เปิดงาน 30 ปี มพด.- รศ.ดร.โคทม อารียา
คลิปวีดิโอบันทึกภาพการกล่าวเปิดงานครบรอบ 30 ปี มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดย ดร.โคทม อารียา ประธานมูลนิธิฯ ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2555
ศิลปะเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์ - 3
คลิปวีดิโอประมวลภาพค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อสารสร้างสรรค์ "ศิลปะเพื่อการสื่อสาร" โครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในภาวะวิกฤติ วันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2555 ตอนสุดท้ายนี้ เด็ก ๆ ได้ออกไปเยี่ยมชมสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้เห็นการทำงานจริง ๆ ของนักสื่อสาร ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และสุดท้ายเด็ก ๆ แต่ละกลุ่มจะออกมานำเสนอผลงานสื่อสารสร้างสรรค์ของตัวเอง โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและความเชื่อมั่นของเด็กๆ
ศิลปะเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์ - 2
คลิปวีดิโอประมวลภาพค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อสารสร้างสรรค์ "ศิลปะเพื่อการสื่อสาร" โครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในภาวะวิกฤติ วันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2555 ตอนที่ 2 นี้ เด็ก ๆ จะได้ฝึกศิลปะการสื่อสารในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการวาดทราย การปั้นดิน ขีดเขียน พับตัด เพื่อเตรียมตัวสู่การเป็นนักสื่อสารที่สร้างสรรค์
ศิลปะเพื่อการสื่อสารสร้างสรรค์ - 1
คลิปวีดิโอประมวลภาพค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อสารสร้างสรรค์ "ศิลปะเพื่อการสื่อสาร" โครงการสื่อสารสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กในภาวะวิกฤติ วันที่ 22 - 26 ตุลาคม 2555 โดยในตอนแรกไปชมบรรยากาศพิธีเปิด กิจกรรมฝึกนักสื่อสารเชิงประเด็นและดนตรีเพื่อการสื่อสาร
ทอดผ้าป่าสามัคดีสร้างอาคารเพื่อการเรียนรู้
คลิปวิดีโอภาพบรรยากาศงานระดมทุนทอดผ้าป่าสามัคคี สร้างอาคารเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ ฟื้นฟูและเยียวยาเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก โดยมุ่งหวังให้อาคารแห่งนี้เป็นพื้นที่ให้เด็กกลุ่มนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้เล่น และมีโอกาสพัฒนาเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ พร้อมบทสัมภาษณ์ ดร.โคทม อารียา ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กและผู้ร่วมสมทบทุนทอดผ้าป่าอาคารครั้งนี้
ผ้าป่าสร้างอาคารแด่น้อง
คลิปบรรยายธรรมโดยพระไพศาล วิสาโล จากงานระดมทุนทอดผ้าป่าสามัคคี สร้างอาคารเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้ ฟื้นฟูและเยียวยาเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
ขอพื้นที่เล่น
คลิปวีดิโอรณรงค์ขอพื้นที่เล่นและพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็ก ๆ ผ่านศิลปะการวาดทรายเล่าเรื่อง เนื้อหามุ่งให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้มองเห็นและเข้าใจความสำคัญของพื้นที่เล่นและพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีต่อการพัฒนาเด็ก ขอพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กได้เล่น...ขอพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กได้มีชีวิต...
ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ChildLaw
แอนิเมชั่นรณรงค์ให้สังคมช่วยกันต่อต้านแรงงานเด็ก บทสรุปภาพรวมสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 - 2557 เสนอแนะสังคมเพื่อช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนมาตรการลงโทษผู้ใช้แรงงานเด็กอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมเบอร์ติดต่อให้ทุกคนในสังคมช่วยเป็นหูเป็นตาอย่าให้ขบวนการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นในสังคมต่อไป
ปฏิวัติกำแพงหัวลำโพง ขั้นที่ 2
หลังจากทำความสะอาดรอบหัวลำโพงแล้ว ก็ได้เวลาที่จิตอาสาจะมาช่วยกันเปลี่ยนกำแพงหัวลำโพงที่เคยสกปรกให้กลายเป็นกำแพงศิลป์ที่สวยงามด้วยภาพวาดจากฝีมือของตัวเอง สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ไม่ใช่แค่กำแพงศิลป์สวย ๆ แต่นี่ยังหมายถึงสัญลักษณ์ความร่วมมือร่วมใจของชุมชนที่จะช่วยกันดูแลพื้นที่ของตัวเองให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์สูงสุด
ปฏิวัติกำแพงหัวลำโพง ขั้นที่ 1
ภาพบรรยากาศการร่วมมือร่วมใจทั้งเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก จิตอาสา เจ้าหน้าที่ และชาวบ้านชุมชน ในโครงการรองเมืองเรืองย้ิม กับปฏิบัติการหัวลำโพงเรืองยิ้ม หลายแรงแข็งขันช่วยกันทำความสะอาดเพื่อเตรียมพื้นที่ในการพัฒนาหัวลำโพงให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ต่อไป
ครัวหลังเขา ต้มขม(ลีซู)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้เป็นตอนแรก พาไปรู้จักชาติพันธุ์ลีซู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ รับประทานพืชผักสมุนไพรในอาหารเพื่อการดูแลสุขภาพ เมนูอาหารสาธิตในตอนนี้คือ "ต้มขม" มีวัตถุดิบเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นที่มีอยู่ในป่า พระเอกคือสมุนไพรที่ชื่อ "ดีงูหว้า" สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ปรับสมดุล เมื่อนำมาปรุงอาหารเป็นเมนู "ต้มขม" แล้ว จะนำไปรับประทานในพิธีเรียกขวัญหรือพิธีมงคลอื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายถึงสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
ครัวหลังเขา ลาบพริก(บีซู)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้มารู้จักชาวบีซู จ.เชียงราย คำว่า "บีซู" หมายถึงมนุษย์ที่แท้ อาศัยอยู่ที่ จ.เชียงรายแห่งเดียว ปัจจุบันยังคงวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเองอยู่ได้อย่างเหนียวแน่น ทั้งการแต่งกาย ภาษา รวมถึงเมนูอาหารของชาวบีซู เช่น เมนูลาบพริก ที่ใช้วัตถุดิบมาจากพืชพรรณในท้องถิ่น เช่น พริก ขิง ยอดผักไผ่ ส้มป่อย ตะไคร้ ใบหอมแป้น(กุยช่าย) ฯลฯ เอกลักษณ์อยู่ที่วิธีการลาบหรือการสับ จะทำในกระบอกไม้ไผ่ เป็นเมนูอาหารสุขภาพที่มักรับประทานกันในมื้อกลางวันของครอบครัวหรือในงานเกี่ยวข้าวของชุมชน