ประเภทสื่อ
สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย)
สื่อสร้างสรรค์ของภาคี จำนวนทั้งหมด 288 ข้อมูล

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง เหตุเกิดที่ห้องเรียน บ้านการ์ตูน

หยิบเรื่องราวเท่าทันสื่อ ถ่ายทอดผ่านลายเส้นการ์ตูนไทย เรื่องราวตอนนี้เกิดขึ้น ณ  บ้านการ์ตูน จ. พะเยา ครูสอนศิลปะแปลกใจ  เด็กๆ หายไปจากห้องเรียนกันหมด มีเพียง ด.ช. ก็อต ที่ยังอยู่ในห้องเรียน และบอกว่าที่เพื่อนๆ หายไปเพราะไปร้านเกมเล่นอินเทอร์เน็ต ครูศิลปะจึงออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กวาดรูปโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ และสื่อออนไลน์ที่เสพได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ต้องใช้อย่างพอเพียง และไม่เสพติดสื่อออนไลน์มากเกินไป มิเช่นนั้นจะเกิดภัยที่ตามมา เพราะคลื่นแม่เหล็กในโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้สมองเสื่อม หูอักเสบ ฯลฯ

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง แฟชั่น

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง โชคที่มาไม่ถึง

การ์ตูนไทยในบทบาทสื่อสร้างสรรค์สุขภาวะ เนื้อเรื่องตอนนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณา ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ 'ทอง ทำบุ' และ 'นางลา' สองสามีภรรยา เป็นชาวมุกดาหาร ที่เข้ามาทำงานและอยู่กินที่เมืองหลวง ทองทำงานเป็น รปภ. อยู่ที่โกดังแห่งหนึ่ง พอทราบข่าวโฆษณาว่าน้ำดื่มบำรุงยี่ห้อหนึ่งหนึ่ง แจกโชค สะสมฉลากครบ 100 ชิ้น จะได้รับทีวีจอยักษ์ นายทองและนางลา จึงตั้งหน้าตั้งตาซื้อน้ำดื่มบำรุงกำลังกินจนครบ แต่พอเอาฉลากไปแลกกลับไม่เป็นดังหวัง ...เพราะแท้จริงนั้นคือ การโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค ซ้ำร้ายการดื่มน้ำดื่มบำรุงเกินขนาดจะผลเสียต่อสุขภาพ

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ชีวิตรูดปื๊ด

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ทางเลือกใหม่ของปานจันทร์

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง ศึกจอมมาร

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง สวยเลือกได้

KiDCHEN สูตรเด็ดรายการเด็ก

คู่มือเพื่อการผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ครอบคลุมรวมถึงการผลิตคลิปที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กในโลกออนไลน์ มีที่มาจากหลักสูตรและการจัดอบรมผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กหน้าใหม่โดยสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน โดยเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านหลายมุมมอง ตั้แงต่นักวิชาการ นักแต่งนิทาน นักสื่อสาร นักคิด ผู้ผลิตรายการมืออาชีพ ทีมงานโปรดักชั่น และหน่วยงานที่สนับสนุนการสร้างสื่อเด็ก เรียบเรียงเนื้อหาครบถ้วนตั้งแต่การบอกสถานการณ์และความสำคัญของสื่อทีวีกับเด็ก โอกาสของการพัฒนารายการเด็ก รูปแบบรายการเด็กที่ผู้ปกครองและเด็กอยากดู ข้อควรระวัง สูตรสำเร็จของการทำรายการเด็กที่มีคุณภาพ ไปจนถึงขั้นตอนการประเมินผล เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องการทำรายการเด็กอย่างแท้จริง

การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น

งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก  ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม  เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.