สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'อยู่ดี กินหอมหวาน' พาผู้อ่านไปร้อยเรียงเรื่องราวผ่าน 'การกิน' ในแง่มุมหลากหลายมิติ ทั้งวิถีชีวิต ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุคปัจจุบัน พลิกมิติมุมมองผ่านอาหารการกินในบางแง่มุมที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน ให้ได้มองเห็นโลกและผู้คนรอบตัวอย่างลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'เล่นลม ล้อคลื่น กลางสึนามิสื่อ' เปรียบยุคสื่อสารดิจิทัลเป็นสึนามิสื่อที่ถาโถมให้เราต้องต่อสู้ฝ่าฟันเพื่อเอาตัวรอดให้ได้ ฉบับนี้จึงเจาะลึกประเด็นรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) การสร้างพลเมืองประชาธิปไตยในยุคดิจิทัล พบกับคนทำงานด้านรู้เท่าทันสื่อที่จะมาสะท้อนแนวคิด มุมมอง การรู้เท่าทันสื่อในยุคปัจจุบัน ข่าวสารการรู้เท่าทันสื่อจากทุกมุมโลก และตัวแทนเยาวชนผู้มีมุมมองรู้เท่าทันสื่อที่เป็นแบบอย่างและน่าสนใจ
นิตยสารดีจัง ฉบับ ปฐมยิ้ม นิตยสารรายสะดวกฉบับแรกที่จะสร้างรอยยิ้มให้ผู้อ่านผ่านเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยฉบับแรกนี้จะพาไปรู้จักพื้นที่สร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เพชรบุรีดีจัง อุตรดิตถ์ติดยิ้ม ฯลฯ พร้อมทั้งเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมชุมชน และผู้ใหญ่ใจดีที่อยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ เติมความสุขและรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนในทุกพื้นที่ทั่วไทย
"เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน" ประเด็นหลักของการนำเสนอในเล่มนี้ เป็นการะดมไอเดียจากเครือข่ายภาคีแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สู่กระบวนการทำงาน 5 ปฏิบัติการ เริ่มจากปฏิบัติการยกกำลังสุขทุกวัยด้วยการอ่าน, ปฏิบัติการสร้างแกนนำ "คนชวนอ่าน" เพื่อขยายนักอ่านมากขึ้น, ปฏิบัติการผลักดัน อสม. ที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนนำการอ่านเข้าสู่เด็กปฐมวัย, ปฏิบัติการให้ อบต. ส่งเสริมหนังสือและการอ่านเข้าสู่ท้องถิ่น และปฏิบัติการสุดท้าย ระดมทุนงานสวสัดิการด้านหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
"ปักธง" เป็นการรายงานผลลัพธ์ของโครงการติดตามและประเมินผลภายในแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านประจำปี 2558 โดยประเมิน 2 ด้าน คือ ประเมินผลเพื่อการพัฒนา เน้นการแสวงหาความรู้จากการประเมิน เพื่อนำไปขับเคลื่อนงานพัฒนาการอ่านให้ก้าวหน้าต่อเนื่อง และการประเมินผลเพื่อเสริมสร้างพลัง ใช้รูปแบบการถอดบทเรียนจากการทำงานของภาคีเครือข่ายส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านต้นแบบ 11 พื้นที่ เพื่อขยายผลสื่อสารกับสังคมเพื่อสร้างพลังการอ่านในอนาคต
"การอ่านมหัศจรรย์แห่งสุขภาพ-สุขชีวิต" นำเสอข้อมูลเชิงอ้างอิงมาจากผลการวิจัยหลากหลายสาขาว่า การอ่านเป็นหนึ่งในความสุขของชีวิตที่มาพร้อมกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดี เด็กที่อ่านหนังสือ 15 นาทีต่อวัน จะรู้คำศัพท์มากกว่า 1 ล้านคำต่อปี ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง พัฒนาการทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ EF ซึ่งเป็นกระบวนการคิดของสมองส่วนหน้าที่สำคัญมากกว่า IQ และ EQ ผู้ที่อ่านหนังสือยังมีแนวโน้มว่าจะสุขภาพดีมากกว่าผู้ที่ไม่อ่านหนังสือถึงร้อยละ 33 นอกจากนี้การอ่านยังช่วยคลายเครียด ทำให้หลับสบาย
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการอ่าน ได้สืบค้นและรวบรวมแนวคิดและผลงานที่โดดเด่นของนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านนานาประเทศ อาทิ โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ในประเทศสิงค์โปร์, หอสมุดแห่งชาติสำหรับเด็กและเยาวชน ที่ประเทศเกาหลี, ห้องสมุดเอทีเอ็มที่ประเทศจีน ซึ่งให้บริการยืมและคืนหนังสือได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการอ่านหนังสือ เพื่อเลื่อนตำแหน่งตำรวจในประเทศเม็กซิโก โดยต้นแบบนวัตกรรมเหล่านี้ จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักอ่านไทยขับเคลื่อนเมืองไทยให้เป็นนครแห่งการอ่านต่อไป
บทกวีกลางดวงใจ ได้คัดสรรบทกวี 108 บท โดยคุณชมัยภร แสงกระจ่าง ซึ่งล้วนเป็นบทกวีที่สร้างความรื่นรมย์ โศกซึ้ง สะเทือนใจ อิ่มเอมและเบิกบาน เพื่อให้นักอ่านได้เติมเต็มพลังแห่งความสุข รักษาสุขภาวะทางกายและใจด้วยบทกวี ดั่งประหนึ่งเปรียบเปรยกับความเชื่อโบราณของชาวอียิปต์ว่า การเขียนบทกวีบดผสมลงในน้ำดื่ม จะมีพลังลึกลับในการรักษาความเจ็บป่วยได้
ในยุคสังคมออนไลน์ การเสพสื่ออย่างมากมาย หนังสือและการอ่าน กลายเป็นสิ่งที่หลายคนหลงลืม การสร้างวัฒนธรรมการอ่าน...สร้างการอ่านให้เป็นวัฒนธรรม จึงต้องอาศัยพลังจากทุกฝ่ายในสังคม เพราะการอ่านช่วยขัดเกลาอารมณ์ บ่มเพาะสติปัญญาและคุณธรรมความดีงามให้กับทุกวัยของสังคม
แนวคิด MIDL for Inclusive Cities เป็นการนำทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล ซึ่งสำคัญต่อคนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กเยาวชนที่ใช้สื่อและอยู่กับสื่อตลอดเวลา มาผนวกกับการสร้างเมืองของทุกคน หรือ Inclusive Cities โดยมีหัวใจสำคัญคือเด็กและเยาวชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการพัฒนาร่วมสร้างเมือง แวดล้อมด้วยผู้ใหญ่คอยให้การสนับสนุน เพื่อขับเคลื่อนเมืองตามบริบทจุดเน้นของพื้นที่ เช่น เป็นเมืองที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมืองที่มีความปลอดภัย เมืองที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้ สำหรับ Magazine Online เล่มนี้ สสย. ได้ร่วมรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลกรณีศึกษาในแต่ละภูมิภาคจากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน คุณครู ผู้เกี่ยวข้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและ เยาวชน ที่เป็นผู้มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงพลังเล็กๆ ของทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ ร่วมสร้างเมืองของทุกคน โดยเรื่องราวในนิตยสารเป็นกิจกรรมที่ เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ Social Distancing ต่อเนื่องจาก Virtual Run ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story ‘จะปล่อย’ หรือ ‘จะเปลี่ยน’ กับกิจกรรม ‘วิ่ง’ ในรูปแบบ Virtual Run ซึ่งเป็นการวิ่งเสมือนร่วมอยู่ในงานจริง โดยฉบับนี้จะมุ่งเน้นให้ความรู้ในเรื่องของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ไวรัสโคโรน่า กับวิธีป้องกัน การรักษาระยะห่างทางสังคมและการสังเกตอาการของโรค รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.