สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
ค้นหา
บรรณาธิการ นักเขียน นักเดินทาง "คุณมนทิรา จูฑะพุทธิ" ผู้ชัดเจนในเส้นทางของตัวเองมาตลอด เธอเรียนรู้ ผ่านการพูดคุยสัมภาษณ์ผู้คนมากมาย และการเรียนรู้ที่ชัดเจนมากๆ อีกแนวทางหนึ่งของเธอ คือ การเดินทาง
จากเด็กวัยรุ่นที่เติบโตขึ้นมา ท่ามกลางสายตา และความสนใจของสังคม เขามีหลายบทบาท ไม่ว่าจะนักกิจกรรม นักแสดง พิธีกร นักเขียน นักดนตรี และนักเดินทาง แต่ละช่วงชีวิตให้การเรียนรู้และบทเรียนแก่เขาในแง่มุมต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่น่าสนใจ ในฐานะ "นักเรียนรู้" บนเส้นทางการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของ “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล”
คุณปิลันธน์ ไทยสรวง ผู้ก่อตั้งแบรนด์ "ภูคราม" จากความตั้งใจอันแรงกล้า ที่อยากกลับไปใช้ขีวิตที่บ้านเกิด อยากกลับไปอยู่กับพ่อแม่ และอยากให้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นตัวเองได้พัฒนาและสืบทอด เธอพยายามและตั้งใจค่อยๆ แก้ปัญหา เอาชนะอุปสรรค ด้วยการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปทุกวันแบบไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และอยู่กับมันอย่างเข้าใจ
จากคนที่เติบโตมาในครอบครัวนักธุรกิจ ร่ำเรียนและทำงานในวงการธุรกิจ แต่วันหนึ่ง คุณวิลิตกลับค้นพบว่า อาชีพนักธุรกิจ ไม่ใช่เป้าหมายในชีวิตที่เลือกจะดำเนินต่อไป เค้าเลือกทางเดินที่แตกต่าง เริ่มเรียนรู้ ค้นหาและเลือกวิถีการเป็นเกษตรกรเพื่อสังคม ที่กลับสร้างแรงบันดาลใจและความสุขให้มากกว่า
ป้ามล ทิชา ณ นคร ผู้หญิงที่เป็นทั้งครู นักสิทธิเด็ก เยาวชน และสตรี และ ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก หน่วยงานราชการในสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม ผู้บุกเบิกแนวทางดูแลเยาวชนที่ก้าวพลาดและต้องคดีด้วยวิธีคิดใหม่ ไม่คุมขัง แต่สร้างความเข้าใจปลุกจิตสำนึกด้านดีของพวกเขาให้กลับมามีพลังเพื่อคืนคนดีกลับสู่สังคม
"ครูเล็ก - ภัทราวดี มีชูธน" เป็นทั้งนักแสดงฝีมือเยี่ยมไม่ว่าจะในสาขาภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และละครเวที เป็นนักเต้น ผู้กำกับ เป็นตำนานด้านการแสดงของเมืองไทย ที่มีผลงานมากมาย เป็นครูที่สอนด้านการแสดงให้ลูกศิษย์ลูกหาหลายต่อหลายรุ่น และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี 2557 จากลูกสาวคนเล็กของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และคหบดีตระกูลเก่าแก่ แต่ครูเล็กถูกเลี้ยงดูอย่างทันสมัยอย่างยิ่ง ครูมีครอบครัวที่เข้าใจ มีคุณแม่เป็นแบบอย่าง ที่ส่งเสริมให้ครูเลือกทางเดินที่ชอบได้อย่างเต็มที่ #LifeisLearning ของครูเล็ก สะท้อนสิ่งเหล่านั้นออกมา อย่างทรงพลัง
ดีเจอ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล นักเรียนรู้ที่อยู่ในแวดวงการใช้เสียง และการ "ฟัง" เรื่องราวของคนอื่น ที่เป็นเรื่องเล่าสอนใจใครหลาย ๆ คน แต่ชีวิตจริง ๆ ของเธอก็น่าสนใจจเรียนรู้และเป็นตัวอย่างเช่นกัน
ศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ ที่ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อดวงตามองไม่เห็น และเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเรียนรู้ว่า คนตาบอด ไม่ได้ไร้ค่า คนตาบอดทำได้ทุกอย่าง และท่านส่งต่อความเชื่อและความเข้มแข็งนั้นให้ทั้งผู้ที่มองเห็นและมองไม่เห็น ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีความมั่นใจ
Short Clip Series "The Learner" ถ่ายทอดเรื่องราวนักเรียนรู้ ต่างเพศ วัย อาชีพ และบทบาท เพื่อให้เห็นว่า ทุกชีวิตสามารถมีการเรียนรู้ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองได้ ทำให้เราเข้าใจและเปลี่ยนแปลงจากภายในของตน
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า? บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง? ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์... คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.