หนังเล่าเรื่อง ตอน พันธภาวะ
ภาพยนตร์สั้น "พันธภาวะ" นำเสนอจุดย้อนแย้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีพันธกิจหน้าที่ในการทำงานต่อสู้เพื่อสังคม เป็นปากเป็นเสียงให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน ทว่าเบื้องหลังการทำงาน สิ่งที่ได้เห็น กลับมีมุมด้านมืดบางอย่าง ทำให้ตัวละครตกอยู่ในภาวะการตัดสินใจที่ผิดเพี้ยน ภาพยนตร์ปลุกให้คนดูได้ฉุกคิดถึงความมืดในความสว่าง การโกงในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีข้ออ้างและเหตุผลให้ผู้กระทำเกิดความรู้สึกว่าการโกงเป็นเรื่องชอบธรรมและไม่ผิดในสังคม
หนังเล่าเรื่อง ตอน สมปองนักข่าวแห่งตำนาน
"สมปอง นักข่าวแห่งตำนาน" ภาพยนตร์สั้นสะท้อนภาพการโกง แต่เป็นการโกงในด้านจรรยาบรรณ การทุจริตต่อวิชาชีพ ไม่ได้วัดกันที่ตัวเงินแต่วัดกันที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพยนตร์แสดงเรื่องของความรู้สึก บอกเล่าผ่านอาชีพ “นักข่าว” ที่จำเป็นต้องทำเสนอข้อเท็จจริง ภาพยตร์สั้นเดินเรื่องแนวตลกเสียดสีให้ผู้ชมได้ฉุกคิดเรื่องราวต่าง ๆ กับจรรยาบรรณและจริยธรรม
หนังเล่าเรื่อง ตอน ละมูล ตำนานเพลงพื้นบ้าน
ภาพยตร์สั้น เล่าเรื่องชีวิตของยายละมูล ครูเพลงอาวุโส ที่รักและขับร้องบทเพลงไทยเบิ้ง เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนบ้านสลุง กับหลานสาวที่ตระเวนออกไปหาคุณตาคุณยายรุ่นเดียวกันกับยายละมูล เพื่อชักชวนมาเปิดการแสดงขับร้องเพลงไทยเบิ้งให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้ฟัง เพื่อจะเกิดความรักและสืบสานเพลงไทยเบิ้งต่อไป แต่ทว่าวันแสดงกลับไม่มีทั้งผู้ขับร้องและผู้ชมมาแม้แต่คนเดียว หรือนี่จะเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของเพลงพื้นบ้านไทย
หนังเล่าเรื่อง ตอน หิ้ว
หิ้ว คือ คำศัพท์ในกระบวนการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการการเมือง เมื่อคนโกงบ้านโกงเมือง 2 ฝ่าย ไม่อยากให้ตนเองเดือดร้อน ก็จะมีการว่าจ้าง คนกลาง ให้มาทำหน้าที่เป็น “คนหิ้ว” ท้ายสุดภาพยนตร์ก็แสดงให้เห็นว่าการโกงนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายดาย เมื่อกิเลสมันเรียกร้อง ความอยากได้ ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นกระบวนการโกงเป็นทอดๆ ไม่มีสัจจะในหมู่โจร
หนังเล่าเรื่อง ตอน ม่าเหมี่ยว...ถุงนั้น
ม่าเหมี่ยว...ถุงนั้น เป็นผลงานหนึ่งในภาพยนตร์สั้นที่เกิดในโครงการเล่าเรื่องโกง 1 และ โครงการเล่าเรื่องโกง 2 ที่ระดมเหล่านักเขียนและผู้กำกับ ร่วมมือกันสร้างสรรค์ ตีแผ่ สะท้อนถึงปัญหาคอร์รัปชั่นที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล ซึ่งปัญหานี้อาจเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การขโมยชมพู่ม่าเหมี่ยวของเด็กชายเชษฐ์และนุ้ยที่โรงเรียน จนถูกคุณครูจับได้ แต่ท้ายสุดผู้ใหญ่ที่พร่ำสอนก็กลับเผลอเรอเป็นคนทำเสียเอง
หนังเล่าเรื่อง ตอน John Doe และ Father
ภาพยนตร์สั้นฝีมือนักศึกษาในโครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา เรื่องแรก "John Doe" เนื้อเรื่องว่าด้วยชายหนุ่มผู้เข้าไปสมัครใช้บริการในองค์กรลึกลับ เมื่อเสียชีวิตแล้วสามารถไปอยู่ร่างใหม่ได้ 3 ครั้ง แต่เพราะเหล้า แม้จะมีชีวิตใหม่แต่กลับเจ็บปวดและเลวร้ายกว่าเดิม ส่วนเรื่องที่สอง Father เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มเดินทางกลับบ้านเพื่อไปรับ เขาต้องเจอกับพ่อขี้เหล้า ทุบตีแม่ จนในวันที่พ่อจากไป เขาก็ไม่แม้แต่จะมาร่วมงานศพ ด้วยผิดหวังในคนที่เคยเป็นเหมือนฮีโร่ของตนเอง
จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554
ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป
สถานการณ์การอ่าน Thailand 4.0
ในขณะที่ประเทศไทย กำลังรุดหน้าสู่การพัฒนาประเทศในยุค 4.0 สร้างศักยภาพความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ในอีกด้านหนึ่ง พลเมืองของประเทศกลับยังคงมีปัญหาด้านการศึกษา ศักยภาพการศึกษาของเด็กไทยยังคงล้าหลังอยู่ในเวทีโลก เมื่อมองถึงพฤติกรรมการอ่าน พบว่าเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 6 ปี) ของไทยยังคงเข้าไม่ถึงการอ่าน ดังนั้น หากจะมุ่งสร้างไทยสู่ความเข้มแข็งรุดหน้าในยุค 4.0 เราต้องมาช่วยกันพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน อันจะเป็นรากฐานนำสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
เครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้(ศอช.)
รู้จักเครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ (ศอช.): เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ Coordination Center Networking for Southernmost Reading Promotion (SRP) : Southernmost Reading Power ผนึกกำลังเพื่อภายใต้วิสัยทัศน์ : เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนให้ “พลังของการอ่าน” เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยภาพบุคคลทุกช่วงวัย เพื่อสร้างพลเมืองสร้างสรรค์และสังคมที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความเข้าใจ และสันติสุขอย่างยั่งยืน
มหกรรมพลังอ่านชายแดนใต้
เปิดตัวเครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ รุกมิติวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะและสันติสุขชายแดนใต้ในงาน ม.อ.วิชาการ 6 – 7 กันยายน 2561 ปัตตานี แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ร่วมกับ 14 องค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ และประชาสังคม จับมือผนึกกำลังจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ประสานงานส่งเสริมการอ่านชายแดนใต้ (ศอช.) : เครือข่ายพลังอ่านชายแดนใต้ ร่วมจัดงานมหกรรม “พลังอ่านชายแดนใต้” ณ ตึก 58 สำนักวิทยบริการ อาคารชูเกียรติ (อนุบาลสาธิต ม.อ.ปัตตานี) ในงาน ม.อ.วิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2561
มหัศจรรย์การอ่านเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย งานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้สู่มหานครแห่งการอ่าน อุบลราชธานี
ประมวลภาพการจัดกิจกรรมโซน“มหัศจรรย์การอ่านเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย” ในงานสัปดาห์หนังสือและการเรียนรู้สู่มหานครแห่งการอ่าน อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 "๑๐ ปี อุบล คนมักอ่าน" ระหว่างวันที่ 11 – 19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรมสุนีย์แกรนด์โฮเทลแอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.อุบลราชธานี โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ร่วมกับ สุนีย์ทาว์เวอร์ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุบลราชธานี บริษัท แปลน ฟอร์คิดส์ จำกัด และภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่านจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นการร่วมจัดกิจกรรมสำคัญเวทีภูมิภาคครั้งแรกเพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญของการรักการอ่านตั้งแต่เด็กปฐมวัย
โครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ปีการศึกษา 2559
คลิปวิดีโอนำเสนอภาพรวมและความสำเร็จที่ผ่านมาตลอด 3 ปีแรกของโครงการอ่านสร้างสุข ยกกำลังสุขในสถานศึกษาและชุมชน ภายใต้ยุทธศาสตร์อ่านสร้างสุข โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. นำการอ่านเข้าสู่สถานศึกษา เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิตสุขภาวะให้กับทั้งครู พ่อแม่ ชุมชน และเด็ก ๆ นำสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งผลสัมฤทธิ์การเรียนที่สูงขึ้น การลดปัญหาการติดเกม เยาวชนรักการอ่านมากขึ้น ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เกิดกิจกรรมจิตอาสา เด็ก ๆ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จากผลสำเร็จจึงสานต่อสู่โครงการอ่านสร้างสุขสู่สถานศึกษาต้นแบบ 5 จังหวัดชายแดนใต้และกรุงเทพมหานคร