สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีดิช ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning(2018) เพื่อตอบคำถามดังกล่าวสำหรับคนที่รู้ตัวว่ากำลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และทำให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมื่อพวกเขาเดินทางมาใกล้ถึงปลายทางแห่งชีวิต และไม่มีสิ่งใดมาหยุดสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่สุดอย่างความตายได้ เราจะมีวิธีไหนบ้างที่จะมาส่งเขาได้อย่างนุ่มนวลและทำให้การบอกลาครั้งนี้มีค่าที่สุด
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson หลายคนอาจเคยคิดว่า การแสดงความเจ็บปวดทางร่างกายหมายถึงความพ่ายแพ้ อ่อนแอ ไม่อดกลั้น การที่เราสกัดกั้นความเจ็บปวดไว้จะยิ่งทำให้ทรุดหนักและรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น จึงควรสังเกตตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่โกหกตัวเองหรือคนใกล้ชิดว่าสบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการจัดการกับความเจ็บปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson วันเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เราแทบไม่เคยหยุดคิดและตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องชีวิตและความตายอย่างจริงจังมาก่อนเลยสักครั้ง จนกระทั่งช่วงเวลาสุดท้ายก่อนความตายเดินทางมาถึงอย่างไม่ทันได้เตรียมใจ ทำให้เกิดความหวาดกลัว วิตกกังวล เคร่งเครียดไปกับปัญหามากมายที่ไม่ทันสะสาง ขอให้คุณลองตอบคำถาม 10 ข้อต่อไปนี้ดูอย่างถี่ถ้วนและตรงไปตรงมา เพื่อเป็นการทบทวนถึงช่วงวันที่ผันผ่าน ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และการจัดการทรัพย์สมบัติที่เตรียมการได้ล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้คุณ ‘หมดห่วง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายและจากไปอย่างสวยงาม
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lession บทความตอนแรกของซีรีส์ ‘Departure Guide’ ชวนคุณไปรู้จักกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตายดี ทั้งการเขียน Living Will และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการการุณยฆาต ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องการกำหนดช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตได้อย่างที่ต้องการ
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson บทความสัมภาษณ์ ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่างๆ และการตระหนักถึงคุณค่าความหมายสูงสุดของชีวิต เพราะชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและเราควรจะใช้ชีวิตในตอนนี้อย่างไรให้มีคุณภาพ อีกทั้งเรื่องความปรารถนาดีของเราในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่อาจกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยหรือคนที่เรารักในทางอ้อม เราจึงควรปรับทัศนคติ คำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยระยะท้ายและคนที่เรารักเป็นสำคัญ โดยการเติมเต็มความสุขที่เป็นการเคารพความต้องการซึ่งกันและกัน
คุณพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการวางแผนการเงิน ได้ให้คำแนะนำเรื่องการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่เริ่มเตรียมพร้อมได้ตั้งแต่วันนี้ ทั้งเรื่องการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต การเตรียมตัวเพื่อการรักษาสุขภาพ สิทธิขั้นพื้นฐาน การเตรียมเอกสารสำคัญการมอบอำนาจในกรณีที่เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเดินทางครั้งสุดท้ายของชีวิตที่จะมาถึงอย่างมีคุณภาพ
บทความสัมภาษณ์ นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ เรื่อง ข้อเท็จจริงของความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ป่วยระยะท้ายกับการยืดกระบวนการตายให้ยาวนานขึ้นซึ่งเท่ากับเพิ่มความเจ็บปวดทรมานให้มากขึ้น แต่เราสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการให้ผู้ป่วยและญาติได้รู้ข้อเท็จจริง เพื่อยอมรับความจริงในกลไกธรรมชาติของร่างกายมนุษย์และใช้การแพทย์สมัยใหม่ช่วยลดความเจ็บปวด โดยปล่อยให้อาการของโรคดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ สุดท้ายต้องให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวเองในการแสดงเจตจำนงในการรักษา
คุณ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบำบัดจิตด้วยการเคลื่อนไหว ได้แนะนำหลักการสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อการสื่อสารและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างญาติและผู้ป่วย อีกทั้งการผลักดันในการปรับเปลี่ยนความคิดของทุกฝ่าย ให้หันมายึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลางกับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการให้กับชีวิตของเขา และการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ โดยจะต้องไม่ผลักการตัดสินใจในการรักษาให้เป็นหน้าที่ของแพทย์เพียงผู้เดียว
บทความสัมภาษณ์ ผศ.นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ภาวะอาการสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยระยะสุดท้ายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาการสับสนเพ้อคลั่งในผู้ป่วย ซึ่งเกิดจากกลไกการทำงานของสมองที่ล้มเหลวแบบเฉียบพลันจนเกิดภาพหลอน หรือ ภาวะ Delirium เพื่อเป็นความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีสติรับรู้และเผชิญหน้ากับการจากไปได้อย่างสงบสุขที่สุด
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson คุณ ภาริอร วัชรศิริ นักเขียนเจ้าของผลงานหนังสือ How I love My Mother, How I Live My Life ได้เล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ที่นอนป่วยติดเตียงเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 11 ปี กับความผูกพัน จิตใจที่เติบโตไปพร้อมกันและการใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณค่า รวมถึงการทบทวนบทเรียนแง่คิดในการตัดสินใจกับสิ่งที่ต้องเผชิญและการยอมรับความจริงของชีวิตที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับการจากลาไม่ช้าก็เร็ว
บทความสัมภาษณ์ รศ.พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา เรื่อง บทบาทที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินและคำแนะนำความรู้ความเข้าใจต่อความเจ็บปวดในการยื้อชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหน้าที่ที่แท้จริงของห้องฉุกเฉินมีไว้เพื่อรองรับคนไข้ที่ยังมีโอกาสรอดต่อไป ไม่สามารถสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยระยะท้ายค่อยๆ จากไปอย่างสงบสุขได้ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับสิ่งสุดท้ายที่ผู้ป่วยระยะท้ายทุกคนต้องการจริงๆ คือ การลดความเจ็บปวดทรมานทางกาย หาที่พึ่งพิงทางใจ การตอบเรื่องจิตวิญญาณ การจัดการเรื่องทางสังคมและสถานที่ที่อบอุ่นเหมาะสมต่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.