Filter
ประเภทสื่อ
ประเภทสื่อ "งานวิชาการ และกฎหมาย" พบ 58 ข้อมูล

การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD

รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

การสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษากลยุทธ์และเทคนิคการสื่อสารการตลาดในสื่อออนไลน์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเลือกศึกษาการสื่อสารการตลาดในช่องทางเฟซบุ๊ก ของแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มียอดการใช้จ่ายสูงสุดในช่วงหลักพันล้านบาทถึงหลักล้านบาท และเป็นแบรนด์ที่มีเพจจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 30,000 คนขึ้นไปโดยมีความเคลื่อนไหวอัพเดทสถานเนื้อหาและข้อความตลอดระยะเวลาการศึกษา ทั้งนี้ระยะเวลาการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วงวันสำคัญทางศาสนาและการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบชิงชนะเลิศ และช่วงเหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2557 ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนในการรู้เท่าทันการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จะส่งผลต่อสุขภาพของคนในสังคม

การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน

จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก

จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป

การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557

   หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย    งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่  

ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)

Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น

สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น

งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก  ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม  เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป

รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์

งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้  ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.