Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "บทความ" พบ 244 ข้อมูล

ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง

โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน

ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง

แนะนำโครงการครูกล้าสอน

บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน”  ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วิชาชีวิต ตอน พลังกอด เยียวยาโรค

การกอด คือพลังมหัศจรรย์ สามารถเยียวยารักษาโรคได้ แม้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ถึงการกอดจะไม่ทำให้หายป่วยได้ แต่อ้อมกอดที่อบอุ่น ช่วยเติมเต็มพลังแห่งรักให้คนที่เรารักจากไปอย่างสงบสุข โดยผู้ที่นำการกอดมาเป็นศาสตร์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย คือ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ หรือ คุณแอ้ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล คุณแอ้เชื่อมั่นว่าสุขาภวะที่ดีเกิดขึ้นได้เมื่อได้รับสัมผัสที่อบอุ่น การเจ็บป่วยทำให้ผู้ป่วยเครียดและทุกข์ สิ่งแรกที่ญาติ ๆ ควรทำคือการอด การให้ความรัก เมื่อใจสู้ กายก็จะไม่ยอมแพ้  เกิดเป็นพลังชีวิตให้ก้าวข้ามความทุกข์ทรมานได้ นั่นคือ ปาฏิหาริย์ที่ยิ่งใหญ่ของ “พลังกอด”

วิชาชีวิต ตอน เข้าใจการ Shutdown (หยุดทำงาน) ของร่างกายในระยะท้าย

หากเปรียบร่างกายเป็น “บ้าน” ชีวิตและจิตใจคือไฟส่องสว่าง แผงสวิตซ์ควบคุมไฟ คือ สมอง  เมื่อร่างกายต้องจากลาด้วยโรคภัย ญาติและผู้ดูแล ต้องเรียนรู้กระบวนการจากลาอย่างเข้าใจ การเปลี่ยนของร่างกายก่อนจาก มี 3 ระดับ คือ “ไม่กล่าว” คือ พูดน้อย คิดช้าลง และมีอาการซึม, “ไม่กิน” คือ  ไม่มีความอยากอาหาร การกินอาหารเป็นการทรมาน, และ “ไม่กลืน” คือ มีอาการสำลักน้ำลาย มีเสมหะในลำคอ บางครั้งหยุดหายใจเป็นพักๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ปัทมา โกมุทบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สะท้อนมุมมองถึง ความตาย ว่าแท้จริงแล้วเป็นเหมือนการปิดไฟที่ละดวงในบ้าน เป็นการจากบ้านหลังเก่าไปบ้านหลังใหม่ที่ดีขึ้น ความตายสามารถที่จะ สวยงามได้ถ้าหากเราแปรสภาพความกลัวให้เป็นความเข้าใจ และการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำปสู่ความสงบ

วิชาชีวิต ตอน เตรียมนับวัน : หนุ่มเมืองจันท์ ชวนเตรียมตัวสำหรับชีวิตระยะท้าย

คุณคิดว่าเวลาเกิด และเวลาตายอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต เวลาเกิดเราสามารถกำหนด และรู้วันเวลาเกิดได้ แต่จะมีสักกี่คนที่กำหนดเวลาตายที่แน่นอนได้ บางคนเมื่อเวลาที่จะจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้ามาถึง คนไข้และญาติๆ เอง บางก็กลัว บางก็เครียด และรู้สึกกังวลค้างคาใจ  หนุ่มเมืองจันท์ นักคิด-นักเขียน และ อาจารย์พรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล ผู้นำศาสตร์บำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยพลังกอด  ได้ร่วมพูดคุยเพื่อมอบกุญแจดอกสำคัญในการเรียนรู้ เข้าใจ และเตรียมตัวนับวันที่จะเดินทางในปั้นปลายของชีวิตไปสู่บ้านแห่งความสงบอย่างอิ่มเอม  

วิชาชีวิต ตอน เตรียมลาจาก : เตรียมช่วงเวลาที่ต้องจากกัน คำตอบจากประสบการณ์ผู้ดูแล พ่อตุลย์ เพจแม่นุ่น

คุณอรทัย ชะฟู  จิตอาสาเพื่อนร่วมเดินทางเยียวยาจิตใจผู้ป่วย และคุณวิทวัส โลหะมาศ (พ่อตุลย์) ผู้ดูแลแม่นุ่นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย ให้จากไปอย่างสงบงดงามพร้อมแบ่งปันประสบการณ์ผ่านเพจแม่นุ่น ที่มีผู้ติดตามกว่า 600,000 คน  ได้มาเล่าถึงประสบการณ์การเตรียมตัวเพื่อลาจากของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ว่า “การเตรียมลาจากไม่ใช่หน้าที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากเป็นสิ่งที่ต้องสร้างคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นร่วมกันทั้งผู้ดูแล และผู้ที่กำลังจะจากไป” โดยปกติผู้ป่วยก็มีภาวะเครียดอยู่แล้วจากโรคที่เป็น ผู้ดูแลจึงต้องไม่สร้างภาวะนั้นอีก ขณะเดียวกันผู้ดูแลต้องเรียนรู้และเข้าใจ เพื่อจัดการความเครียดของตนเองด้วยเช่นกัน เพื่อทำทุกช่วงเวลาที่มีอยู่ในขณะปัจจุบันให้ดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อเตรียมตัวในการลาจากอย่างมีความสุข ผู้ดูแลต้องทำหน้าที่เสมือนเป็น “หมอน้อย” (Little Doctor) ที่อยู่เคียงข้างดูแลผู้ป่วยทั้งกายและใจ

วิชาชีวิต ตอน เตรียมประคับประคอง : การต่อสู้ระหว่าง ความรัก กับ ความรัก เปิดใจถามโดยดีเจพี่อ้อย

จากประสบการณ์การรักษาทางการแพทย์ คนเราจะรู้ตัวว่าจะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ประมาณ 3 เดือนก่อนช่วงสุดท้าย ทีมผู้ดูแลต้องเรียนนรู้ที่จะอยู่กับผู้ป่วยอย่างเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วย “การดูแลรักษาแบบประคับประคอง” การดูแลแบบนี้เป็นการมอบความสุขสุดท้ายของชีวิตให้ผู้ป่วย ไม่ใช่แค่การรักษาทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลคุณภาพชีวิต จิตใจ และความต้องการที่ค้างคาใจของผู้จากลาให้จากไปอย่างสงบในชีวิตจริง ๆ   ผู้ป่วยบางคนอาจมีการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข หรือ Living Will เพื่อต้องการวางแผน “ตายดี” ไม่ต้องการทุกข์ทรมาน ดังนั้น ผู้ป่วย และญาติของผู้ป่วย ต้องเรียนรู้ และหารือพุดคุยกัน เพื่อการเตรียมประคับประคองการต่อสู้กันระหว่าง “ความรัก “ ความห่วงใยที่ไม่อยากให้คนที่รักเจ็บปวด กับ “ความรัก” ความอาลัยที่ไม่อยากจากคนที่รัก

วิชาชีวิต ตอน เตรียมหรือไม่เตรียม : ชวนรู้จักคุณภาพชีวิตระยะท้าย ในสไตล์ จ่า Drama addict

เมื่อคนเราเดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย ต่างคนต่างเป็นห่วงกัน  ดร.เจษฎา ศาลาทอง, นายแพทย์ วิทวัส ศิริประชัย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ กกติพล นาควิโรจน์ ได้ล้อมวงคุยกันว่าเมื่อเวลาการจากไปมาถึง เราควรมีการเตรียมตัวตายอย่างไร ? การดูแลแบบประคับประคอง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพื่อให้คนไข้พบกับความสุขสุดท้าย หรือ การ “การุณยฆาต” เป็นการวางแผน เพื่อการตายดีจริงหรือ ? แล้ววิธีไหนที่หมาะสมกว่ากัน หรือไม่อย่างไร ? ถึงเวลาแล้วที่เราควรมาเริ่มต้นวางแผนการตาย เพราะนั้นไม่ใช่สิ่งอัปมงคล แต่เป็นการวางแผนชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง

วิชาชีวิต ตอน เตรียมตาย : เคลียร์เรื่องเตรียมตายทั้งกายและใจกับ อุ๋ย บุดดา เบลส

”เรื่องเตรียมตัวตายเป็นเรื่องน่าสนใจ มีประโยชน์ตรงที่พวกเราได้มาเตรียมตัวกันก่อน เหมือนติวก่อนถึงวันสอบจริง เพราะทุกคนต้องไปสอบไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม” อุ๋ย บุดดา เบลส ได้สรุปความคิดเห็น หลังจากได้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองกับ รศ. พญ. ปัทมา โกมุทบุตร  เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนเตรียมตัวตาย เป็นเรื่องที่ผู้ป่วย และ ญาติ ๆ ต้องพูดคุยกัน และยอมรับความคิดเห็นของกันและกัน  เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ที่กำลังจากไป และผู้ที่ยังคงดำเนินชีวิตอยู่  สิ่งแรกที่ต้องทำในการเตรียมตัวตาย คือ “การยอมรับความจริง” เมื่อกายป่วย ใจต้องไม่ป่วย  การรักษาดูแลลด้วยการประคับประคอง จะทำให้คุณภาพชีวิตปั้นปลายพบกับความสงบที่งดงาม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.