ชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา
น่าดีใจที่ชุมชนห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดตรัง มีกระแสของการดูแลใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โดยที่ทั้งชุมชนและทีมสุขภาพต่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมซึ่งกันและกัน นำโดย พระกฎษดา ขนฺติกโร ประธานชมรมชายผ้าเหลือง และผู้นำสังฆะแห่งการเยียวยา ชมการทำงานและแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ในวีดีโอชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
Care Club1 ชุมชนกรุณา
ผู้ดูแล คือผู้ที่มีส่วนอย่างมาก ในการกำหนดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย แต่ผู้ดูแลจำนวนมาก รับภาระในการดูแลอย่างหนัก หลายครอบครัวมีผู้ดูแลหลักเพียงคนเดียว และดูแลอย่างยาวนาน ต้องเผชิญความคาดหวังและความเครียดนานา แคร์คลับ คือกลุ่มเพื่อนชวนสนทนา และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อดูแลผู้ดูแล โดยหวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูแลได้รับความเข้าใจ และได้รับการดูแลจิตใจ เพื่อที่จะกลับไปดูแลทั้งผู้ป่วยและตนเอง ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี จัดทำโดย กลุ่ม Peaceful Death โครงการชุมชนกรุณาเพื่อการอยู่และตายดี สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
ชุมชนกรุณา Manifesto
เพราะการเผชิญความสูญเสียเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของชีวิต หน้าที่การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี จึงไม่อาจจำกัดเพียงครอบครัว บุคลากรสาธารณสุข เท่านั้น หากเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ตามความศักยภาพ ความสามารถ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่ ขอเพียงมีความกรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่กำลังเผชิญความสูญเสีย แม้การช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ชุมชนกรุณา คือแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้สามารถดูแลผู้เผชิญความสูญเสีย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล โดยเน้นการป้องกันความทุกข์ การบรรเทาความรุนแรง และการเยียวยาฟื้นฟู ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคสุขภาพและภาคสังคม การทำงานโดยวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ในชุมชน การขับเคลื่อนชุมชนกรุณา สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มองค์กร ระดับโครงสร้างนโยบาย หรือในระดับวัฒนธรรมของสังคม
I SEE U: ชุมชนกรุณา
I SEE U คือกลุ่มอาสา เยียวยาจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำทีมโดยคุณอรุณชัย อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ นอกจากกลุ่ม I SEE U จะอบรมอาสาสมัคร ให้มีทักษะเยี่ยมผู้ป่วยในกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ยังจัดกิจกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และให้กำลังใจบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ติดตามการดำเนินงานของกลุ่ม I SEE U ได้ที่เพจ I SEE U Contemplative Care และอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/กว่าจะมาเป็น... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION
โควิดกับการตื่นรู้
ก่อนหน้านี้ เราใช้ชีวิตกันอย่างปกติสุขบนบทบาทวิถีแห่งความเร่งรีบ แต่โลกก็ต้องหยุดชะงักลง เพราะเกิดปรากฏการที่ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยผู้คนสวมใส่หน้ากากอนามัย ภายหลังที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ผู้คนต่างล้มตายกันราวกับใบไม้ร่วง โควิดกับการตื่นรู้ บทความสร้างการตระหนักรู้ เพื่อให้เราใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ ด้วยข้อคิดจากธรรมะ ที่จะช่วยให้เรารู้เท่าทันความคิดตนเองและยอมรับว่าทุกสิ่งในโลกล้วนแล้วไม่อาจหนีพ้นกฏเกณฑ์ความจริงของธรรมชาติไปได้
3 ข้อดีของโควิด-19 จากพระไพศาล วิสาโล
บทสนทนาตอบข้อสงสัยของทางโลกด้วยทางธรรมระหว่าง ธนญชัย ศรศรีวิชัย หรือ ต่อ ฟีโนมีน่า ผู้กำกับหนังชื่อดัง กับพระไพศาล วิสาโล เพื่อส่งต่อข้อคิดดีๆ ให้แก่สังคมไทยในวันที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสถานการณ์อันวิกฤตที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง เรื่องโอกาสในการเรียนรู้..การยอมรับความจริง โอกาสในการเรียนรู้การมีสติและโอกาสแสดงความเอื้อเฟื้อ..ให้แก่กันและกัน เพื่อให้เราดำรงชีวิตในช่วงวิกฤติของโรคระบาดได้อย่างเท่าทันและมีความตระหนักรู้
ร่วมสร้าง ชุมชนแห่งความตื่นรู้ ขับเคลื่อนสังคมสู่สันติสุขอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันเราต่างดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัล ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่นำมาซึ่งความขัดแย้ง ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่อาจทำให้หลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะผ่านมันไปได้อย่างไร? โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดยมูลนิธิสหธรรมมิกชน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความตื่นรู้ให้ผลิบานขึ้นในสังคม เชื่อมผู้คนให้เกิดขึ้นเป็นชุมชนเล็กๆ ที่แลกเปลี่ยนการเรียนรู้และสร้างการเติบโตทางจิตวิญญาณ เพื่อให้ทุกชีวิตสามารถยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงได้
บทสนทนาเปลี่ยนโลก เปลี่ยนเรา
บทความสนทนาของเช้าธรรมดาๆ วันหนึ่งที่กระตุกให้ผู้คนตื่นรู้ ของคุณนันท์ วิทยดำรง โปรดิวเซอร์ระดับตำนานแห่งวงการทีวีไทย นักเขียน นักแปลหนังสือด้านจิตวิญญาณและหนึ่งในผู้ชำนาญการด้านการมองความงามของชีวิต กับประสบการณ์ ตัวตนในอดีต จิ๊กซอว์ต่อชีวิต ไปสู่วิถีแห่งการตื่นรู้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความพึงพอใจในชีวิตในระดับจิต เมื่อความตระหนักรู้เกิด “ความหยั่งรู้” จะเกิดตามมา ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดมิติการมองโลกที่เปลี่ยนไป พาให้เราก้าวพ้นจากความคิดที่ยึดมั่นถือมั่น เพื่อกลับไปสู่ตัวตนที่แท้จริงของเรา
ก๊อต จิรายุ ชวนเปิดประสบการณ์ หัวใจตื่นรู้ ชมสารคดีค้นหาความหมายแท้จริงของชีวิต
ก๊อต จิรายุ นักแสดงมากฝีมือ กับบทความแบ่งปันประสบการณ์การตื่นรู้ร่วมในโครงการ We Oneness หรือโครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน ภายใต้กิจกรรมการเปิดตัวสารคดี “หัวใจตื่นรู้” กับมุมมองการเล่าถึงจุดเปลี่ยนที่ทำให้ ก๊อต หันมาสนใจเรื่องการตื่นรู้ ความหมายของความสุขและความทุกข์ที่แท้จริง อะไรที่ทำให้เรามีความสุขที่ปราณีตมากขึ้น รวมถึงการได้ค้นพบคุณค่าในตัวตนและเข้าใจพลังภายในของเราที่มีทั้งพลังสร้างสรรค์และพลังทำลายล้าง
วรรณา ระหมันยะ แม่ของไครียะห์ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ
เรื่องราวของคุณแม่วรรณา ระหมันยะห์และลูกสาววัย17 ไครียะห์ หรือ “เกรต้า ธันเบิร์กเมืองไทย” เด็กผู้หญิงที่มีความเอาจริงเอาจังต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนดั้งเดิมในจังหวัดสงขลา เพื่อให้คนในพื้นที่เดิมได้มีอาชีพทำกิน โดยมีคุณแม่วรรณาคอยเฝ้าดูแลใช้หลักเมตตาในการเลี้ยงดูและปลูกฝัง เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น รวมถึงได้ปลูกฝังในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดความรัก ความหวงแหนในภูมิปัญญาท้องถิ่นและมีสำนึกรักในถิ่นกำเนิด
ความเป็นแม่ทำให้เรายอมรับทุกส่วนในชีวิตตัวเอง - แม่โอ๋ วริสรา มีภาษณี
แม่โอ๋ วริสรา ภาษณี ผู้ร่วมก่อตั้งเพจสื่อสารอย่างสันติ ผู้จัดกระบวนการการเรียนรู้เรื่องการคลี่คลายความขัดแย้ง และเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ทำงานเพื่อให้คนกลับมาฟังความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง ให้หยั่งรากลึกลงไปในความหมายของชีวิต กับบทสนทนาตอบคำถามและนิยามสำคัญในมายาที่สังคมชี้บอกไว้ถึงบทบาทของความเป็นแม่และครอบครัวอบอุ่นต้องเป็นอย่างไร อีกทั้งหนทางการเรียนรู้ผ่านลูกกับทุกประสบการณ์ที่เราได้เผชิญ เพราะทุกประสบการณ์กำลังบอกบางอย่างให้เราได้ยิน
ความรักคือการให้อภัย - แม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล
บทสนทนาเล่าเรื่องราวชีวิตของแม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล นักรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมทางเพศและสนับสนุนการทำแท้งที่ปลอดภัย ได้เล่าเรื่องราวชีวิตที่เดินทางร่วมกับลูกชายคนเดียวฝ่าฟันความเจ็บปวดมาเกินครึ่งชีวิต กับบทเรียนชีวิตที่สร้างกระบวนการเติบโตภายใน การยอมรับสภาวะในตัวตน วิธีการดูแลความสัมพันธ์กับลูกและการเปลี่ยนแปลงมุมมองความโกรธแค้นในชีวิต ด้วยการใช้ ”ความรัก” เปลี่ยนปมความโกรธให้กลายเป็นมิตรภาพ