สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน อำเภอบ้านผือ3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
The boxer
"ชีวิตต้องขัง" ไม่ต่างอะไรกับสังเวียน "ชีวิตที่ต้องสู้" โอกาสย่อมเป็นของทุกคนที่ได้รับโอกาส เพียงแต่จะมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ในโลกความเป็นจริงที่จะได้สิ่งเหล่านั้น
พิการเศษ โดย ทีมTM Production มหาวิทยาลัยบูรพา
คุณคิดว่าความต้องการของคนพิการ คือ "ความสงสาร" หรือ "ให้มองพวกเขาแบบคนปกติทั่วไป" มาค้นหาคำตอบในวิดีโอนี้กันครับ ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง "พิการเศษ" ในประเด็น "กลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง" จาก TM Production มหาวิทยาลัยบูรพา
หนูชื่อ..ยูโร (I am not France) รร.อยุธยานุสรณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
"หนู" เป็นคำเรียกแทนตัวเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง และใครที่กำลังคิดว่าคำว่า “หนู”จำกัดเพศการเรียกแทนตัวเอง เราอยากให้คุณได้ติดตามภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาความเปราะบางในครอบครัว “ความเหงา ความเศร้า ความสุข” ไปด้วยกัน ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง "หนูชื่อ...ยูโร (I am not France)" ในประเด็น "กลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง" จากโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
อ่อลางมอแกน
“อ่อลางมอแกน” โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุข ศสส. เป็นการถอดบทเรียนองค์ความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการเพื่อพัฒนาเยาวชนและชุมชนชาวมอแกนในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง ในโครงการเด็กอันดามันสร้างสุข (อ่อลางมอแกน) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของปราชญ์พื้นบ้านชาวมอแกน ศิลปิน แกนนำชุมชนมอแกน คณะทำงานเยาวชนมอแกน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้นำการละคร สื่อศิลปะพื้นบ้านมาเป็นตัวเชื่อมร้อยมิติสุขภาวะทางสังคมในชุมชน เพื่อให้เกิดพัฒนาการและการสืบสานทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์และเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่เหล่าเยาวชนมอแกน
องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
หนังสือองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเล่มนี้เป็นชุดที่ 2 จากทั้งหมด 4 ชุดองค์ความรู้ เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการต่างๆ ในเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยในเล่มนี้ประกอบไปด้วย 6 องค์ความรู้คือ องค์ความรู้เรื่องการฟ้อนพื้นเมือง องค์ความรู้เรื่องกลองชัยยะมงคล องค์ความรู้เรื่องกลองสะบัดชัย องค์ความรู้เรื่องแคนม้ง องค์ความรู้เรื่องเตหน่า และองค์ความรู้เรื่องการฟ้อนไตประยุกต์ เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเองและเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารกับคนในชุมชนและสังคมต่อไป
องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่
หนังสือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่เล่มนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องราว ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่รวบรวมจากการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทั้งจากเอกสารวิชาการและจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนไทใหญ่ในโครงการดนตรีหลากเผ่าพันธุ์สร้างสรรค์คนดี โรงเรียนบ้านเวียงหวาย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และของเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมอำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ “ประเพณี 12 เดือน” “ประเพณีการเกิด การแต่งงาน การตาย” “ประเพณีกาดหลู่” “การแสดงจ้าดไต” “เฮินไต” และ “ภาษาไทใหญ่” โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารให้ความรู้กับคนในชุมชนและเยาวชน ร่วมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่างๆ ของศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ
องค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมเดปอทู่ จากชนเผ่าปกาเกอะญอ อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่, พิธีกรรมการมัดมือ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่, พิธีกรรมอ้อผญา และนิทานเรื่องแม่กาเผือก มาร้อยเรียงเป็นหนังสือองค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านความเชื่อ วิถีชีวิต และความผูกพัน ว่าแท้จริงแล้ว แผ่นดินและแม่น้ำล้วนมีธรรมชาติเป็น “เจ้าของ” มนุษย์เป็นเพียงผู้มาขอใช้ และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น