จุลสารศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม-กันยายน 2558
เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นำหลัก 3 ดีมาช่วยในการพัฒนาเด็กปฐมวัย นำสู่สุขภาวะที่ดีครบทุกมิติ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จากนั้นพาไปรู้จักสินไซหรือสังข์ศิลป์ชัย ศิลปะพื้นบ้านท้องถิ่นภาคอีสานที่กำลังจะสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและสังคม รวมถึงบทบาทของละครที่จะช่วยสร้างสุขภาวะ ปรับเปลี่ยนทั้งร่างกายและจิตใจ
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนกันยายน-ตุลาคม 2559
เปิดโครงการประกวดสื่อรณรงค์สร้างสรรค์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' พร้อมสถานการณ์ข้อมูล ปัญหาของเหล้าที่มีต่อสุขภาวะเยาวชน ตั้งแต่ร่างกาย จิตใจ ไปจนถึงทำลายความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและชุมชน
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่25 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2559
ฉบับพิเศษเนื่องในวาระความสูญเสียของคนไทยทั้งชาติ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรียนรู้คำพ่อสอน เรื่องเล่าจากราษฎรถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในดวงใจ ผู้สถิตอยู่ในดวงในราษฎร์ตลอดกาล
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่26 เดือนมกราคม 2560
ฉบับพิเศษเรื่องราวของศิลปินเพื่อพ่อ รวมเรื่องเล่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ยังคงประทับอยู่ในใจของศิลปินต่าง ๆ สานต่อเป็นแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อสังคมต่อไป
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่27 เดือนกุมภาพันธ์ 2560
เปิดข้อมูลและสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไทย สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร ส่งผลถึงบทบาทของโรงเรียนและผู้ปกครอง ที่จะเป็นกลไกสำคัญทำให้เด็กไทยไม่อ้วน ด้วยการลดอาหารหวานมันเค็ม ปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าประทับใจแสงสว่างกลาใจราษฎร์ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่28 เดือนมีนาคม 2560
รู้จัก 3 โครงการสร้างสรรค์ เปลี่ยนความคิดเล็ก ๆ ให้กลายเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยิ่งใหญ่ ทั้งโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้) การอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ระยะที่ 2 และปิดท้ายด้วยพลังจิ๋วแต่แจ๋ว สร้างนักสื่อสารสุขภาวะรุ่นใหม่ภาคใต้ ในโครงการคิดดีไอดอล
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่29 เดือนเมษายน 2560
ทำความรู้จักกับการโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ 'อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' ก่อนถึงการประกาศผลการประกวด มาพูดคุยกับ 5 ผู้กำกับ กับตัวอย่าง 5 สื่อรณรงค์ของโครงการ พร้อมเปิดเผยสถิติตัวเลขสำคัญของสถานการณ์เหล้าในสังคมไทย
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่30 เดือนพฤษภาคม 2560
คำว่า Spark U คำนี้มีความหมาย และกำลังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย ตัวอย่างเช่น การนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาปลุกใจคนภาคอีสานให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน ต่อด้วยการไปรู้จัก พบปะ พูดคุยกับทีมหมอลำหุ่นคณะเด็กเทวดา กว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่ง่าย ๆ และผลการประกวดโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่31 เดือนมิถุนายน 2560
รู้จักโครงการ Spark U หรือปลุกในเมือง ในท้องถิ่นภาคอีสาน แต่ละจังหวัดรวมพลังกันเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ให้กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ย้อนวันวานนำศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นกลับมาสร้างสีสัน พัฒนาสุขภาวะเยาวชนและคนในชุมชนให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืน
ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล
การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน
STOP THAILAND FAKE TALENT
จากเหตุการณ์รายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง นำเสนอเนื้อหาหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เครือข่ายภาคีสื่อเด็กและเยาวชน จึงออกมาขับเคลื่อนหยุดการนำเสนอดังกล่าว โดยอ้างอิง พรบ. ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 37
แนะนำสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
แนะนำ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน หรือ สสย. ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) มีพันธกิจพัฒนาคุณภาพสื่อ ช่องทางสื่อ และพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างเสริมกระบวนการรู้เท่าทันสื่อและองค์ความรู้ต่างๆ ทำงานประสานเครือข่ายภาคี และร่วมผลักดันนโยบาย และกฎหมายเพื่อสร้างโอกาสให้สื่อเด็กและเยาวชน