สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
ด้วยความรักในธรรมชาติ และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน เทคนิคการย้อมให้สีติดทน อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า
ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง” ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน
ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ
หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข” ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.
ศิลป์สร้างสุขพาไปรู้จัก บ้านตาสุ่ม สุวรรณวงศ์ ปราชญ์สาวะถี พักอยู่ตรงใกล้ๆ วัดไชยศรี ผู้รู้เรื่องหมู่บ้านสาวะถี เล่าเรื่องราวชุมชน ไปชมกันว่าคุณตามีชีวิตเรียบง่ายอย่างไร
เท่ง ตัวละครหนังตะลุงใต้ ชวนกันมาเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ "เปลี่ยน"สังคม ด้วยพลังสื่อคนรุ่นใหม่ ภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม บ้านตีนตก จ.กาญจนบุรี กับความสามารถในการผลิตคลิปวิดีโอเชิงสร้างสรรค์ของน้องๆ กลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต แต่ก็ไม่ย่อท้อที่จะลุย!!
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่ กับน้องๆ กลุ่ม Young Guide ที่เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชน จึงได้ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ให้คนในชุมชน
"พิ(การ)เศษ" ภาพยนตร์สั้นเพื่อกลุ่มคนเปราะบางและอ่อนไหวอย่างคนพิการ สะท้อนผ่านเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่มีความฝันอยากเป็นนักฟุตบอล แต่อุบัติเหตุพรากความฝันของเขาไปพร้อมกับการสูญเสียขา 1 ข้าง แต่ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งทำให้เขาลุกขึ้นมาตามหาความฝันอีกครั้ง โอกาสครั้งนี้เขาอยากจะบอกกับคนทั่วไปว่า ความต้องการของคนพิการ ไม่ใช่อยากให้คนอื่นมาสงสาร แต่อยากให้มองพวกเขาเหมือนคนปกติทั่วไป แค่นั้นจริงๆ
เดี๋ยวนี้ พนันบอลก็ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว แถมยังได้ทุกที่ทุกเวลา แล้วงานนี้ใครได้ ใครเสีย มาชมกัน ผลงานสร้างสรรค์ในประเด็น "การพนันบอล" จากทีมพลังแห่งต้นกล้า
เราขอชวนคุณมาพิสูจน์ว่า “หวย” หรือสถานที่ขอหวย ที่สื่อนำเสนอ จนทำให้ทุกคนหลงเชื่อ และงมงาย ว่าจะแม่นหรือไม่แม่น
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.