วิกฤติไวรัส ไม่น่ากลัวเท่าวิกฤติวัตถุนิยม นพ.ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
ไวรัสโควิด 19 มีการแพร่ระบาดที่น่ากลัว และรวดเร็ว เช่นเดียวกับความตระหนก และความกลัวก็มีการติดต่อ หรือแพร่นะบาดด้วยเช่นกัน ในห้วงของวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดในครั้งนี้ เราต้องมีการดูแลทั้งสภาพจิตใจและร่างกาย เราต้องมี “สติ” เพื่อความคุมความรู้สึก ด้วยความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสร้างภูมิต้านทานต่อสู้กับเชื้อโรค และเยียวยาจิตใจให้มีภูมิคุ้มใจที่ดี
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน ตอนที่ 2 โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตร์พระราชา สู่ความเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการนำแนวคิดทางปรัชญา มาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และนำไปสู่การปฏิบัติ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บางครั้งสังคมนำมาใช้อย่างผิดหลักของปรัชญา เลยไม่ก่อให้เกิดปัญญาในบ้านเมือง แท้จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำให้คนอยู่ดีมีกิน แต่ไม่ใช่ให้รอแต่จะให้พออยู่พอกินด้วยการรอรัฐบาลสนับสนุน เราต้องเรียนรู้ในการใช้ชีวิตด้วยการพึ่งพาตนเอง นำความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาเศรษฐกิจตามกลไกของโลก และสอดคล้องกับความเจริญของความคิดและจิตใจ เรียกว่าต้องมีการพัฒนาปรัชญาของแนวคิด และพัฒนาปัญญาของคนในชาติด้วย
แปล ปลุก เปลี่ยน ใจ โดย อาจารย์สดใส ขันติวรพงศ์
เจ้าของนามปากกา - สดใส ผู้เดินทางภายในผ่านงานแปลจากวรรณกรรมระดับโลกทั้งด้านปรัชญา ศาสนา ชีวิต มากมายหลายเล่ม เช่น บทเรียน และ สิทธารถะ จากบทประพันธ์ของ เฮอร์มานน์ เฮสเส, พี่น้องคารามาซอฟ ของ ดอสโตเยฟสกี และงานเขียนของท่านอื่น ๆ เช่น โทมัส ฮาร์ดี, อรุณธาตี รอย และ ติช นัท ฮันห์ เป็นต้น ในโอกาสนี้ทีมงาน We Oneness ได้รับความเมตตาจากอาจารย์สดใส ในการสนทนา ถึงการเดินทางเรียนรู้ตนเอง เผยวิธีคิด และการใช้ชีวิตอย่างสดใส สมดั่งชื่อของอาจารย์
ปีใหม่นี้ มาเลิกหลงทางกันเถอะ รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาชีวิต เพื่อนร่วมทาง ผู้นำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในขัดเกลาตัวเองให้สงบสุขจากภายใน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในชีวิตรอบด้าน เป็นเหตุที่ผลักดันให้เธอเข้าสู่เส้นทางการเดินทางภายใน จนเกิดการตระหนักรู้ กลายเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้ง นำไปสู่การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานทางสายจิตวิญญาณ ที่เธอนำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในของเธอเอง ซึ่งเธอนิยามตัวเองว่าเป็น "เพื่อนร่วมทาง"
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ โดย รศ.ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว
จากศาสตร์ความรู้ด้านจิตวิทยาตะวันตก ถูกเสริมผสานให้ลึกซึ้งถึงแก่นความจริงแท้แห่งพุทธธรรม เสริมแรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์พุทธทาส กลายเป็นผลึกความงามและคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
วิวัฒนาการจิตมนุษย์ โดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย
ทีมงาน We Oneness ได้รับเกียรติและโอกาสไปเยี่ยมเยือนเรือนมหาเทพ เรือนไม้ปฏิบัติภาวนาของท่านอาจารย์ ดร.สุวินัย ภรณวลัย ท่านเคยเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์บูรณาการศาสตร์และภูมิปัญญาโบราณ (CID) เป็นผู้ก่อตั้งชมรมมังกรธรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในแนวทางบูรณาการสู่สังคม เขียนหนังสือชุดไตรภาค "บันทึกเนตรฟ้าใจวารี" ที่บันทึกประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของตัวเองในช่วงยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา และเขียนหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาจิตวิญญาณและมิติภายในที่ลึกซึ้งอีกมากมายหลายเล่ม รวมถึงหนังสือ “มูซาชิฉบับท่าพระจันทร์” อันลือลั่น
Dance to Oneness - โซโนโกะ พราว
โซโนโกะ พราว ลูกครึ่งญี่ปุ่น จีน และไทย หญิงสาวที่ใช้ศิลปะการเต้น เป็นหนทางไปสู่การพัฒนาตนเอง ทั้งนำไปสู่การยกระดับจิตสำนึก จนถึงการตระหนักรู้ถึงความจริงของชีวิต ปัจจุบันเธอทำงานศิลปะการแสดง เป็นครูสอนการแสดง และวิทยากรด้านการเปลี่ยนแปลงพัฒนาชีวิตโดยใช้ศาสตร์ละคร การเต้นรำ และการภาวนา จนถึงวันนี้ เธอพร้อมแล้วที่จะมาแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์ตื่นรู้ที่อาจทำให้คุณประหลาดใจ และรู้สึกคล้ายกำลังได้ชมศิลปะการแสดงอันเป็นผลงานชิ้นเอกของเธอ
ร้อยหมื่นเล่มสู่หนึ่งเดียวกัน โดย อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา
อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ OMG BOOK ด้วยความที่ตนเองเป็นคนคิดเยอะ การได้อ่านหนังสือดี ๆ ของตัวเอง ช่วยคลี่คลายปมที่คั่งค้างใจ จึงตัดสินใจออกมาทำสำนักพิมพ์ OMG BOOK โดยหยิบยกความรู้สึกสะเทือนใจในความทุกข์ของผู้คน ความยุ่งยากในชีวิต ความขุ่นหมองในใจ ตลอดจนการเยียวยาจิตใจของกันและกัน สิ่งเหล่าที่ได้สะท้อนมุมมองในการทำหนังสือ และได้เรียนรู้ในชีวิตของตัวเองไปด้วย นั่นคือ แรงขับเคลื่อนงานของสำนักพิมพ์ของ อัฐพงศ์ เพลินพฤกษา
ศาสตร์พระราชาสู่หนึ่งเดียวกัน โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้สะท้อนแนวคิดศาสตร์แห่งปรัชญา ควรมีพื้นฐานมาจากปรัชญา “ปรัชญา” เป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายเดียวกันกับ “ปัญญา” ในภาษาบาลี ศาสตร์พระราชาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้หมายความว่าทำตาม ๆ กันไป แต่ต้องมีพื้นฐานมาจากแนวคิดมาจากปรัชญา คือ รู้ถึงความจริง รู้ว่าความจริงกับความเท็จต่างกันอย่างไร และเรามีการคัดเลือกความจริงที่ถูกต้องมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชา หมายถึงการรู้ถึงแก่นแท้ของความพอประมาณ, ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แล้วการเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ การประสานกันทุกฝ่ายเพื่อนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่ชีวิต
ชีวิต และปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ร่วมฟังมุมมอง ชีวิตและปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ผู้เชี่ยวชาญแนวคิดของปรัชญา ศาสตร์ของการคิดอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล เพราะแท้จริงการเรียนปรัชญา เพื่อเหตุผล 3 ประการ หนึ่งมองเห็นปัญหาที่คนอื่นธรรมดามองไม่เห็น สองมองเห็นคำตอบเพื่อไปหาทางออกหรือแก้ไขปัญหาที่เราพบด้วยเหตุและผล และสุดท้ายเราสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดของคำตอบนั้น เพื่อพัฒนาชีวิตของเราและดูแลสังคมได้ ชีวิตและปรัชญา จึงเกิดขึ้นมาคู่กันอย่างแยกไม่ออก
เดินสู่หนึ่งเดียวกัน กับ อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ ผู้เขียนหนังสือ “เดินทางสู่อิสรภาพ” ที่มียอดการพิมพ์หนังสือไม่ต่ำหว่า 20 ครั้ง ได้มาแบ่งปันแนวคิดจากประสบการณ์การเดินทางที่นำมาเขียนหนังสือเล่มดังกล่าว ว่าระหว่างการเดินทางนั้นได้มีการหลอมลวงดวงใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างไรกับผู้ตนที่ไปพบเจอ มิตรภาพเกิดขึ้นโดยก้าวข้ามคำว่าผลประโยชน์และเงินตรา ความงดงามเกิดขึ้นระหว่างเส้นทางที่ก้าวเดิน จะนำพาเราไปค้นหาและรู้จักกับ ความหมายอันงดงามของชีวิต ในที่สุด
Life Design for Oneness - พงศธร ละเอียดอ่อน
คุณพงศธร ละเอียดอ่อน ผู้มีประสบการณ์ด้านให้คำปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารแบรนด์ ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์แบบบูรณาการ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการสนทนากับโครงกร We Oneness มองว่าการออกแบบสามารถนำมาปรับใช้กับการออกแบบชีวิตให้มีความสมดุลทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณ การออกแบบชีวิตที่ดี สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อคนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็จะมาช่วยกันออกแบบสังคมที่มีสุขภาวะทางปัญญาที่ดีต่อไป