คู่มือจิตอาสา โดย ธนาคารจิตอาสา
การเป็นจิตอาสาที่ดีต้องเริ่มต้นที่ “ใจ” ถามใจตัวเองก่อนว่ารักที่จะทำงานอาสาจริง ๆ มิใช่ทำตามกระแส เมื่อเรารักที่จะทำงานอาสาแล้ว ก็ต้องหาข้อมูลงานที่เราจะไปช่วยเหลือ เพราะงานอาสามีหลากหลายรูปแบบ บ้างเป็นการลงแรง บ้างเป็นการปันเวลา เราต้องเลือกงานที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม จากนั้นก็ลงมือลุย !!! เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในงานอาสา หรือเพื่อไปแบ่งปันให้พร้อม และไปร่วมงานให้ตรงเวลา เมื่อกลับจากการทำกิจกรรมอาสา แล้วอย่าลืมมาทบทวนตนเอง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนอาสาคนต่อ ๆ ไป สนใจทำงานอาสา คลิก www.JitArSaBank.com
รู้จักธนาคารจิตอาสา
สังคมดีต้องใช้อะไรสร้าง ? เงิน หรือ แรงงาน สิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ก็คือ “เวลา” ในแต่ละวันคนเรามีเวลาเท่ากัน แต่ละคนจะใช้เวลาอย่างไรให้ก่อประโยชน์กับสังคม บางใช้เวลากับการทำงาน ใช้เวลากับการเดินทาง ใช้เวลากับการเที่ยวและดูหนัง จะดีกว่าไหม ถ้าเรานำเวลาอันมีค่าไปฝากที่ธนาคารจิตอาสา เพื่อแบ่งปันเวลานั้นมาสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม ธนาคารจิตอาสาจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับองค์กรอาสา เพื่อแจ้งข่าวงานอาสาที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสมให้กับทุกคน ไม่จำกัดเพศ วัย และอาชีพ ทุกคนสามารถลงแรง ปันเวลา เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ร่วมกัน สนใจสมัครออมเวลาที่ธนาคารจิตอาสา คลิก www.JitArSaBank.com
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง
Child Online Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย
บนเส้นทางครู (กล้าสอน รุ่น ๒)
“ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง หลักสูตรการอบรมกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ให้แก่ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้ร่วมอบรมไปปรับใช้ฟื้นฟูชีวิตและทบทวนบทบาทของตัวเอง สร้างพลัง สร้างแรงบันดาลใจในการสอน รวมถึงทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการยอมรับในความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและนักเรียน เพื่อช่วยกันสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียนต่อไป
คฑา มหากายี : ใช้โลกนี้เป็นห้องเรียน แล้วให้เด็กๆ รู้จากประสบการณ์ตรง
คฑา มหากายี เจ้าของโรงแรมพระนครนอนเล่น นักธุรกิจที่เชื่อมั่นในวิถีแห่งธรรมชาติ กับการตั้งคำถามถึงระบบการศึกษาไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีข้อจำกัดและยังไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชีวิตหลากมิติของมนุษย์ได้ จึงได้เกิด ”บ้านเรียน” หรือ Home School ด้วยกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์โดยใช้โลกแห่งธรรมชาติ ต้นไม้ ลำธาร ท้องฟ้าและผืนดินเป็นห้องเรียน เพื่อสร้างวินัยและให้เด็กได้เรียนรู้ชีวิตจากประสบการณ์จริง
ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน
‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
ออกแบบการเรียน เปลี่ยนคำว่า ต้องรู้ เป็น อยากรู้
กิจกรรมการอบรม “ครูกล้าสอน” ชุดการเรียนรู้ที่ 3 “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” เป็นการทบทวนเนื้อหาการเรียนรู้และการนำไปปฏิบัติจริงจากชุดการเรียนครั้งที่ผ่านมา ครูอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมในหลักสูตรครั้งนี้ ได้เรียนรู้หลักการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วิธีการกระตุ้นความสนใจ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีพลัง สนับสนุนช่วยเหลือและไว้วางใจต่อกัน ผ่านกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาการออกแบบการเรียนรู้ในห้องเรียนให้ดียิ่งขึ้น
มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์
'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561
Courage to Teach ชวนครูเปลี่ยนห้องเรียนด้วยความกล้า
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” จากทีม new spirit ภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่จะช่วยผลักดันระบบการศึกษาในประเทศไทยให้ดีขึ้น ด้วยการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพในตัวครู ในหลักสูตรของโครงการมีอยู่ 3 ชุดการเรียนรู้ด้วยกันคือ “ครูผู้ตื่นรู้ในตน” “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” และ “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักคือ ครู อาจารย์ ในสถาบันอุดมศึกษา เพราะนอกจากครูจะต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาที่ตนเองสอนแล้ว ครูยังจะต้องมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจและทบทวนตัวเอง รวมถึงต้องเข้าใจจิตใจของนักเรียนในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์
วิทยาศาสตร์ อำนาจ และครู : วิลาวัลย์ สินธุประภา
วิลาวัลย์ สินธุประภา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ครูในโครงการครูกล้าสอนกับความกลัวและมุมมองในการสอนก่อนเข้าร่วมอบรมในโครงการและสิ่งที่ได้รับภายหลังเข้าร่วมในโครงการ ทั้งเรื่องการนำความรู้มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพและทบทวนบทบาทของตัวเอง แรงบันดาลใจในการสร้างคุณค่าให้กับครูผู้สอนในการพัฒนาคน มุมมองการสอนที่เปิดกว้างและสร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งสามารถนำมากระตุ้นให้นักเรียนเปิดรับกับวิชาที่เรียนและสนุกไปกับการเรียนในชั้นเรียนได้
บทความจากนิตยสารสุขแนะนำโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
หลักสูตร “ครูกล้าสอน” เป็นหลักสูตรสำหรับครูอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้ครูได้ทบทวนชีวิตความเป็นครู ด้วยการยอมรับตัวเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่อาจจะไม่สมบูรณ์แบบพร้อม แต่พร้อมเปิดใจรับฟังและสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนผู้เรียน เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้มีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและเข้าใจและเอื้อต่อการเกิดพลังสร้างสรรค์ โดยครูที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ จะต้องผ่าน 3 ชุดการเรียนรู้ คือ 1. “ครูผู้ตื่นรู้ในตนเอง” เพื่อให้ครูฟื้นฟูพลัง และเข้าใจตนเอง 2. “ครูผู้ตั้งคำถามทรงพลัง” ฝึกทักษะตั้งคำถามเพื่อปลุกความคิดสร้างสรรค์ในตัวนักเรียน และ 3. “ครูผู้ออกแบบการเรียนรู้” ฝึกทักษะการออกแบบการเป็นผู้นำการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์
ปวีณ์กร สุรบรรณ์ : ครูมือใหม่ในหมู่เด็กช่าง
โบว์ ปวีณ์กร สุรบรรณ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา ครูในโครงการครูกล้าสอน ได้นำประสบการณ์และกระบวนการฟังที่ได้เรียนรู้จากโครงการมาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง เพื่อแก้ไขการติดอยู่ในกรอบแห่งความกลัวในการสอนและความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันในชั้นเรียน โดยได้นำหลัก Childs Center คือ เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ทั้งครูผู้สอนและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ร่วมกัน