรส ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผงชูรสมีอันตราย กินเข้าไปจะทำให้ปลายลิ้นชา เป็นหอบหืด คลื่นไส้ บางคนแพ้ผงชูรสอันตรายถึงกับทำให้เสียชีวิตได้ กระทั่งวันหนึ่งลูกชายเธอมาเผลอกินอาหารที่เธอปรุงเอง และไม่สบายเข้าโรงพยาบาล เธอจึงได้ตระหนักรู้ว่าลูกของตัวเอง ตัวเองก็รัก ลูก (ค้า) คนอื่นๆ เธอก็ต้องใส่ใจดูแล นับแต่นั้นมาเธอก็ปรุงอาหารโดยไม่ใส่ผงชูรสอีกเลย
การ์ตูนไทยในบทบาทสื่อสร้างสรรค์สุขภาวะ เนื้อเรื่องตอนนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ 'ทอง ทำบุ' และ 'นางลา' สองสามีภรรยา เป็นชาวมุกดาหาร ที่เข้ามาทำงานและอยู่กินที่เมืองหลวง ทองทำงานเป็น รปภ. อยู่ที่โกดังแห่งหนึ่ง พอทราบข่าวโฆษณาว่าน้ำดื่มบำรุงยี่ห้อหนึ่งหนึ่ง แจกโชค สะสมฉลากครบ 100 ชิ้น จะได้รับทีวีจอยักษ์ นายทองและนางลา จึงตั้งหน้าตั้งตาซื้อน้ำดื่มบำรุงกำลังกินจนครบ แต่พอเอาฉลากไปแลกกลับไม่เป็นดังหวัง ...เพราะแท้จริงนั้นคือ การโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค ซ้ำร้ายการดื่มน้ำดื่มบำรุงเกินขนาดจะผลเสียต่อสุขภาพ
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.