Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 179 ข้อมูล

รายงานการวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงาน

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญวิกฤตสถานการณ์โลกปั่นป่วนที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งสังคมไทยของเราก็ได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นกัน จากสถานการณ์ความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ สงคราม โรคระบาด ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพกายและจิตใจ งานวิจัยการทบทวนและการสร้างกรอบมโนทัศน์ของสุขภาวะทางปัญญาในคนวัยทำงานชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญา ด้วยการใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์เนื้อหาที่สามารถแบ่งกรอบมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางปัญญาของคนวัยทำงานในสังคมไทยได้ 3 ประเด็นหลัก คือ การหยั่งรู้ความเป็นจริงทั้งภายในตนเองและโลกภายนอก การสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งงานวิจัยชุดนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นชุดกิจกรรมเชิงประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและช่วยเหลือเยียวยาคนวัยทำงานในสังคมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้

รายงานการวิจัยอิทธิพลของสุขภาวะทางปัญญา และจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานและความผาสุกทางจิต

สุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานล้วนมีอิทธิพลที่สำคัญต่อการทำงาน ตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล คนทำงาน ผู้บริหาร ไปจนถึงระดับองค์การและยังส่งผลลัพธ์ไปถึงสังคมไทยโดยรวม การจะทำงานให้บรรลุเป้าหมายให้สัมฤทธิ์ผลสูงสุดและเกิดความผาสุกร่วมกันในที่สถานที่ทำงาน การมีสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณหรือการตระหนักรู้เท่าทันในตนเองจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการมีสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน พร้อมทั้งได้นำผลของการศึกษามาวิเคราะห์ให้เกิดเป็นแนวทางการสร้างการตระหนักรู้ในตัวบุคคลให้เกิดทัศนคติที่ดี มีจิตใจที่สมบูรณ์  เพื่อการดำเนินชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคมและช่วยกันเป็นแรงขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ

หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน

สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล

รายงานการศึกษาการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน

คู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานเป็นคู่มือที่ได้ผ่านการศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล จนกลายมาเป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นคู่มืออบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาในสถานที่ทำงานต่างๆ ได้ เพราะการมีสุขภาวะทางปัญญาหรือจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก สร้างความเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์การ หลายคนที่ได้เข้ารับการอบรมเรื่องสุขภาวะทางปัญญาและการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานพบว่ามีความพึงพอใจในการทำงานและความผาสุกทางจิตเพิ่มขึ้น มีการตระหนักรู้ถึงตนเอง มองโลกในแง่บวกและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งยังรวมไปถึงมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติมากขึ้น 

หัวใจอาสา คู่มือสร้างสุขในงานอาสา

การให้ที่แท้จริงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การให้วัตถุสิ่งของเสมอไป เวลา แรงกาย ทักษะความรู้ ความสามารถความรัก ความเมตตา หรือแม้แต่ รอยยิ้ม ก็นับว่าเป็นการให้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและตัวเราได้ เพียงแค่เรามีจิตอาสาที่ปรารถนาดีไม่นิ่งดูดายต่อสังคมหรือความทุกข์ยากของคนอื่นและพร้อมที่จะสละแรงกายแรงใจใช้สิ่งที่ตัวเองมีเข้าไปแบ่งปันให้กับสังคม นอกจากเราจะได้ช่วยเหลือและสร้างความสุขให้กับสังคมแล้วสิ่งที่เราจะได้รับ คือ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองไปพร้อมๆ กับการรู้จักกับความสุขที่เรียบง่าย หัวใจอาสาคู่มือสร้างสุขในงานอาสา หนังสือเล่มนี้จะนำเราไปเปิดประสบการณ์ในมุมมองใหม่ๆ ที่มีคุณค่าที่เราจะได้รับในงานอาสาช่วยเหลือสังคม

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก

ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19

โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19

ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่แล้วมันโอเคจริงๆ หรือเปล่าสำหรับฉัน? ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ภาพรวมของโลก new normal การ์ดอย่าตก โควิดจะกลับมา การเงินส่วนตัว ความสัมพันธ์ในชีวิต การงานของเรา อาจส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงความเครียด สับสน วิตกกังวล ซึ่งหลายครั้งการหมกหมุ่นในอารมณ์และความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังซ้ำเติมเราให้อาการหนักขึ้น ความสุขประเทศไทยจึงได้ผลิต “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน” ที่เล่าถึงวิธีสร้าง “ภูมิคุ้มใจ” แบบง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ มีแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจให้กับตัวเราเอง สามารถรักษาใจให้โอเค ท่ามกลางสถานการณ์ที่ต่างๆ ที่ยังไม่โอเคเท่าไรนัก คู่มือฉบับนี้จะพาเราถามใจตัวเองว่ายังโอเคไหม พาไปดูสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มใจของเราบกพร่อง รวมถึงวิธีดูแลและสร้างภูมิคุ้มใจบางอย่าง เช่น ฮาวทูนับหนึ่งถึงห้า ล้างมือล้างใจ เป็นต้น

5 ขั้นระบายใจ กับการเขียนบันทึกแบบน้ำไหล

เบาสบาย…ปล่อยให้มันไหลออกมา บางสิ่งที่ไม่อาจบอกใครได้ ลองบอกตัวเองอย่างซื่อสัตย์ ผ่านการเขียนบันทึกที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ความคิดความรู้สึกใดๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านในและเข้าใจตนเอง

8 ขั้น ล้างมือ-ล้างใจ ให้มือสะอาดและใจสงบ

ต้องล้างมือกันวันละหลายรอบ แล้วใจของเราล่ะ เราได้ล้างสิ่งไม่ดี อารมณ์ลบๆ ที่หมักหมมออกบ้างไหม? ‘ถ้ามือเราสะอาด ใจเราก็จะสะอาดไปด้วย’ มันจะเยี่ยมไปเลย!

ใช้เวลาอยู่บ้านทำ 6 Sensing รับรู้โลกไร้ขีดจำกัด

ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยจากไวรัสและทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน วันหยุดนี้ขอชวนเดินทางไปสัมผัสสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.